วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

คำสอนหลวงปู่ธีร์

             



          ผู้เขียนเคยไปกราบหลวงปู่ธีร์ที่วัด และกราบขอความเมตตา ขอท่านสอนธรรมะ สำหรับการนำไปปฏิบัติ ท่านเมตตาบอกผู้เขียนว่า ให้ มี สติ สัมปชัญญะ  หิริ โอตัปปะ และพรหมวิหารสี่



สติสัมปชัญญะ เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก เกื้อกูลในการทำความดีทุกอย่าง
ธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ สรุปลงที่สติสัมปชัญญะ
ตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ ทั้งนั้น
สติ หมายถึง ความระลึกได้ มีความรอบคอบ ไม่ลืม ไม่เผลอ ไม่ประมาทเป็นพื้นฐาน
สัมปชัญญะ หมายถึง ความรู้สึกตัว ไม่หลงลืม รู้สึกตัวอยู่เสมอทุกขณะจิต
ว่ากำลังทำอะไรอยู่ที่เกี่ยวข้องกับปัจจุบัน ไม่ส่งใจไปในอดีตหรืออนาคต
สติสัมปชัญญะ เป็นสติที่มีปัญญาสนับสนุน ให้น้อมนำเข้ามาดูจิตใจตัวเอง
มองตัวเองในการกระทำ การพูด การคิด เป็นสภาวะที่รู้เท่าทัน ไม่หลงผิดไปตามกิเลส ตัณหา
และอารมณ์ที่มากระทบ เมื่อมีสมาธิสมบูรณ์แล้ว จึงจะเกิดสัมปชัญญะขึ้นได้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://rainmarker.multiply.com/journal/item/2

คำว่า" หิริ โอตัปปะ หมายถึงอะไร
 หิริ ความละอายต่อบาปกรรมที่ตนกระทำนั้นยิ่งกว่าคนที่เป็นโรคร้ายแต่งตัวเรียบร้อยเข้าไปในที่สาธารณะ ย่อมมีความละอายแก่ใจตนเสมอ คนอื่นจะรู้เห็นหรือไม่ก็ตาม แต่ใจของตนรู้เห็นด้วยใจตนเองอยู่ตลอดเวลา
    โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาปกรรมที่ตนกระทำด้วยกาย วาจา และใจ อันจะเกิดมีขึ้นแก่ตน กลัวยิ่งกว่าเห็นอสรพิษ ย่อมไม่สามารถเข้าไปใกล้ได้ ความกลัวบาปที่เห็นด้วยใจ และกลัวด้วยใจนั้น ย่อมสะดุ้งหวาดเสียวอยู่เป็นนิจ เหมือนเป็นแผลที่หัวใจ ใครจะเจ็บปวดด้วยหรือไม่ก็ตาม ผู้นั้นย่อมเจ็บปวดอยู่คนเดียว ความละอายและความกลัวเหล่านี้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ละอายและกลัวบาปกรรมที่ละเมิดล่วงเกินศีลข้อนั้น ๆ เมื่อมีความละอายและความกลัวบาปกรรมอยู่อย่างนี้แล้ว ผู้นั้นย่อมมีสติระวังตัวอยู่ทุกเมื่อ แล้วมันจะล่วงละเมิดศีลข้อนั้น ๆ ได้อย่างไร


ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.hiluxoptical.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=1&Category=hiluxopticalcom&thispage=1&No=331559



พรหมวิหาร 4

           เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่น  พรหม ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ
  1. เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข)
  2. กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์)
  3. มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล)
  4. อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3_%E0%B9%94

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น