วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คําสอนหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล วิปัสสนานี้มีอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหาร

           

             วิปัสสนานี้มีอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหาร  ภาวนาย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำการกิริยา มีสุคติภพคือมนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้าหากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานถ้าอุปนิสัยมรรคผลมีก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล  ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว   อนึ่งยากนักที่ที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์คือต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์คือศีล5 และกุศลกรรม10...จึงจะได้เกิดเป็นมนุษย์...ชีวิตที่เป็นมานี้...
...ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอันตรายชีวิตทั้งภายในและภายนอกมีต่างๆ...
...การได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก...
...เพราะกาลที่ว่างเปล่าอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง...
...เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด...
...อย่าให้เสียที...ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย...

มหาปุญโญวาท 7  :  ริ้วรอยแห่งการเวลา 14

๑.  แนวธรรมคำสอน  ของหลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล
ประมวลคำสอนขององค์หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล

?  ให้พากันละบาปและบำเพ็ญบุญ
อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่า
เพราะได้มีวาสนาเกิดมาเป็นคนแล้ว

?  เขาสิเชื่อความดีที่เฮาเฮ็ดหลายกว่าคำสอนที่เฮาเว้าเฮาสอน
     (คนเขาเชื่อความดีที่เราทำมากกว่าคำสอนที่เราพูดเราสอน)

?  ข้อยเฮ็ดให้เบิ่งยังบ่เบิ่ง
เทศน์ให้หมู่เจ้าฟัง หมู่เจ้าสิฟังอยู่บ๊อ
     (ทำให้ดูก็ไม่ดู  ทำเป็นตัวอย่างแล้วก็ไม่ทำตาม เทศน์บอกสอนแล้วจะฟังหรือไม่)

?  ปฏิบัติให้เบิ่งอยู่ทุกมื้อ
เฮ็ดหยังคือ บ่เฮ็ดตาม  (ปฏิบัติให้ดูอยู่ทุกวัน มัวทำอะไรอยู่ ทำไมไม่ทำตาม)

?  ดีก็รู้อยู่แล้ว ชั่วก็รู้อยู่แล้ว
จะเอาอิหยัง (อะไร) มาว่ามาสอนอีก

?  ดีกับชั่วมันมีอยู่ในโลกนี้
หนีไปจากโลกสงสารนี้แล้วกะไม่มีดีไม่มีชั่ว

?  เกิดมาเป็นคน
อย่าเอาคลองสัตว์ (แนวทางของสัตว์) มาประพฤติ
เพราะ เฮา (เรา) จะตกต่ำกว่าสัตว์ไปอีก
อย่าพากันทำ

?  อย่าเฮ็ด (ทำ) ความชั่ว
ให้ทำความดี
นั่งสมาธิ เดินจงกรม ปฏิบัติเจ้าของ

?  จะให้ทานมากหลายท่อใด๋ (เท่าใด)
กะสู้บวชเป็นชีเป็นขาวรักษาศีลอุโบสถบ่ได้

?  รักษากายให้บริสุทธิ์
รักษาวาจาให้บริสุทธิ์
รักษาใจให้บริสุทธิ์ เด้อ หมู่เจ้าทั้งหลายทุกคน

?  ให้ภาวนา ?พุทโธ? ? ?พุทโธ?

?  ให้พากให้เพียรกับเจ้าของ

?  ตั้งใจให้ดี ตั้งสติให้ดี

?  เกิดกับตายเป็นของคู่กัน
อย่าลืมตาย

?  อันใด๋ที่เฮาเฮ็ด (เราทำ)
มันมีน้ำหนักกว่าคำเว้า (คำพูด)

?  ขนฺติ  อด 
ขนฺติ  ทน  เป็นไฟเผาบาป

?  การปฏิบัติเท่านั้นที่จะเห็นธรรม พูดไม่สำเร็จ คิดไม่สำเร็จ

ประมวลคำสอนขององค์หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล : คัดจาก ;
โลกนี้โลกหาได้ (ฉบับรวมเล่ม)  หน้า ๕๒๒ ? ๕๒๓
ธรรมเทศนาของหลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล
คัดจากหนังสือธรรมะในหลวงปู่จาม  มหาปุญโญ

?  เป็นพระภิกษุลุกศิษย์พระพุทธเจ้า, เดินธุดงค์มาปลีกวิเวกเสาะหาที่เจริญภาวนา ไม่ต้องการอิหยัง  ตอนเช้าขอบิณฑบาตเท่านั้น

?  ดีแล้ว... ธุดงค์ที่ดี อัสดงค์ก็ดี  หัสดงค์ก็ดี แปลว่าผู้ทำความดับอยู่เสมอ
      เป็นผู้ดับทุกข์อยู่เสมอ

?  ให้ตั้งใจภาวนา ? พุท ? โธ,  พุท ? โธ อย่าคิดห่วงอิหยัง

?  ขันติ ? อด 
ขันติ ? ทน เป็นไฟเผาบาปให้มอดไหม้ไปได้
?  สิ่งที่เฮาเฮ็ด  มันมีน้ำหนักหลายกว่าคำเว้า
?  กินได้  นอนหลับ  ขับถ่ายดี กะอยู่ดี

?  การเจริญภาวนาให้ผลยิ่งกว่าการรักษาศีล  การให้ทาน
เพราะการภาวนาทำให้มีสติ  ไม่หลงทาง  ไม่หลงโลก
ศีล  ทาน  เมตตา มีภาวนาเป็นยอด

?  การเจริญภาวนาเป็นทางของสุคติ
หากยังไม่ได้ไม่ถึง  ก็เป็นอุปนิสสัยของมรรคผล
นั่งสมาธิ เดินจงกรม ปฏิบัติเจ้าของ

?  ธมฺโม จ วินโย จ สุสํวุโต
ให้ตั้งใจปฏิบัติพระธรรมวินัย  กว้างแคบตามความสามารถของตน

?  พระธุดงคกรรมฐาน แปลว่า ผู้ทำความดับอยู่เสมอ 
 ชำระล้างตนให้สะอาดอยู่เป็นนิจ

?  กายสุจึ กายให้สะอาด
วจีสุจึ คำเว้าให้สะอาด
มโนสุจึ จิตใจให้สะอาด
กายใจที่สะอาดจึงเหมาะแก่ธรรม

?  ให้เพียรอยู่กับ พุท ? โธ
?  บ่อด บ่ได้อิหยังดอก
?  บ่พากบ่เพียร สิเห็นหนทางบ่บุหล่ะ
?  ไปเรื่อยๆ ค่ำไหนนอนนั่น  พอใจที่ใดก็พักไป  อยู่ไป เพื่อ
บำเพ็ญภาวนา ...การเดินธุดงค์  มิใช่จรจัดไม่มีที่อยู่
 โลกนี้เป็นที่อยู่ของสัตว์ทุกข์ผู้เกิดมา

?  (สำหรับแนวทางการปฏิบัติที่องค์ท่านให้ความนิยมและยกย่องให้สานุศิษย์ได้ ศึกษาแนวทางการปฏิบัติจากจตุรารักขกรรมฐานของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทธสิริ) อันมีความย่อว่า
๑. ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
๒. ให้เจริญในพรหมวิหารธรรม
๓. ให้รู้จักกฎของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๔. ให้พิจารณากองทุกข์ คือ พิจารณาเกิดแก่เจ็บตาย)
 (...ในข้อนี้หลวงปู่จาม  มหาปุญฺโญ สรุปว่า ?จะอยู่ไหนก็ตามให้รู้จักเจริญรัตนานุสสติ ๒ เมตตา ๒ มรณา ๒ พิจารณาเกิดตาย เกิดดับ?...)

๒.  การเข้าถึงไตรสรณคมณ์
 (ไม่ว่าจะเป็น จตุรารักษ์  หรือ
  สังขิตโตวาท  หรือ
  แบบเข้าถึงพระไตรสรณคมน์  ได้กล่าวอ้างมาแล้วในหนังสือหลายเล่ม  ของวัดป่าวิเวกวัฒนาราม  ในองค์หลวงปู่จาม  มหาปุญโญในข้อนี้ในที่นี่จะขอข้ามไป  เพื่อท่านผู้อ่านศึกษาจะได้ฝึกนิสัยในการเป็นนักสืบนักเสาะหามาอ่านเอง ได้...โปรดอภัย...)

๓.  การวางรากฐานการบวชตาปะขาวนางชี
 ชี ปะขาว  หรือตาผ้าขาว  หรือตาปะขาว  หรือชีผ้าขาว  หมายเอาผู้นับถือพระพุทธศาสนาประเภทหนึ่งที่นุ่งขาวห่มขาว  ประพฤติพรหมจรรย์  รักษาศีล ๘ ในฝ่ายพระป่าพระธุดงค์ชีปะขาวจะอาศัยอยู่กับพระภิกษุสามเณร  อยู่ร่วมวัด  และทำกิจต่างๆ  เช่นเดียวกับพระภิกษุสามเณร  เป็นแต่ว่ายังมิได้บรรพชาอุปสมบทเท่านั้น
 ชี  เป็นชื่อนักบวชจำพวกหนึ่งนุ่งขาวห่มขาว

      ในปัจจุบันหมายเอา  หญิงที่นุ่งขาวห่มขาว  ถือบวชโกนผมโกนคิ้ว รักษาศีล  ๘  สละเหย้าเรือนอยู่วัด  ปฏิบัติตนเฉกเช่นนักบวชมีวัตรมีปฏิบัติ  มีความประพฤติสูงกว่าคฤหัถส์ทั่วไป
 แม่ชีบางแห่งมีสำนักเป็นของตนเอง  เผยแพร่ศาสนา  แนะนำสั่งสอนตามหลักธรรมวินัย  ทำประโยชน์แก่สังคม  มีบทบาทเป็นที่ยอมรับกัน
 ชี  แปลว่า  ผู้ชนะ  ผู้มีชัยชนะ
 เป็นคำกร่อนมาจาก  ชินะ
 ก่อนจะบวชได้ในสายพระป่ายุคก่อนเก่า

 เมื่อ กุลบุตรผู้มีศรัทธาจะบวชเป็นพระภิกษุสามเณร  นอกจากต้องมีผู้รับรองเป็นหลักเป็นฐานให้แล้ว  ตัวของผู้ประสงค์จะบวชเองนั้นต้องพิสูจน์ความมั่นคงในศรัทธาในตน  ในครูบาอาจารย์เสียก่อนว่าจะเป็นผู้หนักแน่นมั่นคงพอหรือไม่
 ผู้มาขอบวช จะต้องทำใจ  ปรับความรู้สึก ไม่ท้อแท้  มีความตั้งใจอย่างแรงกล้า อดทนอดกลั้น รอคอยการรอรับ  การคัดเลือก และที่สำคัญกว่าจะได้โกนผมห่มผ้าขาว ตัวเองก็ต้องทำลายพยศลดมานะ  ละทิฏฐิ  เชื่อฟังครูบาอาจารย์ทั้งหมด
 อย่างที่วันที่อัตตโนเข้าขอบวชกับองค์หลวงปู่จาม  มหาปุญโญ
 เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา  องค์ท่านว่า ?นักบวชเป็นชีวิตที่ลำบากนะ?
  ?บวชมิใช่ของลองเล่นนะ?
  ?หมู่บ้านนี้บ้านคนทุกข์  อยู่กินลำบากนะ?
  ?จะทำอะไรตามใจ  ไม่ได้นะ?
  ?รับหรือไม่รับ  ให้อยู่ไปก่อน?

 ใน เมื่อท่านว่าจะรับหรือไม่รับ  ให้อยู่ไปก่อน  เรื่องราวในขณะอยู่นี้เอง  นับเป็นเรื่องราวของตนทั้งหมด  ไม่ท้อถอยลากลับ  มีปณิธานแน่วแน่  มุ่งแก้ไขสันดานเดิม  แต่ในระหว่างนี้  ครูบาอาจารย์ผู้รับให้อยู่ด้วยนั้นท่านก็จะดูอยู่ตลอด  ว่าน้ำใจอัธยาศัยโน้มเอียงมาทางเป็นนักบวชหรือไม่

 ตัวผู้จะบวชก็ต้องมีทักษะสังเกต  ศึกษาพิจารณาอย่างใกล้ชิดนักบวชต้องทำข้อวัตรข้อปฏิบัติอะไรบ้าง  เวลาไหนทำอะไรไม่ทำอะไร
 อยู่ต่อไปนานเท่าใดไม่ทราบได้
 หากแต่อยู่ที่ตัวผู้จะบวชนั่นเอง
 เป็น ผู้สม่ำเสมอหรือไม่  มีวิริยอุตสาหะหรือไม่ สู้อุตส่าห์อดทนได้หรือไม่  ไม่แสดงออกในกิริยาอาการด้านร้าย  เช่น หลีกเลี่ยงงาน  หลบอู้ มีมายาเห็นแก่ได้  เห็นแก่ตัว  ห่วงแต่ร่างกาย
 ผู้มีนิสัยอันละเอียดสุขุมก็จะได้รับการอนุญาตให้โกนผม  ห่มขาว
 จากนี้เขาก็จะเรียกว่า  ?ตาผ้าขาวบ้าง?  หรือ  ?ตาปะขาว?  หรือหากจะเรียกให้เป็นกลางๆ  ก็ว่า  ?พ่อนาค?
 การโกนหัว  นี้เองที่ส่อแสดงว่าเป็นผู้ที่สละละทิ้งโลกียะวิสัยสันดานเดิมจากลูกชาวบ้านมาเป็นนักบวช
 ผู้เป็นอาจารย์ก็จะสอนว่า ?เราจุดม่งหมายอะไร ??
    ?เราคือ ใคร ??
    ?เราทำอะไร ?  อยู่?  ?มาทำสิ่งใด ??
    ?หน้าที่เราคืออะไร ??

 หน้าที่ การงานอื่นๆ  ในขณะเป็นตาผ้าขาวนี้ต้องช่วยงานวัดโดยรอบด้าน  เช่น  ขุดดิน  ถอนหญ้า  ตัดไม้  ตักน้ำ  หาฟืน ดูแลบริเวณวัด  ตลอดจนงานปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัด
 ทุกวันทุกขั้นตอนในการเป็น อยู่นับเป็นการทดสอบ  เพื่อตกลงใจว่าจะรับเข้าบวชหรือไม่ ช่วงนี้ดูเหมือนจะเป็นการทดสอบทางอารมณ์มากกว่าอื่นๆ  เป็นทุกข์ยากลำบากใจบีบคั้น  เป็นทุกข์  เพื่อมีทุกข์มีภาวะบีบคั้นจะได้สติได้ปัญญาจะมองเห็นความจริงของอารมณ์หรือ ไม่
 นี่เป็นความประพฤติประกาศตนโดยแท้

 จนที่สุดแล้วเป็นที่ เชื่อใจของครูบาอาจารย์  น้ำใจอัธยาศัยไมตรีไปกันได้คลายความแข็งลดความกระด้างลงไปมากแล้ว ประพฤติปฏิบัติให้ประจักษ์แก่สายตาของครูบาอาจารย์ ว่าเป็นผู้มั่นคง มีศรัทธา  มีกิริยามารยาทอันอ่อนน้อมถ่อมตน  มีความซื่อตรง  รู้จักข้อวัตรข้อปฏิบัติ
 ในภาวะเพศของชีผ้าขาวนี้  จำต้องฝึกหัดกิริยามารยาท  เสขิยวัตรมารยาทที่เกี่ยวกับพระเณร  ฝึกหัดในกิริยาท่าทาง  การพูดจา  การนึกคิด  กิจของพระสงฆ์กิจของสมณะ เรียนรู้การปฏิบัติทางจิต นั่งสมาธิ  จงกรม  กำหนดสติตามจิตตนทุกขณะ  ฝึกหัดในข้อวัตร  ข้อวัตต์  ข้อธุดงค์
 จากนี้อีกนานกว่าจะได้บรรพชาเป็นสามเณร  ได้อุปสมบทเป็นพระ
 ที่นำมาอ้างนี้เป็นส่วนเสี้ยวของรากฐานการบวชตาปะขาวที่องค์ท่านผู้เป็นพระปรมาจารย์ได้วางเอาไว้



พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค เวรัญชกสูตร
กุศลกรรมบถ ๑๐
ฯลฯ
กุศลกรรมบถ ๑๐


        [๔๙๐] ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือ ผู้ประพฤติธรรม
ด้วยกายมี ๓ อย่าง ด้วยวาจามี ๔ อย่าง ด้วยใจมี ๓ อย่าง
        ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลประพฤติธรรมด้วยกาย ๓ อย่างเป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายบุคคลบางคนในโลกนี้

         1.  ละการฆ่าสัตว์    เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย  มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

         2.  ละการถือเอาทรัพย์    ที่เขามิได้ให้ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ลักทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์  เครื่องปลื้มใจของผู้อื่น ที่อยู่ในบ้าน หรือที่อยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ซึ่งนับว่าเป็นขโมย.

         3.  ละความประพฤติผิดในกาม  ทั้งหลาย เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย    

        ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือผู้ประพฤติธรรมด้วย
กาย ๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

        ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วย
วาจา ๔ อย่าง เป็นไฉน? ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

         1.  ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ไปในที่ประชุม  และไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่

         2.  ละวาจาอันส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาอันส่อเสียด  และกล่าววาจาที่เป็นเครื่องทำความพร้อมเพรียงกัน.

         3.  ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ   และกล่าววาจาที่ไม่มีโทษ

         4.  ละการพูดไร้ประโยชน์ เว้นขาดจากการพูดไร้ประโยชน์ ... มีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่สุด
ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร.

        ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วย
วาจา ๔ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

         ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วยใจ
๓ อย่าง เป็นไฉน?
ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

         1.  เป็นผู้ไม่มีความโลภ ไม่เพ่งเล็งต่อทรัพย์อันเป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจของผู้อื่นว่า ขอของผู้อื่นพึงเป็นของเราดังนี้.

         2.  เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ไม่มีความดำริในใจคิดประทุษร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้ จงเป็นผู้ไม่
มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ มีแต่สุข รักษาตนเถิด ดังนี้.

         3.  เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ผลแห่งทานที่ให้แล้วมีอยู่ผลแห่งการบูชา
มีอยู่ ... สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้า ให้
แจ้งชัดด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองแล้ว สอนให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้.

         ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้ประพฤติเรียบร้อย คือประพฤติธรรมด้วยใจ
๓ อย่าง เป็นอย่างนี้แล.

         ดูกรพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย สัตว์บางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
เพราะเหตุแห่งความประพฤติเรียบร้อย คือ ประพฤติธรรม อย่างนี้แล.


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ link นี้ครับ 

http://larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005349.htm

มีอกุศลกรรมบถ ๑๐ แสดงไว้คู่กัน

สรุปอีกครั้งคือ

กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี,ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่างคือ ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
        ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
        ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
        ๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่         ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
        ๕. ปิสุณายวาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
        ๖. ผรุสาย วาจายเวรมณี เว้นจาก พูดคำหยาบ
        ๗. สัมผัปปลาปาเวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่         ๘. อนภิชฌาไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
        ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
        ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

ข้อมูลจาก
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ออนไลน์ จากลิงค์ข้างบนหน้ารวมกระทู้ของลานธรรมนี่เองครับ  (ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=145370 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น