วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะแห่งการหนีบาป


ตอนที่ ๒ ลักษณะแห่งการหนีบาป

     ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนนี้เป็นตอนที่ ๒ ก็มาพูดถึงลักษณะแห่งการหนีบาปกันต่อไป แต่ขอย้ำไว้ก่อนว่าการที่จะหนีอบายภูมิทั้ง ๔ คือการไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ต่อไปนั้น ต้องกำจัดสังโยชน์ คือ
     อารมณ์ชั่ว ๓ ประการ ขอย้ำไว้ตอนนี้ก่อนตอนต้นจะได้ไม่เฝือ
     ๑. ที่มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่ตายตัดทิ้งไป ให้มีความรู้สึกว่ามันจะต้องตายแน่และไม่ประมาทในชีวิต คิดทำความดีต่อไป
     ๒. วิจิกิจฉา ความสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์หันมากลับมาปฏิบัติในศีลให้แน่นอนและจริงจัง ฆราวาสเพียงแค่ศีลห้า หรือว่ากรรมบถ ๑๐ ใช้ได้แล้ว สำหรับภิกษุสามเณรก็มีศีลของท่าน ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ทุกคน ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมีความมั่นใจได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ก็ตามที เราไม่ลงอบายภูมิกันแน่
     ๓. สีลัพพตปรามาส มีการปฏิบัติในศีลไม่แน่นอน ไม่จริงจัง อันนี้ต้องตัดทิ้งไปหันมาปฏิบัติในศีลให้แน่นอนและจริงจัง ฆราวาสเพียงแค่ศีลห้า หรือว่ากรรมบถ ๑๐ ใช้ได้แล้ว สำหรับภิกษุสามเณรก็มีศีลของท่าน ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ทุกคน ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมีความมั่นใจได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ก็ตามที เราไม่ลงอบายภูมิกันแน่
     ที่หันมาพูดอย่างนี้ก็ย้ำไว้แต่ตนต้น เพราะว่าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนจะงง เพราะในตอนต่อไปนี้พูดเรื่องตายจำให้ได้ว่า ชาตินี้ทั้งชาติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ประมาทเรื่องความตายของชีวิต และคนที่เกิดทีหลังเราเด็กเล็กตายก่อนเราไปเยอะแยะ เราต้องตายแน่ พยายามรวบรัดความดีเข้าไว้ บาปเก่า ๆ ที่ทำไว้แล้วช่างมัน มันจะไปไหนก็ช่างมันตามเราไม่ทันด้วยอาศัยเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรม เคารพพระอริยสงฆ์ และปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ อย่าลืมว่าฆราวาสศีลห้า อาจจะหยาบไปนิดหนึ่ง แต่ก็พ้นอบายภูมิแล้ว ถ้าทางที่ดีได้กรรมบถ ๑๐ จะดีมาก เรื่องนี้รายละเอียดเป็นอย่างไรอ่านต่อไปข้างหน้า
     สำหรับตอนนี้ก็มาขอต่อตอนต้นที่ผ่านมาก็คือ ตอนที่ ๑ ว่าในเมื่อเรานึกถึงความตายแล้วเราก็เข้ามาไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ในความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และความดีของพระอริยสงฆ์ ตอนนี้ก็มาว่าถึงความดีของพระพุทธเจ้าก่อน
     พระพุทธเจ้ามีความดีเหลือหลาย อาตมาเองก็ไม่สามารถจะพรรณนาความดีของพระพุทธเจ้าให้ครบถ้วนได้ แต่ขืนพรรณนาไปมาก บรรดาท่านพุทธบริษัทก็จะเบื่อเอกันตอนต้นน้อย ๆ ก็แล้วกัน เพียงแค่เรายอมรับนับถือความจริงของท่าน ที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก พระองค์ไม่ได้หวังประโยชน์ความสุขส่วนตัวเลย คือว่าไม่หวังเฉพาะความสุขส่วนตัว ต้องการแจกจ่ายความสุขให้แก่บุคคลทั้งโลกตามที่พระองค์จะพึงทำได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยความเชื่อความเลื่อมใสในพระองค์ ถ้าขาดความเลื่อมใสพระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้เหมือนกัน เพราะคนที่ไม่เชื่อกันแล้วนี้พูดเท่าไรก็ไม่ยอมรับฟัง ฟังแล้วไม่ยอมเชื่อและก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม อย่างนี้ก็ไม่มีทางจะช่วยได้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา" ตถาคตาเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น บอกแล้วจะทำตามหรือไม่ทำตามเป็นหน้าที่ของท่าน ถ้าทุกคนทำตามได้ บุคคลผู้นั้นก็พ้นจากอบายภูมิได้ เอาแต่เบื้องต้นนะ ถ้าสามารถปฏิบัติตามได้พ้นได้แน่ นี่เราจะปฏิบัติตามท่าน จะเอาอย่างไรในตอนนี้เรายังไม่พูดถึงศีลก่อน เอาแต่ความดีของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีกฎแห่งการสอนอยู่ว่า
     ๑. สัพพปาปัสสะ อะกะระณัง ให้บรรดาพระสงฆ์และพระองค์เองก็เช่นเดียวกัน พยายามสอนให้ทุกคนละจากความชั่วทุกประเภท คือไม่ทำความชั่วทุกประเภท ไม่ทำ ไม่พูด และก็ไม่คิดซะด้วย     ๒. กุสลัสสูปสัมปทา แนะนำให้ทำความดีทุกประการ     ๓. สจิตตะปริโยทะปะนัง แนะนำสั่งสอนให้มีจิตใจผ่องใส คือไม่มีอารมณ์มัวหมอง มีอารมณ์สดชื่นอยู่เสมอ     ๔. เอตัง พุทธานะสาสะนัง ท่านยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด




 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/08/Y6892194/Y6892194.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น