วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โอวาทปาติโมกข์

                      


                  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเทศน์ โอวาทปาติโมกข์  ในที่ ประชุมสงฆ์ ซึ่งเป็นมหาสังฆนิบาต คือ ประชุมสงฆ์หมู่ใหญ่ ใจความของโอวาทปาติโมกข์นั้น ก็คือ   แสดงหัวข้อคำสอนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๓ ประการคือ                  
    1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ       การไม่ทำความชั่วทุกชนิด ๑
    2. กุสลสฺสูปสมฺปทา           การทำแต่ความดี ๑
    3. สจิตฺตปริโยทปนํ            การทำใจให้ผ่องแผ้ว ๑
ใจความแห่งพระปาติโมกข์นั้น มีดังนี้
  ในพระคาถาที่ ๑ พระองค์ทรงแสดงถึงคุณธรรมคือ  ขันติ ความอดทนอดกลั้น ว่าเป็นเครื่องอุดหนุนให้บุคคลบรรลุบรมธรรมคือพระนิพพาน พร้อมทั้งทรงแสดงลักษณะของบุคคลผู้เป็นบรรพชิตหรือสมณะไว้ว่า บุคคลผู้ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นให้ลำบาก ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตหรือสมณะ ดังนั้น ความอดทน-ความไม่เบียดเบียน-ความสงบ และพระนิพพาน จัดเป็นอุดมการณ์ของผู้ปวารณาตนเป็นพุทธมามกะทีเดียว
  ในพระคาถาที่ ๒ พระองค์ทรงแสดงถึงหลักคำสอนที่สำคัญซึ่งเป็น หัวใจของพระพุทธศาสนา เพื่อให้พระสาวกได้นำไปใช้เป็นหลักในการเผยแพร่และสั่งสอนไว้ ๓ ประการคือ
    1. เว้นจากทุจริต คือการประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ( ไม่ทำชั่ว  ) 
    2. ประกอบสุจริต คือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ( ทำแต่ความดี ) 
    3. ทำจิตใจของตนให้หมดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง มีโลภ โกรธ หลง ( ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว )
   ในพระคาถาที่ กับอีกครึ่งพระคาถา พระองค์ทรงแสดงถึงปฏิปทา ข้อสำหรับปฏิบัติตนของพระสงฆ์สาวก ประการ คือ
                     ๑.    ห้ามมิให้ว่าร้ายผู้อื่น
                     ๒.    ห้ามมิให้เบียดเบียนผู้อื่น                   

                     ๓.    ต้องสำรวมในพระปาติโมกข์ คือไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทบัญญัติ                  
                     ๔.    ต้องรู้จักประมาณในการแสวงหาและในการบริโภคใช้สอย                   
                     ๕.    ควรอยู่ในสถานที่อันสงบเงียบ 
                     ๖.   ประกอบความเพียรในอธิจิต
           การชำระจิตให้ปราศจากนิวรณธรรมูปกิเลส  มีกามฉันท์เป็นต้น เพื่อให้เกิดมีสมาธิและปัญญา รู้เท่าทันความเป็นจริง ของสิ่งทั้งหลายทั้งปวงในที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น