วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ


ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ข้อความบางตอนใน จูฬราหุโลวาทสูตร
. ภิกขุวรรค
. จูฬราหุโลวาทสูตร
ทรงโอวาทพระราหุล
.....................
 [๑๒๘] ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน 
แว่นมีประโยชน์อย่างไร.
มีประโยชน์สำหรับส่องดู พระเจ้าข้า.
ฉันนั้นเหมือนกันแล ราหุล บุคคลควรพิจารณาเสียก่อน แล้วจึงทำ
กรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ.
กรรม
[๑๒๙] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรม
นั้นเธอพึงพิจารณาเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมนี้ใดด้วยกาย กายกรรม
ของเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อเบียด
เบียนทั้งตนทั้งผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็น
วิบากกระมังหนอ ดูก่อนราหุล ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เรา
ปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
 เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งคนทั้งผู้อื่น กายกรรมนี้เป็น
อกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ กรรมเห็นปานนี้
เธอไม่พึงทำด้วยกายโดยส่วนเดียว แต่ถ้าเมื่อเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า
เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้
ไม่พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เพื่อเบียดเบียนทั้งตนทั้งผู้อื่น
กายกรรมนี้เป็นกุศลมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ กายกรรมเห็นปานนั้น เธอพึง
ทำด้วยกาย แม้เมื่อเธอกำลังทำกรรมด้วยกาย เธอก็พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า
ว่าเรากำลังทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง
 เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง
กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเมื่อเธอ
พิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้
ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียน
ทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก
ดังนี้ไซร้ เธอพึงเลิกกายกรรมเห็นปานนั้นเสีย แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้
อย่างนี้ว่า เราทำกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่น
บ้าง กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้ เธอพึง
เพิ่มกายกรรมเห็นปานนั้น ดูก่อนราหุล แม้เธอทำกรรมด้วยกายแล้ว เธอก็
พึงพิจารณากายกรรมนั้นแหละว่า เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรม
ของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ
เบียดเบียนทั้งตนเละผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบากกระมังหนอ ถ้าเธอพิจารณาอยู่ พึงรู้อย่างนี้ว่า เราได้ทำแล้วซึ่ง
กายกรรมใด กายกรรมของเรานี้ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียด
เบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง กายกรรมนี้เป็นอกุศล
มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากดังนี้ไซร้ กายกรรมเห็นปานนั้น
เธอพึงแสดง เปิดเผย ทำให้ตื้น ในพระศาสนา
หรือในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้วิญญู
แล้วพึงสำรวมต่อไป
แต่ถ้าเธอพิจารณาอยู่พึงรู้อย่างนี้ว่า
เราได้ทำแล้วซึ่งกรรมใดด้วยกาย กายกรรมของเรานี้
 ย่อมไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง
 และเพื่อเบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง
กายกรรมนี้เป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากดังนี้ไซร้
เธอพึงมีปีติและปราโมทย์
ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยกายกรรมนั้นแหละ.

[๑๓๐] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา เธอพึง
พิจารณาวจีกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยวาจา วจีกรรม
ขอเรานี้พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง และเพื่อ
เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง วจีกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์
เป็นวิบากกระมังหนอ (.........ข้อความเหมือนกับ พิจารณากายกรรม........)
ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยวจีกรรมนั้นแหละ.

[๑๓๑] ดูก่อนราหุล เธอปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ เธอพึง
พิจารณามโนกรรมนั้นเสียก่อนว่า เราปรารถนาจะทำกรรมใดด้วยใจ มโนกรรม
ของเรานี้ พึงเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เพื่อ
เบียดเบียนทั้งตนและผู้อื่นบ้าง มโนกรรมนี้เป็นอกุศล มีทุกข์เป็นกำไร มี
ทุกข์เป็นวิบากกระมังหนอ (........ข้อความเหมือนกับ พิจารณากายกรรม........)
ศึกษาในกุศลธรรมทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ด้วยมโนกรรมนั้นแหละ.

ข้อความบางตอนในอรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรที่
 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 276
บทว่า ปจฺจเวกฺขณตฺโถ คือ มีประโยชน์สำหรับส่องดู. อธิบายว่า
มีประโยชน์ส่องดูโทษที่ใบหน้า. บทว่า ปจฺจเวกฺขิตฺวา ปจฺจเวกฺขิตฺวา คือ
ตรวจดูแล้ว ตรวจดูอีก. บทว่า สสกฺกํ กรณียํ คือ ไม่พึงทำโดยส่วนเดียว
เท่านั้น. บทว่า ปฏิสํหเรยฺยาสิ พึงเลิก คือ พึงกลับอย่าพึงทำ. บทว่า
อนุปทชฺเชยฺยาสิ พึงเพิ่ม คือพึงให้เกิดขึ้น พึงค้ำจุนไว้ พึงทำบ่อย ๆ. บทว่า
อโหรตฺตานุสิกฺขิตา คือศึกษาทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน. บทว่า อฏฺฏิยิตพฺพํ
พึงกระดาก คือ พึงระอา พึงบีบคั้น. บทว่า หรายิตพฺพํ คือพึงละอาย. บทว่า
ชิคุจฺฉิตพฺพํ พึงเกลียด คือ พึงให้เกิดความเกลียดดุจเห็นคูถ. อนึ่ง เพราะ
มโนกรรมมิใช่วัตถุแห่งเทศนาอันควรแสดงไว้ในที่นี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงไม่
กล่าวไว้. ก็ในฐานะอย่างไรเล่า จึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม. ในฐานะ
อย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม. ควรชำระกายกรรมและวจีกรรม ในเวลาก่อน
อาหารครั้งหนึ่งก่อน เมื่อฉันอาหารแล้วควรนั่งในที่พักกลางวันพิจารณาว่า ตั้ง
แต่อรุณขึ้นจนถึงนั่งในที่นี้ กายกรรม หรือวจีกรรมอันไม่สมควรแก่ผู้อื่นใน
ระหว่างนี้ มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ. หากรู้ว่ามี ควรแสดงข้อที่ควรแสดง ควร
ทำให้แจ้งข้อที่ควรทำให้แจ้ง. หากไม่มี ควรมีปีติปราโมทย์. อนึ่ง ควรชำระ
มโนกรรม ในที่แสวงหาบิณฑบาตครั้งหนึ่ง,
ชำระอย่างไร.  ควรชำระว่า
 วันนี้ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความคับแค้นก็ดี ในรูปเป็นต้น
ในที่แสวงหาบิณฑบาตมีอยู่หรือหนอ.
 หากมี ควรตั้งจิตว่า เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก.
หากไม่มีควรมีปีติปราโมทย์.
บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-
พุทธเจ้า หรือ พระสาวกของพระตถาคต. บทว่า ตสฺมา ติห ความว่า
เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลาย แม้ในอดีตก็ชำระแล้วอย่างนี้ แม้ในอนาคต
ก็จักชำระอย่างนี้ แม้ในปัจจุบันก็ย่อมชำระอย่างนี้ ฉะนั้นแม้พวกเธอ เมื่อศึกษา
ตามสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็พึงศึกษาอย่างนี้.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระธรรมเทศนานี้ให้จบลงด้วยสามารถแห่ง
บุคคลที่ควรแนะนำ ดุจเทวดาผู้วิเศษถือเอายอดแห่งกองรัตนะอันตั้งขึ้น
จนถึงภวัคคพรหม ด้วยกองแห่งแก้วมณีที่ประกอบกัน.
จบอรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรที่

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=20145

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น