วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พ้นชาติจาก สัตว์ป่า กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อทำคุณงามความดีต่อไป

     

        เพื่อยืนยันถึง คนที่ได้เป็นมนุษย์นั้นมีบุญจริง และการพบพระพุทธศาสนา  มีบุญจริงควรรีบขวนขวายหาทางพ้นทุกข์กันนะครับ ก็เลยยกตัวอย่างข้อความบางตอนมายืนยันครับ

        อาตมาเคยไปผจญอยู่ในป่าถ้ำมาหลายๆแห่ง เช่น ภูกระดึง ฯลฯ พวกสัตว์ป่า เช่น เสือ งูพิษ
ที่พูดนี่ขอพูดเพื่อให้มีกำลังใจ ในการปฏิบัติธรรมนะ

สัตว์พวกนี้ มาอยู่กับอาตมาได้อย่างสบาย นั่งภาวนาอย่างปกติ ไม่มีความระแวงต่อกัน
เขาอยู่ของเขา เราก็ภาวนาไป ทำอย่างนี้ทุกวัน ก็ไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น

นอกจากอาตมาสงสาร แผ่เมตตาให้เขาได้พ้นชาติ  กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อทำคุณงามความดีต่อไป

คัดมาจากส่วนหนึ่งของประสพการณ์ธุดงค์ ของหลวงพ่อกัสปมุนี


                 วิปัสสนานี้มีอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหาร  ภาวนาย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำการกิริยา มีสุคติภพคือมนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้าหากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานถ้าอุปนิสัยมรรคผลมีก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล  ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว   อนึ่งยากนักที่ที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์คือต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์คือศีล5 และกุศลกรรม10...จึงจะได้เกิดเป็นมนุษย์...ชีวิตที่เป็นมานี้...
...ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอันตรายชีวิตทั้งภายในและภายนอกมีต่างๆ...
...การได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ด้วยยากยิ่งนัก...
...เพราะกาลที่ว่างเปล่าอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง...
...เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด...
...อย่าให้เสียที...ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย...


เป็นส่วนหนึ่งของ คำสอนหลวงปู่เสาร์

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สัมมาทิฏฐิ




สัมมาทิฏฐิ

             ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
(จาก มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐)

            สัมมาทิฐิ แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา ตามวัดส่วนใหญ่เขียนคำนี้ตามแบบภาษาบาลีว่า สัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค
สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือ
  1. เห็นว่าการให้ทานมีผลจริง (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน)
  2. การบวงสรวงมีผลจริง(หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์กันมีผล)
  3. การเคารพบูชามีผลจริง (หมายถึงการยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง)
  4. ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
  5. คุณของมารดามีจริง (หมายถึงมารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
  6. คุณของบิดามีจริง (หมายถึง บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
  7. โลกนี้มี (หมายถึง โลกนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้สร้างบุญบารมี)
  8. โลกหน้ามี (หมายถึง โลกหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ ความเป็นไปของโลกหน้า เป็นผลมาจากโลกนี้)
  9. พวกโอปปาติกะ (ผุดขึ้นเกิด) มี (หมายถึง สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดแล้วโตทันทีมีจริง อาทิเช่น ในภูมิทุคติ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ในภูมิสุคติ ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม)
  10. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B4

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มหาการุณิโก


มหาการุณิโก

มหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน
 เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
 
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะ จารีสุ
 
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัดเถ ปะทักขิเณฯ

ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆา นุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต*


* ถ้าสวดให้คนอื่นใช้คำว่า เต สวดให้ตัวเองใช้คำว่า เม
(เต แปล ว่าท่าน – เม แปล ว่าข้าพเจ้า)

คำแปล มหาการุณิโก

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้ทรงเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์
ทรงประกอบด้วยพระมหากรุณา ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งปวง
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด
ด้วยการกล่าวสัจจวาจานี้ ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ข้าพเจ้า

ขอข้าพเจ้าจงมีชัยชนะในชัยมงคลพิธี
ดุจพระจอมมุนีผู้ยังความปีติยินดีให้เพิ่มพูนแก่ชาวศากยะ
ทรงมีชัยชนะมาร ณ. โคนต้นมหาโพธิ์ ทรงถึงความเป็นเลิศยอดเยี่ยม
ทรงปีติปราโมทย์ อยู่เหนือ อชิตบัลลังก์ อันไม่รู้พ่าย ณ โปกขรปฐพี
อันเป็นที่อภิเษกของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

ฉะนั้นเถิด เวลาที่กำหนดไว้ดี งานมงคลดี รุ่งแจ้งดี
ความพยายามดี ชั่วขณะหนึ่งดี ชั่วครู่หนึ่งดี
การบูชาดี แด่พระสงฆ์ผู้บริสุทธิ์
กายกรรมอันเป็นกุศล วจีกรรมอันเป็นกุศล มโนกรรมอันเป็นกุศล
ความปรารถนาดีอันเป็นกุศล
ผู้ได้ประพฤติกรรมอันเป็นกุศล ย่อมประสบความสุขโชคดี เทอญ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม
ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อ

ขอสรรพมงคลจงมีแก่ข้าพเจ้า
ขอเหล่าเทพยดาทั้งปวงจงรักษาข้าพเจ้า
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์
ขอความสุขสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ
 
ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_wrapper&view=wrapper&Itemid=41

อริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน

 

ทุกขอริยสัจ

[๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน

ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์

อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

[๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน

ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์

นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชาติ

[๑๔๗] ชรา เป็นไฉน

ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่ง

อินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา

[๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน

ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้

ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

[๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน

ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายในความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือ

ความโศก ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค

ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใด

อย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ

[๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน

ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้

ความพิไรร่ำกิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความ

เสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์

อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ

[๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน

ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์

อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า ทุกข์

[๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน

ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์

อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โทมนัส

[๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน

ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยว

ด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์

อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส

[๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน

ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความอยู่ร่วม กับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขา

ในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำ

อันตรายความเกษมจากโยคะของเขานี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์

[๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน

ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์ อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของ

เขาในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ ใคร่แต่ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่

ความเกษมจากโยคะของเขา ได้แก่มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต

นี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์

[๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่าเออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็น

ธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์

ประการหนึ่ง

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ

ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา

อย่างนี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุ

ปายาสอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง

[๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉนรูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์

วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=35&A=2644&Z=2716



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒

วิภังคปกรณ์

จิตมนุษย์เหมือนคนบ้าหาบหิน เทศนาโดย หลวงปู่สิม พุทธาจาโร



จิตมนุษย์เหมือนคนบ้าหาบหิน
พระธรรมเทศนาของหลวงปู่สิม พุทธาจาโร
การ ฝึกสมาธิ รวมจิตรวมใจให้เข้ามาภายใน ธรรมดาจิตนี้ ดวงจิตดวงใจจริง ๆ ก็คือดวงจิตดวงใจดวงเดียวเท่านั้น คน ๆ หนึ่ง สัตว์ตัวหนึ่ง ไม่ว่าใคร มีจิตดวงเดียว จิตดวงเดียวนี่แหละ แต่ว่าความอยาก ความดิ้นรน กิเลสมันเยอะ เรียกว่ามีมาก โบราณท่านตัดออกไปจากอายตนะทั้งหลาย ว่ากิเลสนี้มีตั้งพันหน้า ตัณหาร้อยแปด ก็คือว่ามันเยอะแยะ คิดมากไปเท่าไหร่ กิเลสมันก็มากไปตามความคิด
    พระ พุทธเจ้าจึงสอนว่า จงรวมจิตใจเข้ามา ถ้ารวมจิตใจเข้ามา จิตมันก็มีดวงเดียว จิตดวงเดียวเป็นผู้ลุ่มหลงมัวเมาอยู่ในกามภพ ในรูปภพ ในอรูปภพ ในมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เปรตโลก ยมโลก ไม่ว่าโลกใดก็ตาม จิตดวงเดียวเป็นผู้หลง เป็นผู้ไป เมื่อเกิดในภพใด ๆ ตั้งอยู่ภพใด ๆ ก็ไปยึดถือว่า ตัวเองอยู่ในภพนั้น ๆ จิตดวงเดียว เมื่อเรารวมเข้ามาแล้ว รักษาได้ง่าย เพราะมันเป็นของอันเดียว
ที่นี้ถ้าเราคิดมากไป ปรุงแต่งมากไป ตามอำนาจของกิเลสตัณหาในจิตใจนั้น ก็เลยมากเรื่องมากราวไป พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า จิตนี้เป็นใหญ่ เป็นประธาน สำเร็จแล้วด้วยดวงจิต เมื่อ จิตจะเอาอะไร จะทำอะไร จะพูดอะไร จะทำบุญทำบาป ก็สำเร็จด้วยดวงจิตดวงใจทั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าบำเพ็ญโพธิญาณมาสำเร็จได้ ก็เพราะดวงจิตดวงใจทั้งนั้น พากาย พาวาจา ให้ประพฤติดีทำดี ก็คือจิตดวงนี้แหละ
ดวง จิตดวงนี้นั้น ไม่ใช่เราไม่รู้ไม่เข้าใจ มันมีอยู่ เราทุกคนย่อมรู้ว่า ในตัวเรานี้แหละ ในใจเรามีความคิดนึกปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ความอยากทั้งหลาย ท่านให้ชื่อว่า ตัณหา กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ก็คือความดิ้นรน วุ่นวาย กระสับกระส่ายในจิตไปเท่าไรก็ติดเข้าไปเท่านั้น เมื่อจิตไม่สงบ ไม่ตั้งมั่นอยู่ในดวงจิตดวงใจแล้ว จิตนั้นเองเป็นผู้แส่ส่ายไปรับเอาเรื่องต่าง ๆ มาคิด มานึก มาปรุง มาแต่ง ทั้ง ๆ ที่ 
พระ พุทธเจ้าทรงตรัสว่า ไม่ต้องไปเก็บเอาอะไรมาอีก เท่าที่มันมีอยู่นี้มันก็หนักพอแรงแล้ว ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของหนัก แล้วยังจะไปเก็บเอาเรื่องราวอารมณ์ภายนอกเข้ามา ให้มันยุ่งเหยิง มันก็ยิ่งหนักยิ่งหน่วงเข้าไป เหมือนกับว่าเราหาบ เราแบกเต็มแรงแล้ว แต่ยังไม่พอ เก็บเข้ามาใส่อีก จิตใจที่ไม่สงบ ไม่ตั้งมั่นอยู่ภายในนี้ ท่านว่าเหมือนคนบ้าหาบหิน
นิทาน คนบ้าหาบหินนั้นมีอยู่ว่า บ้านั้นท่านว่าบ้า ๑๐๘ บ้า ๓๒ บ้า นับไม่ได้ มีบ้าชนิดหนึ่ง ไม่โหดร้ายประการใด ได้บุง ได้ตาด ได้อะไรมาก็หาบไป เมื่อเห็นไม้ เห็นก้อนหิน เม็ดกรวดอะไรก็ตาม เก็บใส่ข้างหน้าข้างหลัง แล้วก็หาบเรื่อยไป ไม่ว่าเห็นอะไรอยู่ข้างถนนหนทางก็เก็บมาใส่ทั้งนั้น เรียกว่าเก็บก้อนหิน ของหนักมาใส่ หาบไป จนกระทั่งหาบไปไม่ได้ ก็เก็บออก เก็บออกพอเบาไปได้ก็หาบไปอย่างนั้นแหละ
เขา ให้ชื่อว่าคนบ้า คนบ้าชนิดนั้นไม่มีเรื่องราวกับใคร แต่มีเรื่องราวกับหิน เห็นของหนักแล้วก็เอามาใส่ เจ้าของก็หาบไป เมื่อหาบไป มันก็เบา ก็เก็บมาใส่ใหม่ เห็นของใหม่ก็เก็บใส่ใหม่ เป็นอยู่อย่างนี้ ตลอดวันตลอดคืน แก่ทำมาอย่างนั้น นี้เรียกว่าเป็นนิทานอันหนึ่ง
นิทาน คนบ้าหาบหินนี้ เปรียบอุปมาเหมือนจิตใจของคนเรา ไม่ภาวนา ไม่สงบ ก็ไม่สละออกไปจากอารมณ์ต่าง ๆ ที่เก็บเข้ามา ตาเห็นรูป ก็เก็บเอามาไว้ มาคิด มานึก มาปรุงแต่งในทางที่จะยึดเอาถือเอาเหมือนคนบ้าหาบหิน รูปดีก็อยากได้ ดิ้นรนวุ่นวาย รูปสวย รูปงาม ไม่ว่ารูปวัตถุ ข้าวของเครื่องใช้ไม้สอยก็ตาม รูปคน... เมื่อเห็นว่ารูปดี ก็อยากได้ ปรารถนา ดิ้นรนไปตามกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเก็บเข้ามา ยึดเข้ามา
ที่ นี้ ในขณะที่รูปไม่ดี รูปน่าเกลียดน่ากลัว รูปน่าชัง ก็เก็บเข้ามาอีก ไปเกลียด ไปกลัว ไปชัง พาให้จิตใจไม่เป็นสมาธิภาวนา คือเป็นธรรมดาของจิตไม่สงบ ไม่มีภาวนาพุทโธอยู่ในดวงใจ เมื่อตาเห็นรูปในส่วนที่ดีก็หลงไปอีกอย่างหนึ่ง ในส่วนที่ไม่ดี ก็หลงไปอีกอย่างหนึ่ง วุ่นวายอย่างนั้นแหละ เหมือนกับว่าคนบ้าหาบหิน
นอก จากตาเห็นรูป หูได้ฟังเสียง ก็คอยเก็บเข้ามา นอกจากเก็บเข้ามาแล้ว ตัวเองก็ชอบพูดชอบกล่าวแต่ในสิ่งที่ไม่นั้นแหละ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ธรรมะคำสั่งสอนมีตั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็ไม่ท่องบ่นสาธยาย เอามาจดมาจำ แต่คำดุคำด่า ว่าร้ายป้ายสีให้แก่กัน วันนี้ชอบเอามาคิด เอามานึก แม้สิ่งนั้นจะล่วงเลยมานานแล้วก็ตาม จำไว้ ไม่ให้ลืม เขียนไว้ไม่ให้ลืม เป็นอย่างนี้มาตลอดกัป ตลอดกัลป์ ตลอดภพ ตลอดชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย มันเป็นอยู่อย่างนี้ ไม่รู้จักปล่อยวาง
ทาง สมาธิภาวนา ธรรมะธัมโม คำสอนในทางพุทธศาสนานั้น ท่านให้ตั้งอกตั้งใจบริกรรมภาวนา คนอื่นผู้อื่นไม่สำคัญเท่าใจของเราเอง ใจของเรานี้แหละ ควรภาวนานึกน้อมอยู่ในตัว ในใจ อย่าได้ประมาท ไม่ต้องไปหาบไปหิ้วเอาเรื่องของคนอื่น ผู้อื่น
สัตว์โลกทั้งหลายนั้นมีอยู่มากมาย พระพุทธเจ้าตรัสว่า อะนันตังอัปปะริมาณัง อนันตัง แปลว่า จะนับก็ไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แม้มนุษย์โลก สัตว์โลกทั้งหลายยังนับอ่านไม่ได้ ลองคิดดูว่า สัตว์เดรัจฉานในน้ำ บนบก ในอากาศนั้นมีมากมาย เต็มไปด้วยสัตว์ทั้งหลาย นับได้เมื่อไร ไม่มีใครนับได้ ในพื้นแผ่นดิน ก็เต็มอยู่ในแผ่นดิน พวกมด พวกปลวก พวกแมลงเล็ก ๆ น้อย ๆ จนสมมติให้ชื่อมันไม่ได้ มันมากมาย ที่มันเกิดมาได้แล้วก็มี ส่วนที่มันยังเกิดไม่ได้ เหลือแต่ดวงจิตดวงวิญญาณอยู่ ก็เรียกว่าแน่นโลกอยู่ก็ว่าได้
ดวง จิตดวงวิญญาณของสัตว์ทั้งหลายนี้ เรียกว่าเต็มโลก หรือภาษาโบราณท่านว่า ดวงจิตดวงใจของสัตว์โลกนั้นมันเต็มโลก เหมือนเอาข้าวสารยัดใส่ไห ข้าวสารในไห ในหม้อ ในตุ่ม เต็มไปอย่างนั้นแหละ แน่นอยู่ในไห ในถุงอย่างไร ดวงจิตดวงใจของสัตว์โลกก็เต็มอยู่อย่างนั้น ไม่หมด ไม่สิ้น
บาง คนก็มาเห็นว่า มนุษย์โลกในยุคนี้สมัยนี้มันมากมาย จนรัฐบาลแต่ละประเทศเลี้ยงไม่ไหว ต้องมีการคุมกำเนิดไม่ให้มันเกิด ถ้ามันเกิดมาแล้วก็จะมากมายหลายอย่าง แต่ละบุคคล ๆ เลยมีการคุมกำเนิดไม่ให้มันเกิด มันจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตามที แต่ว่าดวงจิตดวงใจของสัตว์โลกทั้งหลายนั้น มันเกิดอยู่อย่างนั้นแหละ มันมีอยู่แล้ว ที่คุมกำเนิดก็คุมได้แต่ในรูปขันธ์ คือไม่ให้มันมีรูปขึ้นมา แต่ว่าในจิตในใจนั้นมันคุมไม่ได้ มันเกิดก่อนผู้ควบคุมด้วย มันเกิดมาตั้งแต่อเนกชาติ นับภพ นับชาติ นับกัป นับกัลป์ นับตั้งฟ้าตั้งแผ่นดินไม่ได้แล้ว ดวงจิตดวงใจอันนี้ มันจึงเป็นดวงจิตที่เรียกว่า หลงใหลอยู่ในโลกมานมนาน เป็นคนบ้าหาบหินมานานแล้ว จนนับไม่ถ้วน
แม้ แต่พระศาสนาสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ได้มาตรัสรู้ในโลก พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็รู้ว่าสัตว์โลกทั้งหลายมันมากมายเหลือที่จะพรรณนา พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ๆ มาโปรด มาเทศน์ มาสั่งสอนเอาก็ได้ แต่มันก็ไม่หมดไม่สิ้นไปได้ นับเป็นอสงไขย ๆ ที่สัตว์มาพ้นทุกข์ไปสู่นิพพานตามพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ แต่ถึงกระนั้น สัตว์โลกก็ไม่มีทางจะหมด จะสิ้นได้ เพราะอะไร เพราะจิตใจของสัตว์โลกยังมีความหลงอยู่
เมื่อ เป็นเช่นนี้ท่านจึงให้มีความสังวรระวัง ตั้งอกตั้งใจปฏิบัติบูชาภาวนา อย่าให้ใจไปเก็บเอาอารมณ์เรื่องราวภายนอกที่ไม่มีที่จบที่สิ้น ให้รู้จักปล่อยวาง ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่นเหม็นหอมอะไร ก็อย่าไปยึดไปถือเอา ถ้าจิตหลงไปยึดไปถือแล้ว เป็นทุกข์ในใจ เป็นทุกข์ในโลก ไม่มีที่จบที่สิ้น
ใน เมื่อเวลากลิ่นสัมผัสในจมูก รสสัมผัสในลิ้น เรื่องรสอาหารการกินนี้เป็นตัวสำคัญอันหนึ่ง เพราะว่าชีวิตของสัตว์ทั้งหลายนั้นตั้งอยู่ได้เพราะมีอาหาร ที่มันเกิดขึ้นมามีชีวิตอยู่ได้ เพราะมีการบริโภคอาหาร ถ้าสัตว์ทั้งหลายไม่มีอาหารกิน รูปขันธ์ก็ตั้งอยู่ไม่ได้
รส อาหารนี้แหละ เป็นเหตุการณ์อันใหญ่ยิ่ง เพราะว่าจิตนั้นไม่อยู่ในสมาธิภาวนา ไม่มีอารมณ์ใจสงบระงับ ก็ย่อมดิ้นรนวุ่นวายไปตามอาหารการกิน สิ่งที่ล่วงมาแล้ว เคยกินเคยบริโภคอย่างใด จิตอันนี้ก็ไปยึดไปถือเอา เรียกว่าเหมือนกับคนบ้าหาบหิน มันก็หาบเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ไม่ยอมให้ผ่านไป มันเก็บเอามาคิดนึกอีก และก็คิดไปข้างหน้า หลงอยู่ในรสอาหารการกิน หารู้ไม่ว่ารสอาหารการกินนั้น มันเป็นเพียงการมาประทังรักษารูปขันธ์ให้เป็นอยู่เท่านั้น เมื่อรูปขันธ์เป็นอยู่แล้ว เราก็จะได้เจริญสมถะกรรมฐานทำให้ใจสงบระงับ ไม่ปล่อยปละละเลยให้จิตใจไปวุ่นวายแต่เรื่องภายนอก ยังดวงจิตดวงใจให้สงบตั้งมั่นอยู่ภายในดวงใจนี้ จะได้รวมจิตรวมใจเข้ามาภายในไม่ให้วุ่นวายไปตามเรื่องภายนอก
ส่วน ร่างกาย ก็มีสิ่งที่มาสัมผัสถูกต้อง เย็นร้อนอ่อนแข็ง เจ็บไข้ได้ป่วย สบาย ไม่สบาย ให้ชื่อว่า โผฏฐัพพะ สิ่งที่มากระทบกระเทือนรูปกายนี้ ก็เป็นอารมณ์พาให้จิตใจคนเราอยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้ ภาวนาพุทโธอยู่ในดวงใจไม่ได้ เพราะมีความลุ่มหลงอยู่ในผิวหนังผิวกาย หรือในเครื่องสัมผัส ไม่ว่าจะมีอะไรอยากได้อะไร เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มที่ปกปิดร่างกายนั้น นอกจากจะกันความร้อนหนาว เหลือบยุงแล้ว ยังนุ่งห่มประดับประดาตกแต่งร่างกาย เอาดีเอางาม วิเศษวิโส ไม่มีที่จบสิ้น นั่นแหละท่านว่า มันไปหาบเอา ยึดเอา ถือเอา เป็นทุกข์ในใจเป็นทุกข์ในโลก เป็นทุกข์ในกายเป็นทุกข์ในจิต ดวงจิตมันก็เป็นทุกข์
เมื่อ อารมณ์ทั้งหลาย มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สิ่งที่มาถูกต้องกาย ไปเป็นอารมณ์อยู่ในจิต แต่มันไม่ใช่อารมณ์ภาวนาพุทโธ ไม่ใช่อารมณ์มรณกรรมฐาน แต่เป็นอารมณ์หลงใหลไปตามตา ตามรูป ตามหู ตามเสียง ตามจมูก ตามกลิ่น ตามลิ้น ตามรส ตามกาย ตามโผฏฐัพพะ มันหลงอยู่อย่างนี้
จิต เมื่อมันได้ผ่านอายตนะทั้งหลาย มันก็ไปเป็นอารมณ์อยู่ในจิต ดับไม่ลง สงบไม่ได้ จิตอันนั้นก็เลยเห็นว่า ความคิด ความนึก ความฟุ้งซ่านรำคาญ ดิ้นรนวุ่นวายกระสับกระส่ายได้มากเท่าไร ก็ถือว่าเป็นความสุข แต่ความสุขอันเป็นทุกข์ มันเก็บเข้ามา ยึดเข้ามา ถือเข้ามา ไม่รู้จักปล่อยจักวาง
พระ พุทธเจ้าท่านปล่อยวางจนหมด ไม่มีอะไรยึดไว้ถือไว้ในจิตในใจ ดวงจิตดวงใจของพระองค์ก็เรียกว่า ละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาได้หมดสิ้น คือท่านไม่เป็นบ้าเป็นบอมายึดมาถือตามโลกอีกต่อไป พระพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี ท่านรู้จักปล่อยรู้จักวาง รู้จักตัวเองว่า ลุ่มหลงมาแล้วในโลกนี้จนนับไม่ถ้วน
เมื่อ มาถึงปัจจุบันชาตินี้ ท่านก็ปล่อยวาง ท่านไม่หาบต่อไปอีก ปลงไว้ วางไว้ ตามหน้าที่ของเขา แล้วก็กำหนดพิจารณาให้เห็นแจ้งอยู่ภายในจิตใจของท่าน ไม่ใช่ท่านขาดสติ ขาดสมาธิ ขาดปัญญาไม่ได้ ท่านมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา มีวิชาความรู้ ท่านเห็นว่าจิตใจของท่านได้หาบ ได้แบก ได้หาม วุ่นวายมานานแล้ว ปลงเสียที วางเสียที เรียกว่าปลงตก
ปลงตก คือพิจารณาเห็นแจ้งว่าไม่ดี ไม่วิเศษวิโสอะไร ท่านก็ปลง ละออก ปล่อยออก วางออก ให้หมดสิ้น ไปจากจิต สิ่งใดที่ท่านเคยอิจฉาพยาบาทโกรธแค้นให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ท่านก็ปล่อยวางออกไป ไม่อิจฉา พยาบาทใครอีกต่อไป
มี ความเพ่งเล็งให้แก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย มีความสุขกาย สบายใจ อย่าได้เดือดร้อนวุ่นวาย ใครมีความสุขอย่างไร ก็ให้มีความสุขอย่างนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป พระพุทธเจ้า พระอริยะเจ้าทั้งหลาย เรียกว่าท่านมีเมตตากรุณาแก่สัตว์โลกไม่ซ้ำเติม ไม่เก็บเอามายุ่งในจิตใจด้วย
คนเราที่ใจไม่สงบ ก็เพราะว่าไปคอยยึด ไปคอยถืออยู่ หาบอยู่ เหมือนคนบ้าหาบหินไม่รู้จักปล่อยวาง ความจริงแล้ว เราจะไปปล่อยวางให้คนอื่น ไปว่าดีให้คนอื่นก็เท่านั้น ไปว่าชั่วเสียหายให้คนอื่น ก็เท่านั้น
หน้าที่ ของผู้ปฏิบัติธรรมภาวนาในทางพุทธศาสนานั้น ท่านทำจิตทำใจของท่านให้มีความสงบตั้งมั่น มั่นคงอยู่ในบริกรรมภาวนา ในดวงจิตดวงใจของท่านทุก ๆ ท่าน ทุกองค์ เมื่อยังไม่พ้น ก็เพียรพยายามเพื่อให้หลุดให้พ้น
เมื่อ พ้นไปแล้ว หลุดไปแล้ว ท่านก็มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ท่านก็มีความเมตตาแก่สัตว์โลกทั้งหลาย ไม่มีการซ้ำเติมบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ แล้วก็ไปซ้ำเติมให้มันมีความทุกข์หนักขึ้นไปอีกไม่เอา ท่านมีวิธีสั่งสอน แนะนำให้พุทธบริษัทมีภิกษุ สามเณร สามเณรี ผ้าขาว นางชี ฤาษี ตั้งอกตั้งใจ ภาวนาทำความเพียรละกิเลส
การ ละกิเลสจะหมดจะสิ้นไปได้นั้น ไม่ใช่เพียงแต่ว่าสงบอยู่เท่านั้น ยังไม่พอ จะต้องกำหนดพิจารณาให้เห็นแจ้งด้วยญาณ ด้วยปัญญาตาใจว่า รูปนาม กาย ใจ ตัวตนคนเรานี้แหละ ไม่มีอะไรจะเที่ยงแท้แน่นอน ยั่งยืน จะให้เป็นไปตามความรักความปรารถนาทุกอย่าง ทุกประการนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ารูปขันธ์ อันเป็นตัวเป็นก้อนอันนี้ก็ตาม นามขันธ์ ได้แก่ดวงจิตดวงใจคิดนึกปรุงแต่ง อะไรต่อมิอะไร มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
ท่าน มาฝึกฝนอบรม สั่งสอนพุทธบริษัทให้รู้จักทำความสงบ ระงับ ให้รู้จักปล่อยวาง ไม่ให้ยึดถือ แม้จะมีอารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น ในเวลาเรานั่งอยู่ เมื่อลุกจากที่นั่งไป ท่านก็สอนว่า อย่าเก็บเอาอารมณ์เรื่องราวที่มันเกิดขึ้นในเวลานั่งนั้นติดตามไปด้วย
ถ้า ทำได้อย่างนี้ อารมณ์ภาวนาก็สบาย ไม่ไปเก็บเอาสิ่งที่เขาด่า เขาว่าดีชั่วให้ เมื่อลุกจากที่นั่งไปแล้ว ก็ไม่เก็บไปด้วย ในใจก็สบาย กายก็สบาย หูก็สบาย เพราะไม่ไปเก็บเอาอะไรต่อไปอีก หรือเขาติเตียนนินทา ว่าร้ายป้ายสีในเวลาที่เราอยู่ในน้ำ ถ้าเราขึ้นจากน้ำแล้วก็อย่าเก็บมา ทิ้งไว้ในน้ำนั้น
นี่ คือนโยบายสอนผู้ปฏิบัติธรรมะ อย่าไปเก็บเอามา อย่าไปเอามาหาบ มายึด มาถือ ถ้าเอามายึดมาถือไว้แล้ว ไม่มีที่จบที่สิ้น ขึ้นชื่อว่าโลกแล้วไม่มีที่จบ ไม่มีที่สิ้น ถ้าใครต่อเติมส่งเสริมมากเท่าไหร่ ก็ไปมากเท่านั้น เลยไม่จบไม่สิ้น ทำไมมันจึงไม่จบไม่สิ้น ก็เพราะว่ามันวน ๆ อยู่ในอาการอันเก่า
ทั้ง โลกนี้ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ในอายตนะภายใน อายตนะภายนอก มันกระทบกระเทือนอยู่อย่างนี้มันจะจบสิ้นที่ไหน มันวนอยู่ในอาการอันเก่า ท่านว่าเหมือนมดมันไต่ขอบด้ง ขอบหม้อ ขอบไห มันไต่เท่าไร ๆ มันจะมีที่สิ้นสุดที่ไหนเพราะของมันกลม เรียกว่ามันไต่ไปตามความไม่รู้นั่นแหละ มันวนอยู่ในอาการอันเก่า แม้ความคิดนึกของคนเราว่าไปไกลที่สุดแล้วนั้น มันก็ไกลโดยความวนอยู่ในอาการอันเก่า
พระ พุทธเจ้าจึงสอน ไม่ให้วนเวียนมาในโลกนี้อีก ต่อไปสงบจิตสงบใจ ตั้งใจให้มั่นในดวงจิตดวงใจ ให้จิตใจดวงนั้นมีปัญญาพิจารณา ที่มีความเกิดขึ้นมา ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นธรรมดาของสังขารทั้งหลาย เขาต้องเป็นไปอย่างนี้ แม้จิตใจของผู้มาอาศัยอยู่ในรูปขันธ์ คือขันธ์อันนี้ ดัวอันนี้ มิใช่ว่าจะได้ดังความปรารถนาทุกอย่างทุกประการ ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะว่ารูปขันธ์นี้ มีความแก่ความชรา มีความเจ็บไข้ได้ป่วย มีความแตกดับเป็นธรรมดา
จิต ใจดวงที่ภาวนาพุทโธต่างหาก อยู่ที่ใดตั้งอกตั้งใจ ไม่ให้ใจของตนออกไปรับเอาเรื่องราวภายนอก สิ่งใดอยู่ภายนอกก็ให้ทิ้งไว้ นอกนั้นเรื่องราวอะไรที่มันเข้ามายุ่งในจิตในใจ ก็เพียรละในใจ ตั้งอกตั้งใจบริกรรม ภาวนาพุทโธรวมจิตใจเข้าไปภายในใจของตนเอง เพียรพยายามอยู่ในหัวใจของตนให้ได้ตลอดเวลา นั่งที่ไหนก็ภาวนาในที่นั้น ยืนอยู่ที่ไหนก็ภาวนาที่นั้น จะเดินไปมาที่ไหนก็ภาวนารวมจิตรวมใจให้สงบตั้งมั่น จนเกิดความรู้ ความฉลาด ความสามารถอาจหาญ ตัดบ่วงห่วงอาลัย กิเลสในหัวใจของตัวให้หมดไป สิ้นไป ไม่ใช่เพียงแต่ว่า ความอยากได้ อยากดี อยากเป็น อยากมีไปตามอำนาจกิเลส อันนี้ไม่มีที่จบที่สิ้น ดิ้นรนไปตามความหลง
ความรู้แจ้งเห็นจริง ก็ต้องมารู้ที่กายที่จิต ที่ ตัวเรานี้เอง ว่าร่างกายสังขารของแต่ละบุคคล มีขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดโดยรอบ มีใจครองอยู่ในร่างกาย ตัวตนนี้ คนละดวงใจ ก็ให้เพียรพยายามรักษา เอาดวงใจดวงเดียวนี้ให้ได้ อย่าได้ขาดสติ อย่าได้ขาดสมาธิ อย่าได้ขาดปัญญา จงเก็บเข้ามาไว้ในหัวใจ อย่าส่งใจออกไปยุ่งวุ่นวายกับเรื่องภายนอก
จง มีความสงบจิตสงบใจ มีความตั้งมั่นอยู่ในหัวใจของตนอย่างเดียว สิ่งอื่นใดนอกจากจิตใจดวงที่รู้อยู่ภายในนี้ ออกไปทั้งหมด อนิจจัง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขึ้นชื่อว่าเป็นสังขารทั้งหลาย จะเป็นสังขารอันเป็นรูป สังขารอันเป็นนามธรรมก็ตาม ย่อมมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอน ปั่นป่วนอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้
ผู้ ปฏิบัติธรรมะในทางพุทธศาสนา จงพากันรวมจิตรวมใจสงบตั้งมั่นอยู่ในดวงใจ จนเห็นว่า สิ่งอื่นใดนอกจากจิตใจที่มีความสงบตั้งมั่นนี้ออกไปทั้งหมด อนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นในความสุขทุกข์ ความเป็น ความมี อันมีอยู่ในกายและจิตนี้
จง ทำความรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมะปฏิบัติ อันเป็นปัจจุบันธรรมในที่นั้น ๆ สิ่งใดที่เป็นอารมณ์เรื่องราวอดีต มันก็ล่วงมาแล้ว เรื่องอนาคตมันก็ยังไม่มาถึง มันเป็นเรื่องภายนอกจากกายจากจิตออกไป จิตอย่าหวั่นไหวสั่นสะเทือน
จงเป็นผู้มีสติอยู่ทุกเวลา มีสมาธิอยู่ทุกเวลา มีสติปัญญา อยู่ทุกเวลา ทุกขณะ ทุกเวลา อย่าได้ประมาท มัวเมา รั่วไหลไปที่อื่น จิตใจมีอยู่ภายใน ภายในตัวของบุคคลเราทุก ๆ คน ใจคนอื่น ผู้อื่น เขารักษาภาวนา ใจของเรามีอยู่ภายใน
เรา ต้องรักษาภาวนา อย่าได้ประมาท ผู้ไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ผู้ประมาทเรียกว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม ความเสีย ไม่กำหนดภาวนา ขาดสติขาดสมาธิขาดปัญญา ขาดความรู้ความฉลาด ขาดความสามารถอาจหาญ จิตใจเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไม่ตั้งมั่นอยู่ในดวงใจ
จง เป็นผู้โอปนยิโก น้อมเข้าสู่หลักปัจจุบัน เวลานี้ เดี๋ยวนี้ให้ได้ เมื่อเรามาภาวนาอยู่ในตัวในใจนี้ ได้ทุกขณะทุกเวลา อยู่ในหัวใจนี้แหละ จะเป็นไปเพื่อความเจริญงอกงามในทางพุทธศาสนา
ดังแสดงมาก็สมควรด้วยกาลเวลา เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

( ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=2691:2010-09-18-14-10-02&catid=39:2010-03-02-03-51-18 )

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อิทธิบาท 4 ธรรมที่ส่งผลให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์

             คำว่า อิทธิบาท แปลว่า บาทฐานแห่งความสำเร็จ หมายถึง คุณธรรมให้ลุถึงความสำเร็จตามที่ตนประสงค์ ผู้หวังความสำเร็จในสิ่งใด ต้องทำตนให้สมบูรณ์ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า อิทธิบาท ซึ่งจำแนกไว้เป็น ๔ คือ
๑. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

ธรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมเนื่องกัน แต่ละอย่างๆ มีหน้าที่เฉพาะของตน

ฉันทะ คือความพอใจ ในฐานะเป็นสิ่งที่ ตนถือว่า ดีที่สุด ที่มนุษย์เรา ควรจะได้ ข้อนี้ เป็นกำลังใจ อันแรก ที่ทำให้เกิด คุณธรรม ข้อต่อไป ทุกข้อ

วิริยะ คือความพากเพียร หมายถึง การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ คำนี้ มีความหมายของ ความกล้าหาญ เจืออยู่ด้วย ส่วนหนึ่ง

จิตตะ หมายถึงความไม่ทอดทิ้ง สิ่งนั้น ไปจากความรู้สึก ของตัว ทำสิ่งซึ่งเป็น วัตถุประสงค์ นั้นให้เด่นชัด อยู่ในใจเสมอ คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า สมาธิ อยู่ด้วยอย่างเต็มที่

วิมังสา หมายถึงความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา คำนี้ รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่

ที่มา  http://www.learntripitaka.com/scruple/Itibaht4.html
           อิทธิบาท 4 จากคำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ สำหรับนักปฏิบัติให้ถึงซึ่งความดับทุกข์    คือพระนิพพาน

อิทธิบาท ๔



จาก หนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน


              ได้พูดถึงวิธีการต่างๆ มามาก ต่อแต่นี้ไปจะพูดถึงกฎบังคับตายตัวในพระพุทธศาสนา อีกอย่างหนึ่ง ที่นักปฏิบัติไม่ว่าระดับใดต้องยึดถือเป็นกฎบังคับสำหรับการปฏิบัติ ถ้าทิ้งอิทธิบาท ๔ นี้ เสียแล้ว ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่มีทางสำเร็จผลสมความปรารถนา แต่ถ้าท่านผู้ใดทรงการปฏิบัติตาม ในอิทธิบาท ๔ นี้แล้ว สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสรับรองผลว่า ต้องสำเร็จสมความมุ่งหมาย ทุกประการ แม้ท่านหวังพระนิพพานในชาตินี้ ก็หวังได้แน่นอน ใจความในอิทธิบาท ๔ มีดังนี้
๑. ฉันทะ มีความพอใจในปฏิปทาที่ปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ
๒. วิริยะ มีความพากเพียรพยายามไม่ท้อถอย
๓. จิตตะ สนใจในข้อวัตรปฏิบัตินั้นเนืองนิจ
๔. วิมังสา ใคร่ครวญพิจารณา ในข้อวัตรปฏิบัตินั้นโดยถูกต้อง

กฎ ๔ อย่างนี้ท่านเรียกว่า อิทธิบาท แปลว่า เข้าถึงความสำเร็จ หมายความว่าท่าน นักปฏิบัติท่านใดจะปฏิบัติในสมถะหรือวิปัสสนาก็ตาม ถ้าท่านมีแนวความคิดรักใคร่สนใจในข้อวัตรปฏิบัติ มีความพากเพียรไม่ท้อถอย สนใจใคร่อยู่เป็นปกติ พิจารณาสอบสวนทบทวนปฏิปทาทปฏิบัติ แล้ว ว่าเหมาะสมถูกต้องประการใด หรือไม่เพียงใด ต่อไปควรจะปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมถูกต้อง ปฏิบัติได้อย่างนี้ สมเด็จพระชินสีห์ตรัสว่า ไม่มีอะไรที่จะทำไม่ได้ไม่สำเร็จ อิทธิบาท ๔ ประการนี้ นักปฏิบัติต้องยึดไว้เป็นหลักปฏิบัติประจำใจ ไม่มีพระอรหันต์องค์ใดที่จะละเลย ไม่ยึดถืออิทธิบาท ๔นี้ เป็นหลักปฏิบัติประจำใจ แม้องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเองก็ทรงยึดอิทธิบาทนี้เป็นกฏในการปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ขอท่านนักปฏิบัติทุกท่านจงยึดถืออิทธิบาทนี้เป็นหลักชัยประจำใจไว้เสมอ

บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

                


           บุญกิริยาวัตถุ (อ่านว่า บุน-ยะ-กิ-ริ-ยา-วัด-ถุ) แปลว่า เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หมายถึงเหตุเกิดบุญ, วิธีการทำบุญ, วิธีที่เมื่อทำแล้วได้ชื่อว่าทำบุญและจะได้รับผลเป็นความสุข
            
         บุญกิริยาวัตถุโดยย่อ มี 3 ประการคือ
  1. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
  2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
  3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา


บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ


            บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือกล่าวอย่างง่ายๆว่า การกระทำที่เกิดเป็นบุญ เป็นกุศล แก่ผู้กระทำดังต่อไปนี้
๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือ การสวดมนต์และภาวนา(สมถะ และวิปัสนา)  การอบรมจิตใจ  ในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การขวนขวายไม่วางธุระในกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

        บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป
ที่มา
http://www.dhammakaya.org/dhamma/boon01.php

บุญเท่านั้นที่ต้องรีบทำ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) วัดสะเกศ



" บุญเท่านั้นที่ควรรีบทำไม่ว่าในเวลาไหน   คนที่ยังต้องเกิดแก่เจ็บตาย        
ต้องขวนขวายทำบุญ    คนที่ไม่ประมาทเร่งทำบุญ "


คำกล่าวของหลวงปู่ดู่ วัดสะแก ที่เกี่ยวข้องกับ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ
" เวลาที่ไปไหว้พระองค์ไหนก็ตาม ถ้าผู้ที่ทำเห็นแล้วจะรู้ได้ เพราะท่านจะมีที่อยู่ของท่านเฉพาะ ถ้าองค์ไหนเราเห็นท่านอยู่ในที่ของท่านแล้วองค์นั้นแหละพระดี ข้อสำคัญต้องทำให้เห็น หรือเวลาแกไปเจอภาพพระองค์ไหนก็ตามเอามือแตะภาพท่านทำใจเฉยๆ ถ้าขึ้น (ปีติ) มาถึงหัวแสดงว่าองค์นั้นดี"
          ผู้เขียนเคยนำรูปของสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศไปให้ท่านอธิษฐานจิต พอหลวงพ่อท่านแตะรูปท่านบอกว่า
" องค์นี้เป็นพระดีมีบารมีสูงมากพอกับหลวงพ่อโตวัดระฆัง จะมากกว่าเสียด้วย ถ้าแกไม่เชื่อลองจับดูก็ได้ "  (ขอขอบคุณ และอนุโมทนาบุญท่านเจ้าของข้อมูลครับ)  
          

          สมเด็จพระสังฆราช ที่ครองวัดสระเกศนั้นมีเพียงองค์เดียวในประวัติศาสตร์ไทย นั่นคือ สมเด็จอยู่ (ญาโณทโย) ใช่แต่เท่านั้นเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์เดียวในยุครัตนโกสินทร์ ที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในด้านโหราศาสตร์ และยังได้รับการยกย่องในด้านนี้แม้กระทั่งปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ท่านสิ้นไป ๓๘ ปีแล้ว

            ที่จริงความสามารถอีกประการหนึ่งของท่าน ซึ่งมักไม่เป็นที่รู้จักก็คือ ความปราดเปรื่องด้านปริยัติธรรมเมื่อครั้งยังป็นพระมหาอยู่นั้น ไม่ว่าจะเข้าสอบแปลพระปริยัติธรรมครั้งใด ไม่เคยแปลกตกเลย ตั้งแต่ประโยคต้นจนประโยคสุดท้าย และที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ยุครัตนโกสินทร์ก็คือ พระมหาอยู่สอบได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยคองค์แรกในรัชกาลที่ ๕ จนสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระมหากรุณาธิคุณเป็นพิเศษ ให้นำรถยนต์หลวงมาส่งจนถึงวัดสระเกศ นับแต่นั้นก็เป็นพระราชประเพณีว่า ถ้าพระเปรียญรูปใดสอบประโยค ๙ ได้ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้นำรถยนต์หลวง ส่งพระเปรียญรูปนั้นจนถึงสำนัก

             ท่านเป็นที่เลื่องลืออย่างยิ่งในด้านความเมตตา ใบหน้าของท่านจะมีรอยยิ้มแฝงอยู่ด้วยเสมอ ผู้ใดที่เข้าหาก็จะประทับใจกับใบหน้าอันอิ่มเอิบและอัธยาศัยของท่าน และทั้งๆ ที่ท่านเจริญในสมณศักดิ์เรื่อยมา ก็ยังเป็น “หลวงพ่อ” ของชาวจีนรอบวัดไม่ว่าเด็กหรือผู้เฒ่า โดยที่เจ้าประคุณสมเด็จไม่เคยถือยศศักดิ์

             ความไม่ถือยศศักดิ์ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้นเป็นที่กล่าวขานกันมาก ปกติแล้วเวลามีผู้มานิมนต์มักจะเอารถเก๋งมารับเพื่อให้สมฐานะสมเด็จฯ แต่คราวหนึ่งชาวจีนยากจนผู้หนึ่งมานิมนต์ท่านไปฉันที่บ้านเพื่อทำบุญให้แก่บุตรที่ตาย เมื่อท่านกับพระอีก ๔ รูปเดินออกจากประตูวัดสระเกศ ก็ถามจีนผู้นั้นว่าจะไปอย่างไร จีนผู้นั้นก็ตอบว่า “สามล้อครับ” แทนที่จะแสดงอาการไม่พอใจ กลับยิ้ม ท่านว่านั่งสามล้อเย็นสบายดี เห็นความเจริญของบ้านเมืองถนัดดี

             เมื่อไปถึงบ้านจีนผู้นั้น ต้องขึ้นไปเจริญพระพุทธมนต์ชั้นบน เนื่องจากบ้านเล็กและแคบ มีของเก่าวางขายเต็มไปหมด ตอนนั้นท่านอายุกว่า ๘๐ แล้ว บันไดก็ชันมาก ขึ้นลำบาก แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ขึ้นไปจนได้วันรุ่งขึ้นก็ต้องขึ้นไปเจริญพระพุทธมนต์อีก ครั้นถึงเวลาฉันต้องลงมาฉันอาหารในห้องครัวข้างล่าง โต๊ะไม่มีผ้าปู กับข้าวก็มีเพียง ๓ อย่าง คือ แกงเผ็ด แกงจืด และผัดหมี่ ของหวานก็มีผลไม้คือละมุดเพียงอย่างเดียว แถมยังค่อนข้างช้ำและเน่าเสียด้วย แต่ท่านฉันอย่างสบายๆ ไม่ได้มีความรังเกียจอะไรเลย

             ฉันเสร็จ เจ้าภาพก็ถวายปัจจัยแก่ท่านและพระลูกวัด องค์ละ ๓ บาท ใบชาห่อจิ๋วองค์ละ ๑ ห่อ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยิ้มอย่างสบายอีก ท่านพูดว่า คนจน เขาจน เขาอยากจะทำบุญ เขาตั้งใจทำบุญจริงๆ เขามีน้อย เขาทำน้อยดีแล้ว

             บางครั้งไปถึงบ้านผู้นิมนต์ บ้านนั้นยังไม่ได้จัดอาสนะสำหรับพระ เพิ่งจะเริ่มจัดเมื่อท่านไปถึง แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ไม่เคยดุหรือบ่น ยิ้มรอจนเขาจัดที่เสร็จ บางแห่งเจ้าของงานจัดที่ให้ท่านเป็นการพิเศษ เจ้าประคุณสมเด็จฯ บอกว่าอย่ายุ่งยากนักเลย ทำที่สบายๆ เถิด ท่านพูดเสมอว่า “เราแก่แล้ว ทำอะไรไม่สะดวก แต่อย่าทำให้เขาหนักใจ”

             ด้วยความเมตตาของท่าน จึงมีอาคันตุกะมาเยือนทุกวัน การเข้าพบท่านไม่ต้องมีใครพาเข้าพบเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะออกต้อนรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม เต็มด้วยไมตรีจิตกับคนทุกชั้นที่ไปพบ แม้แต่กรรมกรสามล้อผู้ยากจนกระทั่งขอทาน ท่านพูดเสมอว่าเขามีทุกข์เขาจึงมาพบ ถ้าท่านช่วยเหลือเขาได้ ก็จะสบายใจมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2283
 

ความจริงที่เปิดเผย โดยท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ

        ธรรมะบทนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับกรรมของสัตว์โลก คัดมาจากหนังสือประวัติของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ เขียนโดยพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

        กราบขออนุญาตและกราบขอบพระคุณ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ และพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านด้วยดวงใจ กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอน้อมถวายแด่ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ และพระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน และจงเป็นบุญเป็นปัจจัยแด่ท่านเจ้าของภาพ และท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานนี้ทุกๆ ท่าน

       เราทั้งหลายต่างเกิดมาด้วยวาสนา มีบุญพอเป็นมนุษย์ได้อย่างเต็มภูมิ ดังที่ทราบอยู่แก่ใจ อย่าลืมตัวลืมวาสนา โดยลืมสร้างคุณงามความดี ชาติของเราที่เคยเป็นมนุษย์อาจจะเปลี่ยนแปลงและกลับกลายหายไปเป็นชาติที่ต่ำทราม  ที่
ไม่ปรารถนา

      จะกลายมาเป็นตัวเราเข้า แล้วแก้ไม่ตก ความสูงศักดิ์ ความต่ำทราม ความสุขทุกขั้น จนถึงบรมสุข และความทุกข์จนเข้าขั้นมหันต์ ทุกข์เหล่านี้มีได้กับทุกคนตลอดสัตว์ ถ้าตนทำให้มี อย่าเข้าใจว่ามีได้เฉพาะผู้ที่กำลังเสวยอยู่เท่านั้นโดยผู้อื่นไม่มี
        เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติกลาง แต่กลับกลายมาเป็นสมบัติจำเพาะของผู้ทำเองได้ ท่านจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกัน
         เมื่อเห็นเขาตกทุกข์หรือกำลังจน เราอาจมีเวลาเป็นเช่นนั้น หรือยิ่งกว่านั้นก็ได้ เมื่อถึงวาระเข้าจริงๆ ไม่มีใครมีอำนาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะกรรมดี-กรรมชั่ว เรามีทางสร้างได้เช่นเดียวกับผู้อื่น
         จึงมีทางเป็นได้เช่นเดียวกับผู้อื่น และผู้อื่นก็มีทางเป็นได้อย่างที่เราเคยเป็น ศาสนาเป็นหลักวิชาตรวจดูตัวเองและผู้อื่นได้อย่างแม่นยำ

        
         ไม่มีวิชาใดในโลกเสมอเหมือน สิ่งดีชั่วที่มี และเกิดอยู่กับตนทุกระยะ มีใจเป็นตัวการพาให้สร้างกรรมประเภทต่างๆ จนเห็นได้ชัดว่า กรรมมีอยู่กับผู้ทำ มีใจเป็นเหตุของกรรมทั้งหมด

          กรรมเป็นของลึกลับและมีอำนาจมาก ไม่มีผู้ใดหนีกฎแห่งกรรมได้เลย ถ้าเราสามารถรู้เห็นกรรมดี-กรรมชั่ว ที่ตนและผู้อื่นทำขึ้นเหมือนเห็นวัตถุต่างๆ จะไม่กล้าทำบาปแต่จะกระตือรือร้นทำแต่ความดี ซึ่งเป็นของเย็นเหมือนน้ำ ความเดือดร้อนในโลกก็จะลดน้อยลง เพราะต่างก็รักษาตัวกลัวบาปอันตราย

         ท่านว่าดี-ชั่วมิได้เกิดขึ้นมาเอง แต่อาศัยทำบ่อยก็ชินไปเอง เมื่อชินแล้วก็กลายเป็นนิสัย ถ้าเป็นฝ่ายชั่วก็แก้ไขยาก คอยแต่จะไหลลงไปตามนิสัยที่เคยทำอยู่เสมอ ถ้าเป็นฝ่ายดีก็นับว่าคล่องแคล่วกว่าขึ้นเป็นลำดับ

        เราเกิดเป็นมนุษย์มีความสูงศักดิ์มาก อย่านำเรื่องสัตว์มาประพฤติมนุษย์เราจะต่ำกว่าสัตว์และเลวกว่าสัตว์อีกมากมายอย่าพากันทำ ให้พากันละบาปบำเพ็ญบุญทำแต่คุณความดี อย่าให้เสียชีวิตเปล่าที่มีวาสนาเกิดมาเป็นมนุษย์
        การทำความเข้าใจเรื่องของกรรม เป็นการศึกษาธรรมะ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะรับภาวะของตัวเราเอง ซึ่งจะต้องเป็นไปตามกรรมที่ได้ทำไว้ ตามพุทธภาษิตที่มีว่า กรรม   จำแนกสัตว์  ให้ทราม และประณีตต่างกัน
        กรรม คือการกระทำ ดี-ชั่ว ทางกาย-วาจา-ใจ ผลคือความสุข-ทุกข์  ที่ได้รับกันอยู่ทั่วไป กระทั่งสัตว์ผู้ไม่รู้จักกรรม รู้แต่กระทำคือหากินอยู่ ทางศาสนาเรียกว่า กรรมของสัตว์ ของบุคคลและผลกรรมของสัตว์ของบุคคล

        เราจึงควรมีเมตตาสงสารในสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เช่นเดียวกับเราไม่มีอะไรยิ่งหย่อนกว่ากัน

     ความยิ่งหย่อนแห่งวาสนาบารมีนั้นมีได้ทั้งคนและสัตว์
        สัตว์บางตัวมีวาสนาบารมี และอัธยาศัยดีกว่ามนุษย์บางคน แต่เขาตกอยู่ในภาวะเป็นสัตว์ก็จำต้องทนรับเสวยไป สัตว์เดรัจฉานก็ยังมีกรรมและเสวยกรรมไปตามวิบากของมัน

        มิให้ประมาทเขาว่าเป็นสัตว์ที่เกิดในกำเนิดต่ำ ความจริงเขาเพียงเสวยกรรมตามวาระที่เวียนมาถึงเท่านั้น

        เช่นเดียวกับมนุษย์ขณะที่ตกอยู่ในทุกข์จนข้นแค้น ก็จำต้องทนเอาจนกว่าจะสิ้นกรรม เมื่อมนุษย์เราเกิดเสวยชาติเป็นคน มีสุขบ้างทุกข์บ้าง ตามวาระของกรรมที่อำนวย

        มนุษย์ก็มีกรรมชนิดหนึ่งที่พามาให้เป็นอย่างนี้ ซึ่งล้วนผ่านกำเนิดต่างๆ มาจนนับไม่ถ้วน ให้ตระหนักในกรรมของสัตว์ว่ามีต่างๆ กัน


        เพราะฉะนั้นไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามในชาติกำเนิดความเป็นอยู่ของกันและกันและสอนให้รู้ว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมดี กรรมชั่ว เป็นของๆ ตน

        ทุกท่าน ๆ แน่ใจหรือไม่ว่า บุญที่กำลังให้ผลทำให้ท่านรวยและมีความสุข จะให้ผล ถึงเมื่อไหร่  และอีกนานแค่ไหน  วันนี้คุณทำบุญเพิ่มความดีให้ตัวเองบ้างหรือยัง ถ้ายังคุณกำลังประมาทอยู่ เพราะสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ท่านเคยสอนว่า บุญเท่านั้นที่ควรรีบทำ ไม่ว่าเวลาใด ถ้ายังไม่ถึงซึ่งพระนิพพาน คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สังสารวัฏ ดังนี้
  
       " บุญเท่านั้นที่ควรรีบทำไม่ว่าในเวลาไหน   คนที่ยังต้องเกิดแก่เจ็บตาย
       ต้องขวนขวายทำบุญ                              คนที่ไม่ประมาทเร่งทำบุญ "

       สำหรับท่าน ที่กำลังทุกข์ อยู่อย่าเสียใจและประมาท เร่งทำบุญตามกำลังความสามารถ เพราะเวลานี้เป็นแค่ช่วงเวลาผลกรรมชั่วที่ทำไว้แค่ผ่านมา หมดเวลาของกรรมชั่ว ผล กรรมดีที่เราทำไว้ก็ให้ผลตามวาระเอง อย่าสงสัย
       
       คนเรากรรมดีกรรมชั่วให้ผลตามวาระของเขา ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปไม่จบสิ้นจนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน คือเป็นพระอรหันต์เท่านั้น จึงสามารถพูดได้ว่าพระนิพพานเป็นสุขแท้จริงหาสุขใดเสมอมิได้ ดังนี้


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=13068&sid=50cf296f1a006a55ed82a677999b1d53
       บุญได้จาก บุญกิริยาวัตถุ 10 , กุศลกรรมบถ 10 ประการ ฯลฯ เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โยนิโสมนสิการ

                                                                      โยนิโสมนสิการ
               โยนิโสมนสิการ (การใช้ความคิดถูกวิธี คือ การกระทำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า สาวหาเหตุผลจนตลอดสายแยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธีให้เห็นสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย - reasoned attention: systematic attention; analytical thinking; critical reflection; thinking in terms of specific conditionality; thinking by way of causal relations or by way of problem-solving) และเป็น ฝ่ายปัญญา (a factor belonging to the category of insight or wisdom)
              “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น”

             “เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น”

            “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฏฐิที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เจริญยิ่งขึ้น เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

            “เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น แม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ถูกขจัดเสียได้ เหมือนโยนิโสมนสิการเลย”

            “โยนิโสมนสิการ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่, เพื่อความดำรงมั่นไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม” ฯลฯ

     
ธรรมข้ออื่น ที่ได้รับยกย่องคล้ายกับโยนิโสมนสิการนี้ ในบางแง่ ได้แก่
  • อัปปมาทะ     (ความไม่ประมาท - earnestness; diligence),
  • วิริยารัมภะ     (การปรารภความเพียร, ทำความเพียรมุ่งมั่น - instigation of energy; energetic effort),
  • อัปปิจฉตา     (ความมักน้อย, ไม่เห็นแก่ได้ - fewness of wishes; paucity of selfish desire),
  • สันตุฏฐี         (ความสันโดษ - contentment),
  • สัมปชัญญะ   (ความรู้ตัว, สำนึกตระหนักชัดด้วยปัญญา - awareness; full comprehension);
  • กุสลธัมมานุโยค (การหมั่นประกอบกุศลธรรม - pursuit of virtue);
  • ฉันทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งฉันทะ - possession of will),
  • อัตตสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งตนคือมีจิตใจซึ่งพัฒนาเต็มที่แล้ว - self-possession; self-realization),
  • ทิฏฐิสัมปทา  (ความถึงพร้อมแห่งทิฏฐิ - possession of right view),
  • อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งอัปปมาทะ - possession of earnestness)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=2

วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มิจฉาทิฐิ หนทางการดำเนินสู่อบายภูมิ (นรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน)


มิจฉาทิฐิ

         มิจฉาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด การเห็นกงจักรเป็นใบบัว พระพุทธองค์ทรงตรัส[1]ไว้ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
  • ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
  • การบูชาไม่มีผล
  • การบวงสรวงไม่มีผล
  • ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
  • โลกนี้ไม่มี
  • โลกอื่นไม่มี
  • มารดาไม่มีบุญคุณ
  • บิดาไม่มีบุญคุณ
  • สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี
  • สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทราบถึงโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย ไม่มี"
          ซึ่งจากการประพฤติผิดมิชอบนี้เอง จะส่งผลให้บุคคลนั้น ๆ ต้องไปเกิดยังนรกอเวจีเพื่อใช้กรรมที่ตนเองก่อไว้หลายร้อยชาติ

ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ

               ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี 2 อย่าง[2] ได้แก่
  • ปรโตโฆสะ           คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น
  • อโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ ปัญญา พิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ

อ้างอิงจาก

คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำและท่านขุนด่าน


                

              ลูกหลานทั้งหลาย วันนี้สาระน้อยไปหน่อยนะ เพราะมัวไปทะเลาะกับท่านนักปราชญ์เพลินไป มาพูดกันถึงอานุภาพท่านขุนด่านอีกหน่อย เพราะชักเหนื่อยแล้ว ท่านขุนด่านเป็นเทวดาของท่านท้าวเวสสุวัณ มีเครื่องทรงประจำสีแดง คือ นุ่งห่มสีแดง และโพกผ้าก็สีแดงเหมือนกัน ท่านที่ทรงเครื่องแดงนี้จัดเป็นเทวดามีอานุภาพมาก สมัยที่เขาวงพระจันทร์ยังมีสถานที่ยังไม่สมบูรณ์อย่างปัจจุบัน หลวงพ่อปานท่านกำลังสร้างมณฑปและบันไดขึ้นเขา 
               มีพระองค์หนึ่งเป็นลูกศิษย์นอกสำนักของหลวงพ่อปาน ชื่อ ท่านสำราญ ชาวบ้านเรียกว่าอาจารย์สำราญ ขณะนี้สำราญอยู่เมืองผีนานแล้ว เพราะท่านแก่กว่าฉันมาก สมัยฉันอายุ ๒๐ ปีเศษ ท่านมีอายุเกือบ ๔๐ ปีแล้ว ท่านอยู่ประจำที่เขาวงพระจันทร์ เป็นเขตอารักขาของท่านขุนด่าน หลวงพ่อปาน ท่านสั่งไว้เสมอว่า อย่าประกาศตัวเป็นศัตรูกับผี ควรทำตนเป็นมิตรกับผีจะได้อยู่เป็นสุข เพราะผีไม่ใช่คน ถ้าเป็นศัตรูกัน เวลาที่เขามาทำอันตรายไม่มีนิมิตปรากฏ 
               ท่านก็ไม่เชื่อ ปกติท่านสวดบทวิปัสสิทธิ์เสมอเพื่อไล่ผี คาถาบทนี้เป็นคาถาในบทภาณยักษ์และภาณพระ คำว่า ภาณยักษ์แปลว่ายักษ์พูด คำว่าภาณแปลว่าพูด เป็นคาถาที่ท่านท้าวมหาราชทั้งสี่ท่านประชุมกันร้อยกรองขึ้น เมื่อร้อยกรองเสร็จท่านก็ประชุมผีทั้งหมด ท่านสั่งว่าใครเขาสวดคาถาบทนี้อยู่ห้ามทำอันตราย ถ้าใครไม่ เชื่อจะลงโทษฐานกบฏ 
              มาตรานี้มีโทษรุนแรงมาก เมื่อประกาศแล้วท่านทั้งสี่ก็มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ท่านทั้งสามให้ท้าวเวสสุวัณเป็นคนพูดกับพระพุทธเจ้า ท่านจึงเรียกภาณยักษ์ ตอนที่ท้าวเวสสุวัณพูด แปลว่า ยักษ์พูด เมื่อท้าวเวสสุวัณกราบทูลถวายกับพระพุทธเจ้า ได้กราบทูลมีใจความว่า พวกยักษ์ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาคและบริวาร ส่วนอื่นของข้าพระพุทธเจ้าที่ไม่เลื่อมใสในพระองค์มีมาก ( ซึ่งพวกเหล่านี้คือ พวก มิจฉาทิฐิ)  ( ดูความหมายมิจฉาทิฐิ ด้านล่าง ) เมื่อบรรดาพระ เณร อุบาสก อุบาสิกา ไปทำสมณธรรมคือชำระอารมณ์ให้หมดจากกิเลส พวกนี้มักจะกลั่นแกล้งให้ตกใจกลัว เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์มาก

               คำว่าพรหมจรรย์ไม่ใช่คนบริสุทธิ์ ไม่เคยผ่านใครมาเลย นั่นยังไม่เรียกว่าพรหมจรรย์ ควรเรียกว่าคนยังไม่เคย ส่วน  พรหมจรรย์แปลว่าประพฤติประเสริฐ   คือ ไม่เป็นอันตรายแก่ใคร ได้แก่คนมีพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง พวกที่ไม่เคยผ่านการร่วมรัก อาจจะเคยลักขโมย ฆ่าสัตว์ โกหกมดเท็จ กินเหล้าเมาสุราบ้างก็ได้ เรียกว่า พรหมจรรย์จึงไม่ตรงเป้าหมาย ส่วนพรหมจรรย์แท้ท่านหมายเอามีความประพฤติอย่างประเสริฐ คือ มีอารมณ์เหมือนพรหม มีศีลบริสุทธิ์ มีเมตตาปรานี มีฌานเป็นอารมณ์ อย่างนี้เป็นพรหมจรรย์อันดับปฐม พรหมจรรย์อย่างมัธยมก็ต้องตัดกิเลสสิ้นไปเป็นพระอรหันต์ อย่างนี้เรียกว่าระดับมัธยม หรือเรียกดุษฎีบัณฑิต เป็นอันว่ารู้กันนะว่าพรหมจรรย์หมายความว่าอย่างไร เมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัทของพระองค์ไปเจริญสมณะธรรม ในป่าในรก ที่สงัด ถ้าเกรงว่าบรรดาผีอันธพาลทั้งหลายจะรบกวน ให้เขาสวดคาถาบทนี้ผีจะไม่ทำอันตราย เมื่อท่านอธิบายแล้วก็ถวายคาถา จึงเรียกว่าภาณยักษ์ เพราะเป็นตอนยักษ์พูด เมื่อพระพุทธเจ้าท่านรับไว้แล้วท่านมหาราชกลับแล้ว ท่านเรียกประชุมพุทธบริษัท ท่านก็ให้บริษัทเรียนและอธิบายตามนั้น ตอนนี้ในตำนานท่านกล่าวว่า พระพูด เรียกว่า ภาณพระ

              ท่านสำราญท่านถือคาถานี้เป็นสำคัญ ท่านไม่ได้ทำดีคือสมณะธรรม ท่านถือว่าท่านเก่ง พ่อสวดมนต์บทนี้ไล่ผีทุกวัน ผิดระเบียบพระที่ดี ไม่ทำดีแต่เอาอาวุธของคนดีมาใช้ก็เลยไม่มีผล พอเผลอท่านขุนด่านเลยจัดการเสียตามระเบียบ คือ เวลาประมาณ ๑๗ น. โดยประมาณ อาจจะไม่ตรงเผง ฉันและเพื่อนได้ยินเสียงท่านสำราญร้องโอย ๆ เสียงดังมาก ก็พากันวิ่งไปดู คิดว่าใครทำ อันตรายท่าน ไม่ได้คิดว่าผีทำ คิดว่าคน คือพวกของเจ้าลาวอันธพาล เมื่อวิ่งไปถึงปรากฏแก่ตาของพระทุกองค์ เห็นคนนุ่งแดงใส่เสื้อแดง ผ้าโพกหัวแดง ถือหวายขนาดใหญ่ กำลังหวดซ้ายป่ายขวาท่านสำราญ ๆ ลงไปนอนบิดไปบิดมาอย่างสำราญอยู่กับพื้น เจ้าสองลิงคือเจ้าลิงขาวกับลิงเล็กวิ่งเข้าไปร้องขอว่า ท่านขุนด่าน ขอทีเถอะ หยุดลงโทษเสียทีเท่านี้พอแล้ว แกหันมามองตาแดงก่ำ แดงเป็นสีตายักษ์ แกยิ้ม แต่ทว่ายิ้มของแกไม่น่ารักเลย มันน่ากลัวมากกว่า พระที่วิ่งไปด้วยเห็นยิ้มของแกเข้าหลบก้มหน้าลงดินเป็นแถว ที่ยืนปกติมีฉันกับเจ้า ๒ ลิง เมื่อแกเลิกยิ้มแกบอกว่า เจ้านี่อวดดีนัก เอาคาถาท่านมหาราชมาขับเทวดาขับผี เขาให้ไว้สำหรับคนดี ไม่ใช่ธุระของคนอันธพาลจะนำมาใช้ เลยจัดการเสียนิดหน่อย คราวต่อไปทำอย่างนี้อีกจะลงโทษให้หนักกว่านี้ แล้วแกก็ก้าวขึ้นขื่อหายไป พระทุกองค์ที่ไปเห็นและได้ยินเหมือนกัน นับแต่นั้นมา ท่านสำราญท่านเห็นว่าที่เขาวงพระจันทร์สำราญเกินไป ท่านทนความสำราญไม่ไหวเลยลาไปสำราญที่อื่น พวกฉันเห็นได้ท่าก็เลยหันมาสำทับพวกเดียวกัน บอกว่าที่นี่เจ้าที่ดุ ต่อไปจงระมัดระวังความประพฤติ ถ้าใครทำชั่วไม่มีใครช่วยใครได้ อาจจะต้องมีโทษมากกว่านี้ เรื่องวัวเขาอ่อนเป็นเหตุ ถ้ายุ่งมากอาจจะถึงตาย และความประพฤติส่วนอื่นก็เหมือนกัน จงระงับเสีย อย่าเอาชั่วมาใช้ เรามาทำบุญกัน อย่าเอาบาปกลับวัด เป็นเรื่องน่าประหลาด เมื่อฉันและเพื่อนเตือนพระเย็นวันนั้น พอเช้าก็มีพระทุกองค์มารายงานว่าเมื่อคืนนี้ทุกองค์เห็นท่านขุนด่าน ท่านมาคาดโทษว่าถ้าท่านใดทำเลวปล่อยใจอย่างฆราวาส ท่านจะจัดการยิ่งกว่าท่านสำราญ
 (ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเวบพลังจิตครับ)

             มิจฉาทิฐิ หรือ มิจฉาทิฏฐิ หมายถึง ความเห็นผิด การเห็นกงจักรเป็นใบบัว พระพุทธองค์ทรงตรัส[1]ไว้ว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์บางพวกมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า
  • ทานที่ให้แล้วไม่มีผล
  • การบูชาไม่มีผล
  • การบวงสรวงไม่มีผล
  • ผลของกรรมดีกรรมชั่วไม่มี
  • โลกนี้ไม่มี
  • โลกอื่นไม่มี
  • มารดาไม่มีบุญคุณ
  • บิดาไม่มีบุญคุณ
  • สัตว์ที่เป็นโอปปาติกะไม่มี
  • สมณพราหมณ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทราบถึงโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง และสามารถทำให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย ไม่มี"
ซึ่งจากการประพฤติผิดมิชอบนี้เอง จะส่งผลให้บุคคลนั้น ๆ ต้องไปเกิดยังนรกอเวจีเพื่อใช้กรรมที่ตนเองก่อไว้หลายร้อยชาติ

ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ 

ปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ มี 2 อย่าง[2] ได้แก่
  • ปรโตโฆสะ คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น เสียงจากผู้อื่น ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น
  • อโยนิโสมนสิการ คือ การทำในใจโดยไม่แยบคาย การไม่ใช้ปัญญาพิจารณา ความไม่รู้จักคิด การปล่อยให้อวิชาครอบงำ ตรงกันข้ามกับคำว่า โยนิโสมนสิการ
 (ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากเวบจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีครับ) http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%90%E0%B8%B4