วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว


ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ ( กรรม คือการกระทำ )
            หมายความว่า กรรมดีหรือกรรมชั่วเรา เราเป็นผู้เลือกกระทำได้ด้วยตัวเราเอง ว่าจะทำสิ่งใด จะทำดีหรือจะทำชั่ว

สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว ( ผลที่ได้รับ ของการกระทำ ที่ทำไป )
            หมายความว่า  เราจะมีความสุขความเจริญ ทั้งทางโลกและทางธรรม หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับ ผลการกระทำความดี(กรรมดี) หรือ ความชั่ว(กรรมชั่ว) ที่เราได้กระทำไปแล้วทั้งสิ้น

วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หลวงปู่ธีร์ วัดจันทราวาส ได้ละสังขารแล้ว


หลวงปู่ธีร์ ได้ละสังขารแล้ว ขอเชิญญาติโยม ศิษย์หลวงปู่ร่วมงานโดยพร้อมเพรียงกัน  โทรสอบถามที่วัดเบอร์ 044661415

วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บุญจากการถวายพระไตรปิฎก



            ดังมีใจความว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ณ
กรุงสาวัตถี ในเวลานั้นพระสารีบุตรเถระเจ้ามีความประสงค์ว่าจักทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดง
ธรรมประกาศอานิสงส์สร้างพระไตรปิฎก ให้ทราบทั่วถึงกันแก่พุทธบริษัทพระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าทูลถาม
แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายให้พุทธศาสนายืนยาวถึง ๕ พันวัสสา จะ
มีอานิสงส์เป็นประการใด พระพุทธเจ้าข้า

           พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ดูกรท่านสารีบุตร ถ้าชนทั้งหลายมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสเช่นนั้นแล้ว
เมื่อตายไปแล้วก็จักรได้เสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชถึง ๘ หมื่น ๔ พันกัลป์
ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว ก็จะได้เป็นพระราชา
มีอนุภาพอีก ๙ อสงไขย ต่อจากนั้นก็ได้เสวยสมบัติในตระกูลต่าง ๆ เป็นลำดับไป คือตระกูลพราหมณ์
มหาศาล ตระกูลเศรษฐีคฤหบดี และเป็นภูมิเทวดาอากาศเทวดา อย่างละ ๙ อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้
เสวยในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เป็นลำดับไปชั้นละ ๘ อสงไขย เมื่อจุติจากชั้นเทวโลกแล้ว มาถือกำเนิดเกิด
เป็นมนุษย์ ก็จะมีร่างกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นที่รักใคร่แก่คนทั้งหลายที่ได้พบเห็นทั้งน้ำใจก็บริสุทธิ์
สุจริตปราศจากบาปธรรมอกุศลทั้งปวง และเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม
ดังนี้เป็นต้น ดูกรท่านสารีบุตรเมื่อตถาคตสร้างบารมีอยู่ได้เกิดเป็นอำมาตย์ของพุทธบิดา แห่งสมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปุราณโคดม ได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ให้สืบองค์ได้ตั้งความปรารถนา
ขอตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิดในอนาคตกาลโน้น สมเด็จพระปุราณโคดมบรม
ศาสดาทรงพยากรณ์ไว้ว่า อำมาตย์ผู้นี้ต่อไปภายภาคหน้า จะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์
หนึ่งมีพระนามว่า พระสมณโคดมก็คือพระตถาคต เรานี้เองดังนี้แลก็สิ้นสุดพระกระแสธรรมเทศนา ที่
พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าแต่เพียงเท่านี้


ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.thammasil.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html

ถวายพระไตรปิฎกกับเชิงเทียน และ ทิพจุกขุญาณกับปัญญาเลิศ


คัดมาจากหนังสือธัมมวิโมกข์ ฉบับพิเศษ โดยพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี


วันหนึ่งท่าน พระสารีบุตร เวลานั้นชื่อ อุปติสสะ อาศัยที่ถวายพระไตรปิฎกไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เป็น ผู้มีปัญญาเลิศ ทีนี้ความเป็นผู้มีปัญญาเลิศของพระสารีบุตร เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว เราอาจจะคิดว่า เป็นของมหัศจรรย์ เราพบว่า แก้วนี่ถ้าปราศจากละอองธุลี เข้ามาเบียดบังทำให้แปดเปื้อนมันก็ใส จิตของพระอรหันต์ก็ใส ประกอบไปด้วยประกาย คือหาอะไรเปื้อนไม่ได้ จึงเป็นผู้ทรงปัญญาเลิศ ตอนนี้เราก็ว่าอัศจรรย์แล้วแต่คิดไปอีกทีไม่น่าอัศจรรย์ เพราะเป็นพระอรหันต์

นี่เราหลบกลับลงมา อีกครั้งหนึ่งตอนที่ พระโมคคัลลาน์ กับ พระสารีบุตร ยังเป็นลูกชาวบ้านอยู่เรา จะเห็นปัญญา พระสารีบุตร ที่ท่านทั้งสอง ไปดูมหรสพ แล้วเกิดอารมณ์เศร้าใจ วันอื่นนั้น สบายใจ ดีใจร่าเริง ให้รางวัล แก่ผู้แสดงมหรสพ แต่วันนั้น ทั้งสององค์ ต่างนั่งหน้าเศร้า หน้าสลด ไม่ร่าเริง ทั้งนี้เพราะดูๆ มหรสพก็นั่งคิดไปว่า

"เฮ้อ คนดูมหรสพนี่ไม่ช้าก็ตายหมดพวกแสดงนี่ไม่ช้าก็ตายหมด แถมเราเองก็ต้องตายเสียด้วยถ้าอย่างนั้น เราเกิดมาเพื่อ ตายอยู่ทำไมกัน เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด"

ท่านก็มาใคร่ครวญว่า "ธรรมที่ทำให้คนที่เกิดมาแล้วตายได้มันมี ก็ต้องมีอะไรสักอย่าง ที่เป็นธรรม ที่ทำให้คนเกิดไม่ตาย ได้"

หมายความว่า เมื่อมีมืดแล้ว ก็มีสว่างคู่กัน หรือ ทางพ้นแห่งความตาย ที่เราเรียกว่า โมกขธรรม

ท่านทั้งสองตกลงใจกันว่า เราเปิดเถอะไปหา โมกขธรรม ธรรมที่เป็นเครื่องพ้น แห่งความตายดีกว่า จึงลาพ่อลาแม่ มีบริวารคนละ 250 เพราะ เป็นลูกมหาเศรษฐี ออกจากสำนักพ่อแม่ไป บริวารของทั้งสองท่าน รวมกันเป็น 500 หัวหน้าอีกสอง คือ ตัวท่านเอง เป็น 502 ท่าน เข้าไปอยู่ในสำนักสัญชัยปริพาชก ท่านสัญชัยปริพาชก ก็สอนสุดกำลัง ท่านทั้งสอง ก็เรียนเต็มที่ เพราะความมีปัญญาด้วยกันทั้งคู่ ปรากฏว่า ไม่ช้าท่านก็เรียนจบ แล้วก็มีความฉลาดเก่งกาจมาก

ท่านสัญชัยปริพาชก ก็ให้เป็นอาจารย์สอนแทน แต่ว่าท่านทั้งสองนี่อาศัยที่มีบุญญาบารมีเต็มแล้ว ควรที่จะเป็นพระอรหันต์ จึงมาคำนึงพิจารณาว่า ความรู้ที่ได้จากสำนักนี้ ยังไม่จบ ยังไม่พ้นจากความตาย ธรรมที่ดีกว่านี้ต้องมีอีก

นี่เพราะดวงปัญญาของท่านเดิม ที่เคยถวายพระไตรปิฎกแก่พระ

ท่านทั้งสองจึงตกลงกันว่า "นี่เราช่วยกันแสวงหาโมกขธรรม ถ้าใครเจอะอาจารย์ ดีกว่านี้ ก็มาบอกกัน หรือใครไปพบธรรมในการค้นคว้าดีกว่านี้ละก้อ กลับมาบอกกัน"

ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้า บรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณ เวลานั้น ก็มีลูกศิษย์ปัจจวัคคีย์อยู่ 5 องค์ เป็นพระบริวาร เมื่อท่าน 5 ท่านบรรลุอรหันต์แล้ว พระพุทธเจ้า ทรงสั่งให้ไปประกาศ พระศาสนา แต่มีเงื่อนไขว่า ไปแล้วอย่ารวมกัน ให้แยกกันไปคนละที่

บังเอิญ พระอัสสชิ มาสายนั้นพอดี ท่านก็บิณฑบาต อยู่ใกล้ ๆ แถวนั้น ต่อมาวันหนึ่ง พระสารีบุตร เวลานั้น ชื่อว่า อุปติสสะ ท่านออกไปจากสำนัก ก็พอดีเห็นพระอัสสชิเดินออกบิณฑบาตผ่านไป เห็นลีลาของท่าน ไม่ว่าจะเป็นลีลาการเยื้องกาย ก้าวเท้าซ้าย แกว่งเท้าขวา อิริยาบถใด ดูแล้วงามจริง ๆ เป็นจริยานิ่มนวล ท่านจึงคิดในใจว่า

"พระสมณะองค์นี้น่าเลื่อมใส เราอยากจะรู้จักนักว่าเป็นลูกศิษย์ใคร สำนักของเรานี่มีลูกศิษย์เป็นพันเป็นหมื่น แต่จริยานิ่มนวลในการสำรวมในการเดิน การทอดจักษุแบบนี้ไม่มีหากว่า เราจะถามเวลานี้ในขณะที่ท่านบิณฑบาต ก็ไม่ควร"

นี่ดูความเป็นผู้มีปัญญาของพระสารีบุตรท่านก็นึกต่อไป

"มันเป็นเวลาที่ไม่ควร เราควรจะถามในเวลาที่ท่านกลับ"

เห็นท่านเดินไป พระสารีบุตรนั่ง ตอนนั้น ท่านยังเป็นปริพาชก ยังไม่เป็นพระสารีบุตร ชื่อเดิมว่า อุปติสสะ ที่เขาเรียก สารีบุตร ก็เพราะว่า เดิมแม่ชื่อ สารี เวลาพระอัสสชิกลับมา ท่านก็ย่องเข้าไปยกมือไหว้แล้วก็ถาม

"พระคุณเจ้าเป็นลูกศิษย์ของใคร อยู่สำนักของใคร ชอบใจธรรมะของท่าน ครูของท่านสอนว่าอย่างไร"

พระอัสสชิท่านเป็นอรหันต์รุ่นแรกซะด้วย นี่เขาว่าขลังนะ แต่ความจริง พระอัสสชินี่ เป็นพระอรหันต์ สุกขวิปัสสโก เราจะจับกันได้ ก็ตอนพระอัสสชินิพพาน ตอนนั้น เป็นโรคกระเพาะ ครางอ๋อย บ่นบอกให้พระไป ตามพระพุทธเจ้ามา เพราะโรคมัน เบียดเบียนมาก ท่านก็ยืนมอง พระสารีบุตร ปั๊บเดียวก็รู้ว่าเป็น พระอรหันต์ เพราะอรหันต์นี่จิตสะอาดมาก ท่านก็นึก

"ปริพาชกคนนี้ฉลาดมาก หากเราขืนพูดมากเดี๋ยวถูกต้อนจนมุม"

ท่านก็เลยบอก "ปริพาชก เราเป็นผู้ใหม่ในพระพุทธศาสนา เราเป็นลูกศิษย์ ของพระสมณโคดม ท่านถามปัญหาของท่าน เราตอบแบพิสดารไม่ไหว เพราะเรายังใหม่อยู่ มีความรู้ไม่มาก "

แต่ความจริงพระอรหันต์น ี่ไปไล่ท่านไม่จนหรอก ตอนนั้นพระสารีบุตรยังไม่เป็นพระอรหันต์นี่ ไล่อย่างไรก็ไม่จน เพราะพระอรหันต์นี่ ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ ไม่ต้องอาศัยหนังสือ เดี๋ยวนี้ปัญญาจะเกิดได้ ต้องอาศัยหนังสือก่อน พระสารีบุตรได้ยิน เช่นนั้นก็เลยบอกว่า "ท่านจะพูดเรื่องพิสดารทำไมเอาแค่หัวข้อย่อๆ ก็พอแล้ว"

พระอัสสชิจึงกล่าวว่า "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระพุทธเจ้าตรัสเหตุของธรรมนั้น"

เพียงเท่านี้พระสารีบุตรก็เข้าใจทันที แล้วก็สำเร็จพระโสดาบัน

นี่เราจะเห็นว่า ปัญญาของท่าน แม้แต่ยังไม่เป็นอรหันต์ เพียงธรรมโดยย่อ ก็เข้าใจทันที และก็สำเร็จพระโสดาบันปัตติผล ต่อมากลับมาพบพระโมคคัลลาน์ก็บอกว่า

"เวลานี้พบโมกขธรรมแล้ว เจออาจารย์ใหม่ด้วย"

พระโมคคัลลาน์ก็ถาม "ธรรมนั้นได้มาอย่างไร"

พระสารีบุตรก็บอกตามนั้น พระโมคคัลลาน์ ก็ได้พระโสดาปัตติผลเหมือนกัน นี่เราจะเห็นว่า ปัจจัยที่ได้ ถวายพระไตรปิฎก ไว้ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่าจะเป็นผู้มีปัญญา ประเสริฐกว่าบุคคลอื่น เหมือนกันแต่ทว่าไป โดนคนที่เขาถวาย พระไตรปิฎกเหมือนกัน ก็เห็นจะไม่เหลื่อมล้ำกว่ากันแน่ เคยไปเทศน์ชนกัน เทศน์บางที เรื่องคืบเดียว 3 วันยังไม่จบ เพราะ มีข้อไล่ กันไป ไล่กันมาไม่จบอย่างนี้ ก็พิสูจน์ได้ว่า พวกนี้เขาฝึกฝนปัญญามาด้วยการถวายพระไตรปิฎกในพระศาสนา

นี่เป็นอันว่า การที่ญาติโยมเอาพระไตรปิฎก กับเชิงเทียนมาถวายวัด เชิงเทียนนี่ก็เป็น ประทีปโคมไฟ พระไตรปิฎกก็เป็น ตัวปัญญา ฉะนั้นอานิสงส์ที่จะพึงได้ก็คือ

1.ทิพจุกขุญาณ

2. ปัญญาเลิศ

สำหรับท่านที่เป็นผู้ร่วมรายการด้วยการโมทนาก็เป็น ปัตตานุโมทนามัย เราเป็นคนมีปัญญาไม่ถึงหัวแถวอยู่กลางๆแถว หรือท้าย ๆ แถวก็ได้ พวกที่จะได้ทิพจักขุญาณ ก็เหมือนกัน บุญใดที่เขาทำแล้วเรา ยินดีด้วย เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย ดูตัวอย่าง พระนางพิมพา ไม่เคยทำบุญเองเลย พระพุทธเจ้าทำคนเดียว แต่พระนางพิมพาโมทนาตลอดกาล เวลาพระพุทธเจ้าเป็นอรหันต์ พระนางก็เป็นอรหันต์ได้ เพราะปัตตานุโมทนาอันนี้เอง


รู้ทันกรรม และทำอย่างไร ที่กล่าวว่าไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต




"กรรม" เทศนาธรรมจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ 

       คนส่วนมากยังมีความเชื่อว่ามีผู้ดลบันดาล เช่น ดลบันดาลให้เกิดภัย ดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ เป็นต้น แต่ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงว่า คนมีกรรมเป็นของตน จะมีสุขหรือทุกเพราะกรรม ก็เปลี่ยนให้คนมากลัวกรรมกันอีก เช่นเดียวกับที่เคยกลัวผู้ดลบันดาล เมื่อคิดถึงก็คิดเห็นไปคล้ายกับเป็นตัวทุกข์มืด ๆ อะไรอย่างหนึ่งที่น่าสะพึงกลัว ผู้เงือดเงื้อจะลงโทษ กรรมจึงคล้ายผู้เคราะห์ร้ายที่ถูกเข้าใจในทางร้ายอยู่เสมอ เมื่อได้ดีมีสุขก็กลับกล่าวว่าเป็นบุญบารมี กรรมจึงไม่มาเกี่ยวในทางดีตามความเข้าใจของคนทั่วไป

      นอกจากนี้ คนจะทำอะไรในปัจจุบันก็ไม่ได้นึกถึงกรรม เพราะเห็นว่ากรรม ไม่เกี่ยว กรรมจึงกลายเป็นอดีตที่น่ากลัว ที่คอยจะให้ทุกข์เมื่อไรก็ไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถจะป้องกันได้เท่านั้น ดูก็เป็นเคราะห์กรรมของกรรมยิ่งนักที่ถูกคนเข้าใจไปเช่นนี้ อันที่จริงพระพุทธศาสนาได้สอนให้คนเข้าใจในกรรมเช่นนี้ไม่ ไม่ได้สอนให้คนกลัวกรรม เป็นทาสของกรรม หรืออยู่ใต้อำนาจกรรม แต่สอนให้รู้จักกรรม ให้มีอำนาจเหนือกรรม ให้ควบคุมกรรมของตนในปัจจุบัน

       “ กรรมคือ กาลอะไรทุกอย่างที่คนทำอยู่ทุกเวลา ประกอบด้วยเจตนา คือ ความจงใจ ทุกคนจะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ย่อมมีเจตนาคือ ความจงใจนำอยู่ก่อนเสมอ และในวันหนึ่งก็ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องพูดอย่างนั้นอย่างนี้ ไปตามที่ตนเองจงใจจะพูด จะทำ จะคิด นี่แหละคือกรรม วันหนึ่ง ๆ จึงทำกรรมมากมายหลายอย่าง หลีกกรรมไม่พ้น พระพุทธศาสนาสอนเรื่องกรรม

         หลักใหญ่ก็มุ่งให้พิจารณาให้รู้จักปัจจุบันกรรมของตนนี้แหละว่า อะไรดีอะไรชั่ว อะไรควรไม่ควร เพื่อที่จะได้เว้นกรรมที่ชั่วที่ไม่ควร เพื่อที่จะทำกรรมที่ดีที่ควร และพระพุทธเจ้ายังได้ตรัสไว้ว่า บุคคลสามารถจะละกรรมที่ชั่ว  และกลับมาทำกรรมที่ดีได้จึงได้ตรัสสอนไว้ให้ละกรรมที่ชั่ว ทำกรรมที่ดี ถ้าไม่เช่นนั้นก็ไม่ตรัสสอนไว้ และการละกรรมชั่วทำกรรมดีถ้าให้เกิดโทษทุกข์ ก็จะไม่ตรัสไว้อย่างนี้ แต่เพราะให้เกิดประโยชน์สุข จึงตรัสสอนไว้อย่างนี้ พระพุทธโอวาทนี้แสดงว่า คนมีอำนาจเหนือกรรม อาจควบคุมกรรม ( กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ) ของตนได้  ( จะทำกรรมดีหรือกรรมชั่วอยู่ที่ตัวเลือกทำ   ให้ผลดี ( สูง ) ให้ผลเสีย ( ต่ำ ) อยู่ที่การกระทำของตัวนั่นเอง  ) แต่ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่าต้องควบคุมจิตเจตนาของตนได้ด้วย โดยตั้งมั่นแน่วแน่อยู่ในธรรม เช่น แน่วแน่ใน หิริ โอตตัปปะ พรหมวิหารสี่ เมตตา สติ ( รู้คิด )   สัมปชัญญะ ( รู้ตัว ) ปัญญา สัจจาธิษฐาน เป็นต้น อันเป็นส่วนของจิต ( สัมมาทิฐิ  ตั้งใจชอบ รวมถึงสัมมาสังกัปปะ ความคิดชอบ คิดแต่สิ่งเป็นกุศล ) และศีล อันหมายถึง ตั้งเจตนาเว้นการ ที่ควรเว้น ทำการที่ควรกระทำใน ขอบเขต อันควร

          ที่ว่า คนมีอำนาจเหนือกรรมปัจจุบัน ด้วยการควบคุมจิตเจตนาให้เว้นหรือทำกรรมอะไรก็ได้นั้น ถ้าพูดเพียงเท่านี้ก็ดูไม่มีปัญหา แต่ถ้าพูดถึงกรรมอดีตที่จะส่งผลให้ในปัจจุบัน ก็เกิดปัญหาขึ้นอีกสำหรับผู้ที่เชื่อในอดีตชาติว่า กรรมที่ทำให้ในอดีตชาติจะส่งผลให้ในชาตินี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จึงกลัวอำนาจของกรรมอดีต เหมือนอย่างกลัวอำนาจมืดที่จะมาทำร้ายเอาแน่ ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาแสดงไว้อย่างไรสมควรจะพิจารณา

          ประการแรก พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลเป็นทายาทรับผลกรรมที่ตนได้ทำไว้แล้ว ข้อนี้เป็นกฎธรรมดาข้อมาติกา คือแม่บท ไม่มีผิดเหมือนอย่างที่คำโบรารณว่า กำปั้นทุบดินแต่ยังมีกฎประกอบอีกหลายข้อเหมือนอย่างดินที่ทุบนั้น ยังมีปัญหาต่อไปอีกหลายข้อว่า ดินที่ตรงไหน เป็นต้น เมื่อกล่าวว่าดินแล้วก็คลุมไปทั้งโลก คำว่ากรรมก็ฉันนั้นคลุมไปทั้งหมดเพราะคนทุกคนทำกรรมต่าง ๆ ซับซ้อนกันมากมายเหลือเกิน กรรมอันไหนจะให้ผลเมื่อไร จึงมีกฎแบ่งกรรมออกไปอีก สรุปลงว่า กรรมหนักหรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ให้ผลก่อน กรรมที่เบากว่า หรือที่ทำไม่บ่อยนัก คนเรานั้นทำมาทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว จึงมีสุขบ้างทุกบ้างสลับกันไป ผู้ที่มีสุขมากก็เพราะกรรมหนัก หรือกรรมที่ทำบ่อย ๆ ฝ่ายดีกำลังให้ผล ผู้ที่มีทุกข์มากก็ตรงกันข้าม
        ( ดังนั้นถ้ากลัวกรรมชั่วในอดีตให้ผล ควรรีบทำกรรมดีกรรมที่เป็นกุศลให้บ่อยๆ เช่น ไหว้พระ สวดมนต์ทุกเช้า เย็น หรือสร้างบุญกุศลโดย ให้ทาน แก่ส่วนรวม แก่พระพุทธศาสนา และที่สำคัญ อย่าสร้างกรรมชั่วเพิ่มขึ้นอีก ให้พยายามละชั่วทุกประการ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ เช่น ยึดหลัก กุศลกรรมบถ 10 ประการ รักษาศีลให้บริสุทธิ์   หากใครอยากพ้นทุกข์ต้อง อารธณา มรรค 8 ประการ ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเมตตาสั่งสอนทางพ้นทุกข์ให้แล้ว )  

        และในปัจจุบันนี้ใครก็ตามมีความไม่ประมาท ประกอบกรรมที่ดี  อย่างหนักหรือบ่อย ๆ กรรมดังกล่าวนี้จะสนองผลให้ก่อน กรรมชั่วในอดีตหากได้ทำไว้ ถ้าเบากว่าก็ไม่มีโอกาสให้ผล ฉะนั้น ผู้ที่ทำกรรมดีมากอยู่เสมอ ๆ จึงไม่ต้องกลัวกรรมชั่วในอดีต หากจะมีกุศลของตัวจะชูช่วยให้มีความสุขความเจริญสืบไป และถ้าแผ่เมตตาจิตอยู่เนือง ๆ ก็จะระงับคู่เวรในอดีตได้อีกด้วย ระงับได้ตลอดถึงปัจจุบัน ทั้งเมื่อได้ดำเนินในมรรคมีองค์ 8 ของพระพุทธเจ้าเพื่อความสิ้นทุกข์ ก็จะดำเนินเข้าสู่ทางที่พ้นจากกรรมเวรทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ตัณหาเป็นกรรม สมุทัยคือ เหตุให้เกิดกรรม มรรคเป็นทางดับกรรม ฉะนั้น จึงไม่ต้องกลัวอดีต แต่ให้ระวังปัจจุบันกรรม และระวังใจ ตั้งใจให้มั่นไว้ในธรรม ธรรมก็จะรักษาให้มีความสวัสดีทุกกาลทุกสถาน

(จาก….. "พระพุทธศาสนา และการนับถือพระพุทธศาสนา
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
ข้อความในวงเล็บ เพิ่มเติมโดยผู้เขียน

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะแห่งการหนีบาป


ตอนที่ ๒ ลักษณะแห่งการหนีบาป

     ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย ตอนนี้เป็นตอนที่ ๒ ก็มาพูดถึงลักษณะแห่งการหนีบาปกันต่อไป แต่ขอย้ำไว้ก่อนว่าการที่จะหนีอบายภูมิทั้ง ๔ คือการไม่เกิดเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ต่อไปนั้น ต้องกำจัดสังโยชน์ คือ
     อารมณ์ชั่ว ๓ ประการ ขอย้ำไว้ตอนนี้ก่อนตอนต้นจะได้ไม่เฝือ
     ๑. ที่มีความรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่ตายตัดทิ้งไป ให้มีความรู้สึกว่ามันจะต้องตายแน่และไม่ประมาทในชีวิต คิดทำความดีต่อไป
     ๒. วิจิกิจฉา ความสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์หันมากลับมาปฏิบัติในศีลให้แน่นอนและจริงจัง ฆราวาสเพียงแค่ศีลห้า หรือว่ากรรมบถ ๑๐ ใช้ได้แล้ว สำหรับภิกษุสามเณรก็มีศีลของท่าน ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ทุกคน ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมีความมั่นใจได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ก็ตามที เราไม่ลงอบายภูมิกันแน่
     ๓. สีลัพพตปรามาส มีการปฏิบัติในศีลไม่แน่นอน ไม่จริงจัง อันนี้ต้องตัดทิ้งไปหันมาปฏิบัติในศีลให้แน่นอนและจริงจัง ฆราวาสเพียงแค่ศีลห้า หรือว่ากรรมบถ ๑๐ ใช้ได้แล้ว สำหรับภิกษุสามเณรก็มีศีลของท่าน ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ทุกคน ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมีความมั่นใจได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ก็ตามที เราไม่ลงอบายภูมิกันแน่
     ที่หันมาพูดอย่างนี้ก็ย้ำไว้แต่ตนต้น เพราะว่าบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนจะงง เพราะในตอนต่อไปนี้พูดเรื่องตายจำให้ได้ว่า ชาตินี้ทั้งชาติตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะไม่ประมาทเรื่องความตายของชีวิต และคนที่เกิดทีหลังเราเด็กเล็กตายก่อนเราไปเยอะแยะ เราต้องตายแน่ พยายามรวบรัดความดีเข้าไว้ บาปเก่า ๆ ที่ทำไว้แล้วช่างมัน มันจะไปไหนก็ช่างมันตามเราไม่ทันด้วยอาศัยเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรม เคารพพระอริยสงฆ์ และปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ อย่าลืมว่าฆราวาสศีลห้า อาจจะหยาบไปนิดหนึ่ง แต่ก็พ้นอบายภูมิแล้ว ถ้าทางที่ดีได้กรรมบถ ๑๐ จะดีมาก เรื่องนี้รายละเอียดเป็นอย่างไรอ่านต่อไปข้างหน้า
     สำหรับตอนนี้ก็มาขอต่อตอนต้นที่ผ่านมาก็คือ ตอนที่ ๑ ว่าในเมื่อเรานึกถึงความตายแล้วเราก็เข้ามาไม่สงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า ในความดีของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และความดีของพระอริยสงฆ์ ตอนนี้ก็มาว่าถึงความดีของพระพุทธเจ้าก่อน
     พระพุทธเจ้ามีความดีเหลือหลาย อาตมาเองก็ไม่สามารถจะพรรณนาความดีของพระพุทธเจ้าให้ครบถ้วนได้ แต่ขืนพรรณนาไปมาก บรรดาท่านพุทธบริษัทก็จะเบื่อเอกันตอนต้นน้อย ๆ ก็แล้วกัน เพียงแค่เรายอมรับนับถือความจริงของท่าน ที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาแล้วในโลก พระองค์ไม่ได้หวังประโยชน์ความสุขส่วนตัวเลย คือว่าไม่หวังเฉพาะความสุขส่วนตัว ต้องการแจกจ่ายความสุขให้แก่บุคคลทั้งโลกตามที่พระองค์จะพึงทำได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยความเชื่อความเลื่อมใสในพระองค์ ถ้าขาดความเลื่อมใสพระพุทธเจ้าก็ช่วยไม่ได้เหมือนกัน เพราะคนที่ไม่เชื่อกันแล้วนี้พูดเท่าไรก็ไม่ยอมรับฟัง ฟังแล้วไม่ยอมเชื่อและก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม อย่างนี้ก็ไม่มีทางจะช่วยได้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อักขาตาโร ตถาคตา" ตถาคตาเป็นแต่เพียงผู้บอกเท่านั้น บอกแล้วจะทำตามหรือไม่ทำตามเป็นหน้าที่ของท่าน ถ้าทุกคนทำตามได้ บุคคลผู้นั้นก็พ้นจากอบายภูมิได้ เอาแต่เบื้องต้นนะ ถ้าสามารถปฏิบัติตามได้พ้นได้แน่ นี่เราจะปฏิบัติตามท่าน จะเอาอย่างไรในตอนนี้เรายังไม่พูดถึงศีลก่อน เอาแต่ความดีของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ามีกฎแห่งการสอนอยู่ว่า
     ๑. สัพพปาปัสสะ อะกะระณัง ให้บรรดาพระสงฆ์และพระองค์เองก็เช่นเดียวกัน พยายามสอนให้ทุกคนละจากความชั่วทุกประเภท คือไม่ทำความชั่วทุกประเภท ไม่ทำ ไม่พูด และก็ไม่คิดซะด้วย     ๒. กุสลัสสูปสัมปทา แนะนำให้ทำความดีทุกประการ     ๓. สจิตตะปริโยทะปะนัง แนะนำสั่งสอนให้มีจิตใจผ่องใส คือไม่มีอารมณ์มัวหมอง มีอารมณ์สดชื่นอยู่เสมอ     ๔. เอตัง พุทธานะสาสะนัง ท่านยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์ตรัสอย่างนี้เหมือนกันหมด




 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/08/Y6892194/Y6892194.html

ขึ้นชื่อว่ากรรมชั่วไม่ทำเลยซะดีกว่า



.
ในพระไตรปิฏก มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่งว่า "สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตัว มีกรรม เป็นตัวให้กรรมเนิด มีกรรมเป็นตัวเกี่ยวข้อง

มีกรรมเป็น ที่พึ่ง สัตว์ทั้งหลาย ทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม จักได้ผลกรรมนั้นแน่นอน...."

และว่า " ไม่ว่าจะไปอยู่กลางอากาศหรือหนีไปอยู่กลางทะเล จะช่วยให้คุ้มครองให้พ้นจากบาปกรรมได้ไม่มีเลย "

จากพุทธภาษิตนี้ พระพุฒโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์อรรถกถาพระวินัย ได้นำมาเขียน สรุปไว้ในผลงานของท่านว่า

"ขึ้นชื่อว่าผลกรรมแล้วไม่มีใคร สามารถห้ามได้ นั้นก็ หมายความว่า คนเราเมื่อทำอะไรลงไปแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตาม

ถึงคราวที่ความดีความชั่ว จะให้ผลนั้นย่อม ไม่มีใครห้ามได้ แม้พระพุทธเจ้า ของเราเองก็ทรงห้ามไม่ได้"

ความจริงข้อนี้ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกเล่มที่ 32 (ขุททกนิกาย อปทาน) ซึ่งในพระไตร ปิฏกเล่มนี้ มีกล่าวไว้ว่า ...

พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงกรรมเก่าที่มาให้ผลแก่พระองค์กรรม

เก่าที่ตรัสเล่านั้นเป็นกรรมเก่าที่ทำไว้ในอดีตชาติ เมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แล้วมาให้ผลใน

ชาติปัจจุบันถึงแม้ว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แล้วก็ยังไม่พ้นไป จากผลของ กรรมเก่านั้นซึ่งนำมาสรุปกล่าวได้ดังนี้

กรรมเก่าอย่างแรก คือ แกล้งโคไม่ให้ดื่มน้ำ

พระองค์ตรัสเล่าว่า ชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนเลี้ยงโค ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โคแวะดื่มน้ำข้างทาง

เกรงจะชักช้าจึงไล่แม่โคไม่ให้ดื่มน้ำ ด้วยการแกล้งเอาไม้กวนน้ำให้ขุ่น บาปกรรมในชาตินั้นส่งผลมาถึงชาิตินี้

แม้จะได้ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ส่ง ผลให้พระองค์กระหายน้ำแล้วไม่ได้เสวยสมปรารถนาทันที เมื่อคราวใกล้จะเสด็จ ดับขันธ ปรินิพพาน
กรรมเก่าอย่างที่สอง คือ กล่าวตู่ผู้มีศีลด้วยเรื่องไม่จริง

พระองค์ตรัสเล่าว่า เป็นกรรมเก่าทำไว้ในหลายชาติในอดีตดังนี้ ในชาติหนึ่ง พระองค์เกิดเป็นนักเลง ชื่อ "ปุนาลิ"

ได้กล่าวตู่ (ใส่ร้าย) พระัปัจเจกพระพุทธเจ้าพระนามว่า "สุรภี" ว่าทำผู้หญิงท้อง ตายจากชาิตินั้น บาปกรรมส่งผลให้

ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่

ก็ส่งผลให้พระองค์มาถูกนางสุนทริกา กล่าวตู่ว่าพระองค์ได้ร่วมรักกับนางจนตั้งครรภ์ ต่อมาในชาติหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

พระองค์ได้ทรงกล่าวตู่พระเถระชื่อ "นันทะ" พระสาวถองค์หนึ่ง ของพระพุทธเจ้าด้วยเรื่องทำนองเดียวกัน ตายจากชาตินั้น

บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานนับหมื่นปี เกิดมา ในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว

เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูก นางจิญจมาณวิกา กล่าวตู่ว่าพระองค์ได้ร่วมรักกับนางจนนางตั่งครรภ์อีกเช่นกัน

กรรมเก่าอย่างที่สาม คือ ฆ่าน้องชายต่างมารดา
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นลูกเศรษฐี บิดาของพระองค์มีภรรยาหลายคน


ภรรยาคนหนึ่ง มีลูกชายพระองค์เกรงว่าทรัพยสมบัติส่วนหนึ่งจะถูกแบ่งไปให้แก่น้องชายต่างมารดานั้นจึงลวงน้องชายไปฆ่าที่ซอกเขา

แล้วเอาหินทับไว้ ตายจากชาิตินั้นบาปกรรมส่งผลให้ไปเกิอยู่ในนรกนานปี เกิดมาในชาิตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว

เศษกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตกลิ้งหินกระทบนิ้ พระบาทจนห้อ พระโลหิต

กรรมเก่าอย่างที่สี่ คือ จุดไฟดักทางพระปัจเจกพุทธเจ้า

พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นเด็กแซนซน วันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับเพื่อนเด็ก เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งกำลังเดินมา

จึงชวนกันจุดไฟดักทางเพื่อมิให้พระพุทธเจ้าผ่านไปได้ ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เกิดมาในชาตินี้

แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เศษกรรมยังหลงเหลืออยู่ก็ ส่งผลให้พระองค์ถูกไฟไหม้ที่พระบาท

กรรมเก่าอย่างที่ห้า คือ ไสช้างจับพระปัจเจกพระพุทธเจ้า

พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาิติหนึ่งในอดีต คราวที่โลกว่างจากพระพุทธเจ้า มีพระปััจเจกพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลก พระองค์เกิดเป็นควาญช้าง

วันหนึ่งเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งบิณฑบาตแล้วเกลียดจึงไสช้างให้จับ พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปนั้น ตายจาก ชาตินั้น

บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เศษกรรมที่ยังหลงเหลือ

อยู่ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตยุยงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้ปล่อยช้างนาฬาคีรีมาแทงพระองค์

กรรมเก่าอย่างที่หก คือ นำทหารออกศึก

พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาิติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นแม่ทัพนำทหารออกรบฆ่า ข้าศึกตายเป็นจำนวนมากด้วยหอก ตายจาก ชาตินั้น

บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน เสวยทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส เกิดมาในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า

เศษกรรมที่ยังหลงเหลือ อยู่ก็ส่งผลให้พระองค์ถูกพระเทวทัตชักชวนนายขมังธนูผู้ดุร้ายมาฆ่า
กรรมเก่าอย่างที่เจ็ด คือ เห็นคนฆ่าปลาแล้วชอบใจ
พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นลูกชาวประมง อาศัยอยู่ในหมู่บ้านชาวประมง เห็นชาวประมงฆ่าปลา

แล้วเกิดความสนุกยินดีสนุกสนาน มาเกิดในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้่าแล้ว บาปกรรมก็ยังส่งผลให้พระองค์รู้สึกปวดพระ

เศียรเมื่อคราวที่พวกเจ้าศากยะพระประยูรญาติของพระองค์ ถูกพระเจ้าวิฑูฑภะกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลยกทัพบุกสังหาร

กรรมอย่างที่แปด คือ ด่าพระสาวกของพระพุทธเจ้า

พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนปากกล้าด่าว่าพระสาวกของพระพุทธเจ้าผุสสะ

(พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 17 ในจำนวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี)

และพูดแดกดันทำนองว่าให้ท่านเหล่านั้นได้ฉันแต่ข้าวชนิดเลว อย่าให้ได้ฉันข้าวดีๆอย่างข้าวสาลีเลย

ตายจากชาิตินั้นบาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรกนานแสนนาน มาเกิดในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้่าแล้ว

บาปกรรมก็ยังส่งผลให้พระองค์ได้รับนิมนต์จากพราหมณ์เวรัญชาให้ไปจำพรรษาในเมืองเวรัญชา

ครั้นพระองค์เสด็จไปถึงก็เกิดข้าวยากหมากแพง ทำให้พระองค์ต้องเสวยข้าวชนิดเลว(ข้าวแดง)อยู่นานถึง 3 เดือน

กรรมอย่างที่เก้า คือ มีส่วนร่วมในการจัดมวยปล้ำ

พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นคนจัดมวยปล้ำ มาเกิดในชาตินี้ แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วบาป

กรรมยังส่งผลให้พระองค์มีโรคประจำตัวพระองค์คือ ปวดพระปฤษฏางค์ (ปวดหลัง)
กรรมอย่างที่สิบ คือ เป็นหมอยารักษาคนไข้ตาย

พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นหมอยารับรักษาลูกชายเศรษฐี โดยวิธีให้ถ่ายยา จนลูกชายเศรษฐีตาย

ตายจากชาตินั้น บาปกรรมส่งผลให้ไปเกิดอยู่ในนรก มาเกิดในชาตินี้แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วเศษกรรมที่ยัง

หลงเหลืออยู่ก็ส่งผลให้พระองค์เกิดพระโรคปักขันทิกาพาธ(โรคท้องร่วง) หลัีงจากเสวยสุกรมัททวะก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

กรรมอย่างที่สิบเอ็ด คือ เยาะเย้ยพระพุทธเจ้า

พระองค์ตรัสเล่าว่า ในชาติหนึ่งในอดีต พระองค์เกิดเป็นชายหนุ่มชื่อ "โชติปาละ" วันหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัสสปะ

(พระพุทธเจ้าพระองค์ที่ 26 ในจำนวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ที่ปรากฏพระนามในคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายบาลี)

แล้วกราบทูลทำนองเย้ยหยันว่า ทำไมจึงได้ตรัสรู้ช้าต้องบำเพ็ญพียรอยู่นานกว่าจะตรัสรู้ได้

มาเกิดในชาตินี้ซึ่งแน่นอนว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่ แต่ด้วยผลกรรมนั้นจึงส่งผลให้พระองค์หลงทางในการแสวงหาโมกธรรม

จนต้องบำเพ็ญทุกรกิริยา อันทำให้พระองค์ต้องประสบกับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสกว่าจะตรัสรู้ได้

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือกรรมเก่าที่ไม่ดีของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสเล่าไว้อย่างเปิดเผย พระไตรปิฏกบอกว่าพระองค์ตรัสเล่า

ให้พระสาวกจำนวนมากที่มาเฝ้าพระองค์ฟังขณะที่ประทับนั่งอยู่บนพื้นหินแก้ว ในละแวกป่าใกล้สระอโนดาตเชิงป่าหิมพานต์

ณ ที่นั้นนอกจากจะได้ตรัสถึงกรรมเก่าที่ไม่ดีแล้วพระองค์ก็ทรง ตรัสถึงกรรมเก่าที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยให้พระองค์ได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าไว้ด้วย

นั่นคือ ถวายผ้าเก่า  แก่พระ พระองค์ตรัสเล่าว่าในชาติหนึ่งในอดีตนั้นพระองค์เกิดเป็นคนยากจนเห็นพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปหนึ่งซึ่งถืออยู่ป่าเป็นวัตรแล้วเลื่อมใสจึงถวายผ้าห่มเก่าผืนเดียวที่ตัวเองมีอยู่แก่ท่านพร้อมกันนั้นก็ได้ฟังเรื่องราวของพระพุทธเจ้า

จากพระสาวกรูปนั้นแล้วเกิดเลื่อมใสยิ่งขึ้นจึงตั้งจิตปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรกการเริ่มต้นปรารถนา

แต่ครั้งนั้นของพระองค์ส่งผลให้ทำความดีมาอย่างต่อเนื่องจนมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาตินี้

เรื่องราวที่กล่าวมานี้ย่อมชี้ให้เห็นว่ากรรมที่ทำแล้วไม่ว่าดีหรือชั่วก็ตามย่อมคอยโอกาสให้ผลอยู่ตลอดเวลา

ตราบที่ผู้ทำกรรมยังเวียนวายตายเกิดแม้ชาติสุดท้ายจะได้บรรลุอรหัตผลแล้ว
แต่โดยเหตุที่ยังมีชีวิตอยู่ซึ่งชีวิตนี้เกิดมาจากกรรมเก่าฉะนั้นยังคงต้องได้รับผลอยู่ดี

พระพุทธเจ้าของเราเองก็เช่นกัน แม้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วแต่กรรมเก่าก็ยังหาโอกาสให้ผลอยู่เป็นระยะ
กรรมเก่าบางอย่างก็ให้ผลมาแล้วแต่ยังมีเศษเหลืออยู่ แต่กรรมเก่าบางอย่างก็ยังมิได้ให้ผลมาเลยและมาให้ผลเต็มในชาตินี้

เห็นไหมว่ากรรมยิ่งใหญ่ขนาดไหนพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เราเข้าใจ ให้ถูกต้องและการแก้กรรมที่ดีนั้นก็คือ ไม่ทำความชั่วทำแต่ความดีแล้วจิตของเราก็จะพบกับความสุขสมบูรณ์แล.



เขียนโดย นายบรรจบ บรรณรุจิ จากหนังสือ พ้นโลก ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 เดือนมีนาคม พศ. 2535

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.dhammakid.com/board/acaaaxeiaeeaaa/adoaeonoaaaaaeo/?wap2

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หนังบังห่อปฏิกูล


กายะนครกว้างศอก ยาวเพียงวา หนาเพียงคืบ
จิตเข้าสืบ อาศัย กายสังขาร
สิงห์สถิต ติดซ่อน แต่ก่อนกาล
ตราบเท่านาน ท่านแอบ แนบนคร

นครเนื้อ เสื้อปิด มิดชิดร่าง
แต่งอำพลาง สร้างปก ป้องสิงขร
จะหนาวร้อน ผ่อนผ้า เอื้ออาทร
ยามพักผ่อน หลับได้ ไม่ไหวติง

นครหนัง บังห่อ ท่อผังพืด
มีเอนยืด ย่อหด ทั้งชายหญิง
ม้ามปอดตับ ขับเร่ง เขย่าจริง
ถ่ายเททิ้ง ปฏิกูล วุ่นทั้งวัน

หูได้ยิน กลิ่นรส กายสัมผัส
ฟันขบกัด สะบัดลิ้น รสแห่งฝัน
ลมหายใจ ไหลเข้า เก่าออกพลัน
ลำไส้นั้น พันคด ลดเลี้ยวลง

นครนี้ มีใจ อาศัยอยู่
กำหนดรู้ เรื่องราว ที่ไหลหลง
มีแขนขา หน้ามือ ถือหนักปลง
เหนื่อยก็คง หยุดพัก รักษาตัว

ได้อาศัย อยู่ใน กายนคร
บ้างหนาวร้อน ผ่อนเย็น เห็นจนทั่ว
กายสึกหรอ ตกผลึก นึกหวาดกลัว
ร้าวระรัว ตัวสั่น ขวัญกระจาย

เที่ยวเมียงมอง ท่องกาย นครอื่น
ช่างหวานชื่น ตื่นภวังค์ ดั่งกระหาย
ดูสวยสม ชมชื่น ทั้งหญิงชาย
ฉากสุดท้าย หายหลบ ไม่พบกัน (ตายจากกันต่างคนต่างไป)

กายนคร แห่งนี้ ที่สถิต
สร้างชีวิต สร้างโลก สร้างความฝัน
สร้างตัวเรา ตัวเขา เข้าแบ่งปัน
ยากบากบั่น ปั้นหน้า กายะนคร ฯ

กล้าต้น อินระดา
19 ตุลาคม 52

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ตีแผ่ หนังห่อปฏิกูล ที่ดูสวยก็แค่หนังครับ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tonkla1&month=10-2009&date=19&group=1&gblog=93

ธรรมะโอวาทของหลวงปู่สิม



ธรรมะโอวาทของหลวงปู่สิม
"...จิตใจหรือว่าจิตคนเรานั้นต้องฝึกฝนอบรมจึงจะเป็นไปได้ ให้ใจมันมีความเพียร ความหมั่น
ความขยันไม่ให้เกียจคร้าน ไม่ว่าจะเป็นการท่องบ่นสาธยายพระธรรมคำสั่งสอน ก็ไม่ให้เกียจคร้าน ให้หมั่น ความเพียรนั้นคือว่าหมั่น ขยัน กราบพระ ไหว้พระ สวดมนต์ ก็อย่าเพียงหมายแต่ว่ามารวมในหมู่ในคณะกราบพระไหว้พระ เราอยู่คนเดียวก็กราบได้ไหว้ได้ นั่งสมาธิภาวนาได้ สวดมนต์ภาวนาได้ เดินจงกรมได..."้

"...ความเพียรนี่แหละท่านว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญ วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้มีความพากเพียรพยายามแล้ว กิจกรรมการงานใด ๆ ไม่เหลือวิสัย ผู้มีความเพียรพ้นทุกข์ได้ แต่ผู้มาภาวนาตั้งใจปฏิบัติไม่มีความเพียร แต่อยากให้จิตใจของตนพ้นจากความทุกข์ความเร่าร้อนต่าง ๆ นานา ทำอย่างไรใจข้าพเจ้าจะสงบระงับ มีอุบายอะไร ก็อุบายไม่ขี้เกียจนั่นแหละ..."

"...อุบายมันอยู่ที่ไหน อุบายมันอยู่ที่ความเพียร ทำอย่างไรข้าพเจ้าจะสู้กับกิเลสราคะ โทสะ โมหะ ในใจได้ ไปสู้ที่ไหน ก็สู้ด้วยความเพียร สู้ด้วยความตั้งใจมั่น เราตั้งใจลงไปแล้วให้มันมั่นคง ไม่มั่นคงอย่าไปถอย เมื่อจิตใจไม่ถอย จิตเพียรพยายามอยู่ หาวิธีการที่จะเอาชนะกิเลสในใจของตนให้ได้ เดี๋ยวนี้กิเลสในใจมันย่ำยีเหยียบกาย วาจาจิตของเราอยู่ ไม่ยอมให้เราลุกขึ้นปฏิบัติภาวนาได้เต็มที่ทำได้นิด ๆ หน่อย ๆ แต่ความอยากได้มาก อันนี้ไม่ถูก..."

"...เมื่อมีความเพียรอะไรมันจะเหลือ (วิสัย) ความเพียร ดูพระพุทธเจ้าที่ท่านได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ท่านมีความเพียร สี่อสงไขย แสนมหากัป ท่านยังมีความเพียร ความหมั่น ขยัน เอาจนสำเร็จลุล่วงไปได้นั่นแหละคือความเพียร ความเพียรไม่ใช่คำพูดอย่างเดียว เป็นการเพียรทางกาย เพียรทางวาจา เพียรทางจิต เพียรหมดทุกอย่าง เรียกว่า วิริเยน ทุกฺข มจฺเจติ บุคคลจะล่วงทุกข์ไปได้เพราะความเพียร..."




อัฐิธาตุหลวงปู่สิม จากวัดสันติธรรม เชียงใหม่
 
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณเปลือกไม้ ครับ