วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำสอน เรื่องวิญญาณ หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ


วิญญาณ
          วิญญาณ หมายถึงการรับรู้ การรับรู้ของวิญญาณนี้จะมีอยู่เป็นธรรมชาติ ในตัวมันเอง ถ้าไม่มีสิ่งใดมาให้รับรู้วิญญาณก็จะมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน ถึงจะ นอนหลับไปวิญญาณก็มีอยู่แต่รับรู้อะไรไม่ได้ ถ้าตื่นนอนขึ้นมาวิญญาณการรับรู้ ก็จะไต้สัมผัสต่ออายตนะภายใน เรียกว่าวิญญาณการรับรู้ทางตา วิญญาณการรับ รู้ทางหู วิญญาณการรับรู้ทางจมูก วิญญาณการรับรู้ทางลิ้น วิญญาณการรับรู้ ทางกาย และวิญญาณการรับรู้ทางใจ เมื่อวิญญาณการรับรู้ในอายตนะภายในมี ความสมบูรณ์แล้ว จึงได้สัมผัสในอายตนะภายนอกได้ ตาสัมผัสรูปก็มีวิญญาณ รับรู้ในรูป หูสัมผัสเสียงก็มีวิญญาณรับรู้ในเสียง จมูกสัมผัสกลิ่นมีวิญญาณรับรู้ ในกลิ่น ลิ้นสัมผัสรสมีวิญญาณรับรู้ในรสต่าง ๆ กายสัมผัสในสิ่งใดวิญญาณก็จะรับรู้ในสิ่งนั้น ใจมีอารมณ์อะไรวิญญาณก็จะรับรู้ในอารมณ์ประเภทนั้น เรียกว่า วิญญาณสัมผัสสัชชาเวทนา จึงเกิดเป็นมโนวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ภายในใจ รับรู้ในสิ่งใดก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดเป็นอารมณ์ในสิ่งที่สัมผัสนั้น เช่นตา สัมผัสรูปก็จะเกิดอารมณ์แห่งความชอบใจและไม่ชอบใจ หูสัมผัสเสียงก็จะเกิด เป็นอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จมูกสัมผัสกลิ่นก็จะเกิดอารมณ์ที่ชอบใจและ ไม่ชอบใจ ลิ้นสัมผัสรสของอาหารก็จะเกิดความชอบใจและไม่ชอบใจ กาย สัมผัสในสิ่งที่อ่อนแข็งก็จะเกิดอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จึงเรียกว่า อารมณ์ในกามคุณห้า
         อารมณ์เหล่านี้จึงไปรวมอยู่ที่ใจแห่งเดียว จึงเรียกว่า เวทนา ก็คืออารมณ์เกิดขึ้นจากกามคุณห้านั้นเอง วิญญาณการรับรู้นี้จะมีในขันธ์ห้าต่อไป เช่นรับรู้ในอารมณ์ที่เกิดจากรูปรับ รู้ในอารมณ์ที่เกิดจากเวทนา รับรู้ในอารมณ์ที่เกิดจากสัญญาความจำ รับรู้ใน อารมณ์ที่เกิดจากสังขารการปรุงแต่ง และรับรู้อารมณ์ภายในใจ ฉะนั้น วิญญาณ จึงมีหน้าที่เพียงการรับรู้เท่านั้น การรับรู้อย่างนี้ยังไม่เป็นกิเลสตัณหาแต่อย่างใด เมื่อได้รับรู้แล้วเกิดความรู้สึกว่าชอบใจ หรือไม่ชอบใจหรือเฉย ๆ จึงเกิดเป็นกิเลส ตัณหาขึ้นมาที่ใจ เกิดเป็นความรักความใคร่ความกำหนัดยินดี ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ ธรรมต้องรู้จักวิญญาณการรับรู้ว่าเป็นในลักษณะใด ให้เข้าใจในลักษณะความรู้สึก ที่ต่างกันในการรับรู้ของวิญญาณ และให้เข้าใจในอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกนั้น ๆ ถ้าแยกออกมาเป็นสัดส่วนได้อย่างนี้จะเข้าใจในคำว่าวิญญาณนี้ได้เป็นอย่างดี จะทำความเข้าใจในการปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่เกิดความสับสนเพราะรู้จักความหมายได้ดีแล้ว
         คำว่า รู้ในคำเดียวนี้มีความหมายได้หลายอย่าง เช่น วิญญาณการรับรู้ ธาตุรู้ ความรู้สึก ญาณรู้ ญาณทัศนะ ญาณที่รู้เห็น มรรคญาณ ญาณหยั่งรู้ใน องค์มรรค อุเบกขาญาณ ญาณหยั่งรู้ในการวางเฉย ปัญญาญาณ ญาณรู้รอบ ด้วยปัญญา วิปัสสนาญาณ ญาณที่รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมตามความเป็นจริงวิสุทธิญาณ ญาณหยั่งรู้ในความบริสุทธิ์ ในความหมายในคำว่า ญาณ นี้มีมาก จะหาอ่านตามตำราได้ ตำราในบางหมวดนักปราชญ์เจ้าทั้งหลายได้ขยายความเอาไว้เพียงย่นย่อ จึง ทำให้นักปราชญ์ยุคอนุฎีกาจารย์ ตีความที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้แบ่งเป็น สายโน้นสายนี้เกิดขึ้น เฉพาะวิญญาณ
         การรับรู้กับคำว่ารู้ในธาตุรู้ หรือคำว่า พุท โธ หมายถึงผู้รู้ เพียงสามรู้เท่านี้ ผู้ปฏิบัติจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องได้หรือไม  รู้แต่ละอย่างมีความแตกต่างกันอย่างไร ญาณในขั้นโลกีย์เป็นอย่างไร ญาณใน ขั้นโลกุตระเป็นอย่างไร การปฏิบัติในขันธ์ห้าต้องมีญาณรู้ทั้งสามนี้ เกี่ยวโยงถึง กันทั้งหมด ถ้าสติปัญญามีความฉลาดรอบรู้ การพิจารณาขันธ์ห้าจะต้อง พิจารณาให้เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด เช่นพิจารณารูปขันธ์ให้เป็นไปตามไตรลักษณ์ อย่างไร ก็ให้เชื่อมโยงต่อกันกับเวทนาขันธ์ เชื่อมโยงต่อสัญญาขันธ์ เชื่อมโยง ต่อสังขารขันธ์ เชื่อมโยงต่อวิญญาณขันธ์ ถ้าตั้งหลักในการพิจารณาในขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งมีความชำนาญดีแล้ว การพิจารณาในขันธ์อื่น ๆ ก็จะเป็นของง่าย ใน การปฏิบัติจะพิจารณาในขันธ์ใดก็จะมีความเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนมากขึ้น ถ้า พิจารณา เวทนา ก็ต้องรู้ในความหมายว่า เวทนา หมายถึงอะไรให้ผลเป็นอย่าง ไร อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องรู้ เห็นด้วยสติปัญญาที่ถูกต้อง แล้วพิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันในสังขารขันธ์ พิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันใน สัญญาขันธ์ และพิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันในวิญญาณขันธ์ เพราะขันธ์ทั้ง ห้าจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยเชื่อมโยงต่อกันได้เป็นอย่างดี การพิจารณาสัญญาความจำให้เป็นไปในไตรลักษณ์แล้วอย่างไร ก็ให้ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันใน เวทนาขันธ์ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันในสังขารขันธ์ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันในวิญญาณขันธ์ การพิจารณาสังขารการปรุงแต่งให้เป็นไปในไตร ลักษณ์แล้ว ให้พิจารณาสังขารเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณาสังขารเชื่อม โยงต่อกันในเวทนาขันธ์ พิจารณาสังขารเชื่อมโยงต่อกันในสัญญาขันธ์ พิจารณา สังขารเชื่อมโยงต่อกันในวิญญาณขันธ์ การพิจารณาในวิญญาณการรับรู้ให้เป็นไป ในไตรลักษณ์แล้ว ก็ให้พิจารณาวิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณา วิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในเวทนาขันธ์ พิจารณาวิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในสัญญา ขันธ์ พิจารณาวิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในสังขารขันธ์ การพิจารณาขันธ์ห้าให้ เชื่อมโยงต่อกันนี้ ให้ใช้สติปัญญาเฉพาะตัว ใช้ความสามารถด้วยตัวเอง จะ พิจารณาได้น้อยมากอย่างไร จะพิจารณาได้หยาบละเอียดอย่างไร ก็ให้เป็นไปใน ปัญญาเฉพาะตัว ถ้าจะอ่านจำเอาตามตำรามาพิจารณาก็ย่อมทำได้ แต่จะเป็น ปัญญาในสัญญาจำเอาข้อความประโยคของผู้อื่นมาเลียนแบบ
        ถ้าเป็นในลักษณะนี้ การพัฒนาปัญญาของตัวเองก็จะหมดสภาพลงทันที มีแต่ปัญญาคิดพิจารณาไป ตามตำราเท่านั้น จะแก้ไขปัญหาของใจไม่ได้เลย การใช้ปัญญาพิจารณาในขันธ์ห้านี้ต้องฝึกพิจารณาอยู่บ่อย ๆ อย่าเอาตำ รามาเป็นตัวตัดสินว่า รู้แล้วเข้าใจแล้ว ถ้าเป็นในลักษณะนี้จะไม่มีความรู้แจ้งเห็น จริงในขันธ์ห้าแต่อย่างใด จะพิจารณาถูกต้องตามหลักความเป็นจริงอยู่ก็ตาม ก็ จะเป็นความจริงไปตามตำราเท่านั้น จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางใจแต่อย่างใด การพิจารณาถึงจะใช้ประโยคข้อความไม่เหมือนกับตำราก็ไม่เป็นไร แต่ความ หมายให้เหมือนกันกับตำราที่นักปราชญ์ได้อธิบายเอาไว้ ในครั้งแรกก็ให้ใช้ ปัญญา ที่หยาบนี้ไปก่อน เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ปัญญาก็จะค่อยมีความละเอียด ขึ้น มีความภูมิใจในปัญญาของตัวเอง เหมือนการนับเงินของคนอื่น จะผ่านมือ เราไปวันหนึ่งหลายร้อยล้านอยู่ก็ตามใจก็เฉย ๆ ถ้าได้นับเงินที่เราหาได้ด้วยตัวเอง ถึงเงินจะไม่มากนัก ในความรู้สึกจะเกิดความภูมิใจดีใจว่าเงินนี้เป็นของของเราอย่างแท้จริง ความหวงแหนการดูแลรักษา การจับจ่ายซื้อของ ก็จะได้รับผล ประโยชน์จากเงินเราด้วยความภูมิใจ นี้ฉันใด การใช้ปัญญาพิจารณาธรรมไป ตามตำราใจก็จะเฉย ๆ ไม่เกิดความแปลกใจตื่นเต้นในธรรมแต่อย่างใด ถ้ารู้เห็น ธรรมด้วยปัญญาของเราเอง ในความรู้สึกจะทำให้เกิดความภูมิใจเป็นอย่างมาก ถึงจะมีความรู้จากตำราก็ให้นำมาประดับปัญญาได้ ถ้าเอาปัญญาไปประดับความรู้ เมื่อไร การปฏิบัติจะก้าวหน้าต่อไปไม่ได้เลย ฉะนั้น การพิจารณาขันธ์ห้าไปตามตำรา หรือพิจารณาหมวดธรรมอื่น ๆ ก็ตาม ถึงจะพิจารณาได้ แต่ใจก็จะเฉยเป็นธรรมดาไป
            ถ้าได้รู้เห็นความเป็นจริง ด้วยปัญญาเฉพาะตัว จึงเรียกว่าผู้นั้นพึ่งตัวเองได้ ไม่ได้ไปหยิบยืมเอาความรู้จาก ผู้อื่นมาเป็นของเรา เหมือนรับประทานอาหารสำเร็จรูปจากผู้อื่นทำไว้แล้ว ถ้าผู้ อื่นไม่ทำให้รับประทานเราก็ต้องอด วิ่งหาอาหารจากผู้อื่นมารับประทานต่อไป นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติในยุคนี้มีความต้องการธรรมะสำเร็จรูป อยากรู้ในสัจธรรม ความจริงอย่างไรก็ไปค้นหาดูในตำรา หรือถามครูอาจารย์องค์นั้นองค์นี้ไป ให้ ครูอาจารย์ตัดสินให้ว่าธรรมะหมวดนั้นผิดธรรมะหมวดนั้นถูก ทั้งที่ธรรมะของ จริงอยู่ในตัวมีอยู่แล้ว แต่ไม่ยอมพิจารณาด้วยปัญญาของตัวเอง ให้เกิดความรู้ แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้จะไม่เกิดความมั่นใจในตัว เองได้เลย ถ้าถามครูอาจารย์ที่ดีมีธรรมะที่ถูกต้องก็มีความโชคดีไป ถ้าถามครู อาจารย์ที่เป็นมิจฉาปฏิบัติเราก็จะได้ข้อมูลในธรรมะที่ผิด เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะ เกิดเป็นปัญหา เหมือนเรากำลังหลงทาง แต่ไปถามผู้หลงทางเหมือนกันกับเรา ทั้งเขาและเราก็จะพากันหลงทางต่อไป นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติที่อาศัยผู้อื่นมากไปก็ เป็นในลักษณะฉันนั้น จะเหมือนกับบอดจูงบอดไปไม่รอด เพราะตาบอดจูงกัน ก็จะวกวนไปมาในที่แห่งเดียวหาทางออกไม่ได้เลย ในขณะพูดก็บอกว่าจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเข้ากระแสแห่งมรรคผลนิพพาน เมื่อปฏิบัติเอาจริงเมื่อไรจะภาวนาเป็นไปตามแบบฉบับของพวกดาบสฤๅษีกันทั้ง นั้น สิ่งใดที่ได้สร้างขึ้นมาจากความสามารถของเรา จะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งนั้น จะมีความสำคัญมีคุณค่าแก่ตัวเราเป็นอย่างมาก เหมือนบุตรที่เกิดขึ้นจากความ พยายามของเรา และเกิดขึ้นจากก้อนเลือดของตัวเราเอง และบุตรที่รับจากผู้อื่น มาเป็นบุตรบุญธรรม ในความรู้สึกส่วนลึก ๆ ของใจจะมีความรักบุตรที่เกิดจาก สายเลือดเราเอง เพราะได้หล่อหลอมสร้างเขามาด้วยความสามารถของเรานี้
          ฉันใด การรู้เห็นสัจธรรมความเป็นจริงด้วยสติปัญญาเฉพาะตัว จึงมีความหมายลึก ซึ้งฝังใจไว้แนบแน่นจะไม่มีการหลงลืมในการรู้เห็นในสัจธรรมนั้นเลย จะมีความ ภูมิใจและมั่นใจในตัวเองอยู่ตลอดเวลา การพิจารณาให้รู้ตามหลักความเป็นจริง ในหลักปริยัตินั้นย่อมพิจารณาได้ เมื่อใจยังไม่ยอมรับในความเป็นจริงตามปัญญา การพิจารณานั้นก็ยังไม่ได้ผลอยู่นั้นเอง ข้อสำคัญคือทำใจให้รู้เห็นตามปัญญา เมื่อใจได้รู้เห็นความจริงตามปัญญาแล้ว ในเมื่อนั้นใจจะเกิดความแยบคาย ถ้าเกิด ความแยบคายเมื่อไรใจก็จะเกิดความหายสงสัยในทันที และคลายจากความยึดมั่น ถือมั่น ที่ผ่านมาใจมีความหลงผิดเข้าใจผิดในสิ่งใด ใจก็จะทอดธุระไม่อาลัยในสิ่ง นั้นอีกต่อไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องฝึกสติปัญญาที่มีอยู่ให้รู้เห็นตามหลักความเป็น จริงอยู่เสมอ มิใช่ว่ารู้ตามตำราแล้วก็หยุดอยู่เพียงเท่านั้น ถ้าหยุดอยู่นาน ๆ ใจจะ ด้านในธรรม จึงยากที่จะแก้ไขให้ใจมีความรู้จริงได้

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.baanjomyut.com/pratripidok/toon/15.html

1 ความคิดเห็น:

  1. PokerStars Sportsbook - Jackson, MS - JamBase
    PokerStars offers a unique online and mobile app for casino games. If you are looking for a new and exciting 진주 출장안마 way to win big 광주광역 출장샵 in 김제 출장샵 gambling, 전라남도 출장마사지 the 천안 출장마사지 PokerStars Sportsbook

    ตอบลบ