" เกิดมาแล้วอย่าหื้อมันไปขาดทุนชีวิตของเฮา ปฏิบัติไปจะได้มีกำไรชีวิตของเฮา ในเรื่องนี้เป็นเรื่องสมถะกรรมฐานก็ดี วิปัสสนากรรมฐานก็ดี พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนหื้อแต่พระภิกษุสามเณร เปิ้นสอนทั่วไป ตึงญาติโยมหื้อได้ปฏิบัติเหมือนกันทุกคน เปิ้นบ่ได้สอนแต่เฉพาะพระภิกษุสามเณร เปิ้นตึงสอนทั่วๆ ไป เพื่อให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากอบายภูมิสี่ ปฏิบัติสม่ำเสมอดีแล้วเวลาเฮาจะหมดลมหายใจ เฮาก็จะได้ไปสู่สุขติ เว้นจากอบายภูมิสี่ ไม่ไปแล้ว อบายภูมิสี่นี่มันตุ๊ก(มันทุกข์) "
คำสอนครูบาอิน อินโท
หลวงปู่ครูบาอิน ท่านเป็นพระเถระที่เงียบขรึม พูดน้อย ท่านชอบอยู่สงบเงียบ ไม่ช่างเทศน์ช่างโวหาร แต่ถ้าถามเรื่องวิปัสสนากรรมฐานกับท่านแล้ว ท่านก็จะเมตตาแนะนำวิธีการปฏิบัติให้แก่พระเณรและลูกศิษย์ลูกหาทุกคน ในอดีตหลวงปู่ครูบาอิน ได้เคยเดินทางมาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร พร้อมๆ กับ ครูบาพรหมา พรหมจักโก (พระสุพรหมญาณเถระ วัดพระพุทธบาทตากผ้า) และพระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล (พระเทพสิทธาจารย์ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร) และ พระครูบาปิยะ วัดต้นแหนหน้อย ฯ จนสำเร็จเชี่ยวชาญแล้วจึงได้กลับมาถ่ายทอดให้กับพระเณรในวัด และในละแวกใกล้เคียง ถึงแม้ว่าวัดฟ้าหลั่งและวัดทุ่งปุยจะไม่ได้เป็นสำนักสอนวิปัสสนาธุระ แต่ก็มีผู้ใผ่รู้แวะเวียนมาขอเรียน ขอคำแนะนำจากหลวงปู่ครูบาอินอยู่เนืองๆ ประกอบกับวัฒนธรรมของล้านนา ไม่นิยมการเทศน์ประยุกต์ ในงานพิธีต่างๆ จึงเป็นการขึ้นธรรมมาสแสดงพระธรรมเทศนาตามพระคัมภีร์ใบลาน ซึ่งมีทั้งภาษาบาลี และภาษาพื้นเมือง ซึ่งส่วนมากก็เป็นคำสอนให้คนอยู่ในศีลในธรรม ห่างไกลจากบาปกรรมและอกุศล โอกาสที่จะพูดถึงเรื่องการปฏิบัติกรรมฐานมักจะเป็นของผู้ที่ศึกษาใกล้ชิดเสียเป็นส่วนใหญ่
คำสอนที่นำมาเสนอ ณ ที่นี้ คาดว่าคุณเนาว์ นรญาณผู้เขียน (และคงจะเป็นผู้ถอดเทป) คงจะได้กราบเรียนขอคำแนะนำจากท่าน จึงได้มีโอกาสรับฟังคำสอนกรรมฐานด้วยภาษาคำเมือง ที่เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามได้ อีกทั้งยังเข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองทุกยุคทุกสมัย
จึงขออนุญาตเจ้าของบทความนำมาเผยแพร่ต่อไป
เรื่องการปฏิบัติฝึกหัดพัฒนาจิตใจ
เรื่องการปฏิบัติต่อไปนั้นคือ ปฏิบัติสมถะกรรมฐานก็ได้ ทางวิปัสสนากรรมฐานก็ได้ ความจริงแล้วมันจะต้องปฏิบัติสมถะกรรมฐานไปก่อน เพื่อจะได้ฮู้เรื่องฮู้แนวทางหื้อมันเข้าใจดี เมื่อมันฮู้แนวทางแล้ว เฮาค่อยขึ้นไปปฏิบัติทางวิปัสสนากรรมฐานต่อไป
ความจริงแล้วมันจะต้องปฏิบัติศีลห้าของเฮาหื้อมันเสมอก่อน เพราะอันนี้เมื่อพระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า ทาน ศีล ภาวนา สามประการนี้ ถือเป็นกำไรชีวิตของคนเฮาที่ได้เกิดมาในชาตินี้ หื้อมีกำไรบุญกุศลคือ ทาน ศีล ภาวนา ทานก็แปลว่าหื้อตาน ศีล แปลว่ารักษาศีล ศีลห้า ศีลอุโบสถ ภาวนานี้ สามประการนี้
เมื่อเฮาปฏิบัติเสมอต้นเสมอปลายแล้วจำมีกำไรชีวิต กำไรชีวิตนั้นคือ กุศลส่วนบุญที่เฮาปฏิบัติเป็นกำไรชีวิต เมื่อเฮาปฏิบัติอย่างนี้แล้ว ไม่ว่าเฮาจะนั่งสมาธิภาวนานั้น จะนั่งได้นานหรือนั่งได้สักสิบนาที ซาวนาทีก็ดี สามสิบก็ดี ได้ด้วยขันติ ความอดทน แต่เฮาอย่างว่า อารมณ์ของเฮานี้มันไม่แนบเนียน มันฟุ้งซ่าน นั่งได้ประมาณ ๑๐ นาทีแล้วก็มาเดินจงกรม เดินจงกรมแล้วก็ไปนั่ง นั่งต่อไป คือว่าเดินจงกรมนี้ เป็นว่าเฮาเดินเอาสมาธิหื้อจิตเฮามัแล้วนั่งสมาธิตาม อันนี้จะเกิดสมาธิขึ้น หื้อมันแนบเนียน สิ่งใดก็ดีที่เอานั่งแล้ว ... จิตของเฮายังฟุ้งซ่านอยู่ อารมณ์ของเฮานี้ จิตเฮามันไปตามอารมณ์เฮา ต้องพยายามเอาสติคุมไว้ สติคุมจิตเอาไว้ มันถึงจะมาเข้า มาอยู่กับตั๋วเฮานี้ เมื่อสติเฮายังเฮาเผลอ สติก็บ่ได้เฮาเผลอไป จิตเฮาก็ฟุ้งซ่าน อันนี้ขอแนะนำศรัทธาญาติโยมทั้งหลายตามแนวทางนี้ เพื่อจิตของมันจะแนบเนียนดี
เมื่อจิตเฮาแนบเนียนแล้ว เฮาค่อยปฏิบัติทางวิปัสสนาตามครูบาอาจารย์ที่เปิ้นเคยปฏิบัติมา ...เปิ้นก็จะได้แนะได้นำวิปัสสนานั่นแหละปฏิบัติดังนี้ ดังนี้ได้บอกแนะนำเฮาก็เอามาปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วจะเกิดจะไดก็ดี มันจะเกิดปิติสมาธิ สิ่งใดสิ่งใดก็ดี นิมิตเกิดขึ้นแล้วเฮาอย่าไปถือยึดมั่น มันเกิดขึ้นไปแล้ว ก็หื้อมันแล้วไป บ่ต้องยึดเอานิมิตนั้น ปล่อยมันไป อันนี้เรียกว่าวิปัสสนานั้นน่ะ เป็นอารมณ์สติปัฏฐานสี่ กายานุปัสนาสติปัฏฐานสี่ที่เอาอะไรเป็นอารมณ์ ก็ขอแนะนำว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ นี้เรื่องผู้เพิ่งจะปฏิบัติ เมื่อเฮาจะปฏิบัติสมถะกรรมฐานนี้ เวลาจะเดินจงกรมนั้น เวลายกติ๋นนั้น เฮาก็ยกขวา พุท พุทแล้วก็โธข้างซ้าย ว่า พุท-โธ ว่าตามนี้ เปิ้นบ่ว่าพุทโธคำหนึ่ง ต้องว่าพุท แล้วก็โธ พุท-โธ พุท-โธ นี้เรียกว่าปฏิบัติสมถะกรรมฐาน
หื้อศรัทธาญาติโยมทั้งหลายตั้งอกตั้งใจปฏิบัติกันไป เพราะว่าชีวิตของคนเฮามันบ่ถึงร้อย เฮาปฏิบัติมันก็ดี เฮาปฏิบัติได้ก็ปฏิบัติไป เพราะชีวิตของเฮา กำไรชีวิตของเฮา ขอฝากไว้หื้อศรัทธาญาติโยมทั้งหลายนำไปปฏิบัติดังที่แนะนำมานี้ เกิดมาแล้วอย่าหื้อมันไปขาดทุนชีวิตของเฮา ปฏิบัติไปจะได้มีกำไรชีวิตของเฮา ในเรื่องนี้เป็นเรื่องสมถะกรรมฐานก็ดี วิปัสสนากรรมฐานก็ดี พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนหื้อแต่พระภิกษุสามเณร เปิ้นสอนทั่วไป ตึงญาติโยมหื้อได้ปฏิบัติเหมือนกันทุกคน เปิ้นบ่ได้สอนแต่เฉพาะพระภิกษุสามเณร เปิ้นตึงสอนทั่วๆ ไป เพื่อให้พ้นจากทุกข์ พ้นจากอบายภูมิสี่ ปฏิบัติสม่ำเสมอดีแล้วเวลาเฮาจะหมดลมหายใจ เฮาก็จะได้ไปสู่สุขติ เว้นจากอบายภูมิสี่ ไม่ไปแล้ว อบายภูมิสี่นี่มันตุ๊ก(มันทุกข์) มันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกามโลกนี้ คือ โลกมนุษย์เฮานี้เวียนว่ายตายเกิดกันอยู่เสมอ นี้ก็ขอฝากฝังไว้กับศรัทธาญาติโยมให้พากันพิจารณา พิจารณาโดยตัวของเฮานี้ ปฏิสนธิเกิดในท้องแม่ บางคนตายในท้องแม่ก็มี คลอดออกมาตายก็มี ก็หื้อได้ปฏิบัติอันสมดั่งความมักความปรารถนาของเฮาทุกคน อย่ามัวไปเมาเมายินดีซึ่งโลกเลย เมื่อเฮายินดีซึ่งโลกหย่อนทางธรรม เมื่อเฮายินดีซึ่งธรรมก็หย่อนทางโลก มันก็อ่อนไป อ่อนไป หย่อนทางโลก ธรรมก็เข้มแข็งขึ้นในด้านจิตใจของเฮา อย่าไปปล่อยปละละเลยว่าชีวิตของเฮายังมีอยู่ ทำไปตามอารมณ์ของเฮา มันบ่คิดถึงว่าจะขาดทุนชีวิตของเฮา บางคนมันบ่คิดหา คิดแต่จะได้จะดี จะกินจะอยู่จะเล่นหัวไปทุกอย่าง อันนี้มันไม่ใช่ของปฏิบัติกับชีวิตของเฮา ก็ขอฝากฝังไว้กับศรัทธาญาติโยม
หื้อผู้ปฏิบัติแก้ไขในร่างกายของเฮานี่ เพราะร่างกายของเฮามันมีกิเลสหลายอย่าง ที่มีกิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างหยาบก็คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง พระพุทธเจ้าว่ากิเลสหยาบที่สุด แล้วเฮาจะเอาหยังมาแก้มาไขมัน หื้อมันบรรเทาไป ก็เอาธรรมะภาคปฏิบัติของเฮานี้แหละแก้ไขให้มันเบาลงไป ก็จะได้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรม เมื่อเฮาบ่แก้บ่อไข มันก็จะมืดมามืดไป มันมืดมาแล้วก็หื้อมันสว่างไป อย่าหื้อมันมืดมามืดไป อันนี้คือธรรมที่สอนอกสอนใจหื้อแก้หื้อไขที่ในกายของเฮา ในตัวของเฮานี้แหละ กิเลสของเฮามันจะเบาบางลงไป เมื่อมันเบาบางลงไปนี่ มันก็จะสบายอกสบายใจ มันบ่เอาชีวิตเฮาไปยุ่งอันหยังกับไผ อยู่ในศีลในธรรมไปในปัจจุบันนี้ เฮาก็ยังมีปอกินปอตานพอสู้ได้อยู่ ตอนที่ชีวิตเฮาจะหมดไปนี้ ก็ต้องคิดหน้าคิดหลังว่าที่ได้ทำบุญไปทุกวันนี้ บุญกุศลที่จะนำจิตวิญญาณเฮาไปสู่สุคติ เมื่อได้ไปสู่สุคติแล้วมันตึงสบายใจสบายขึ้น อันนี้เป็นธรรมของพระพุทธเจ้าสอนไว้ พระพุทธเจ้าสอนนี้ เปิ้นมีเงื่อนไขไว้ว่ามีมืดแล้วก็มีสว่าง เฮาอย่าไปมืดมามืดไป ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติศีลธรรมกรรมฐาน
บ้านเมืองของเฮาปัจจุบันนี้มันฮ้อน มันฮ้อน ตังลุ่มตังบนมันฮ้อน ยังใดมันเกิดมีมาหมด อันบ่ควรมีมันมี ที่บ่ควรเกิดมันก็เกิดขึ้น เพื่ออะหยัง เพื่อกิเลส เพื่อความโลภ ทุกวันนี้ที่เปิ้นลงในหนังสือพิมพ์ก็ดี ลงในทีวีก็ดีมันฮ้อน แต่ประเทศไทยเฮานี้ยังเย็นอยู่ ยังมีเย็นอยู่ ถ้าเฮาปฏิบัติธรรมมันก็จะเย็นไปตลอด ถูกตามทำนองคลองธรรมแห่งพระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ อยู่สบายอกสบายใจ จะได้อยู่เย็นเป็นสุข นี้ขอแนะนำคณะศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย หื้อได้ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติไปตามสมควร ตามสติกำลังของเฮาไป ที่ปฏิบัติได้ พระพุทธเจ้าท่านบ่อได้บังคับ เฮา เวลานั่งสมาธิพระพุทธเจ้าท่านบ่ว่าหื้อนั่งเมินๆ เปิ้นก็บ่ได้สั่งไว้ ตามอุตสาหะของเฮาได้นักได้น้อย ทำไปทุกวัน ทำมาฮอมกันไว้ก็ได้นักขึ้น แล้วก็นักขึ้น อันนี้เป็นธรรมที่แนะนำตักเตือนศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย หื้อได้ตั้งอกตั้งใจ ปฏิบัติธรรมต่อไป มีเพียงเท่าอี๊
เพื่อให้คงอรรถรสในคำเทศนาของหลวงปู่ครูบาอินที่ท่านได้เมตตา ตั้งใจจะให้บรรดาศิษย์ได้รับทราบคำสอนของท่าน ผู้ถอดเทปจึงได้ตั้งใจคงศัพท์ตามเสียงของหลวงปู่ครูบาอินทุกคำพูด และเพื่อความเข้าใจของท่านที่ไม่สันทัดในภาษาพื้นเมืองเหนือ จึงขออธิบายคำศัพท์บางศัพท์เพื่อทราบดังนี้
ฮู้ = รู้ หื้อ = ให้ เฮา = เรา หมายถึงผู้ปฏิบัติ ซาว = ยี่สิบ ติ๋น = ตีน (เท้า) บ่ต้อง = ไม่ต้อง เปิ้นบ่ว่า = ท่านไม่ได้บอกว่า
เปิ้น = ท่าน ตึงญาติโยม = ทั้งญาติโยม เปิ้นตึงสอนทั่วไป = ท่านก็ได้สอนทั่วไป ตุ๊ก = ทุกข์ ฮ้อน = ร้อน
ตังลุ่มตังบน = ทั้งข้างล่าง ข้างบน ยังใด = อย่างไร อะหยัง = อะไร เมินๆ = นานๆ ฮอม = รวบรวม นัก = มาก
เท่าอี๊ = เท่านี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น