วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระปริตรชื่อ อาฏานาฏิยปริตร



อาฏานาฏิยปริตร ว่าด้วยพระพุทธมนต์ที่สามารถป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง บางแห่งกล่าวไว้ว่า สามารถป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดีและมีความสุข

เกิดเมื่อท้าวมหาราชทั้งสี่ คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ และท้าวเวสสุวัณ ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่เกรงว่าหากพวกอสูรรู้ว่าบนดาวดึงส์ไม่มีใครอยู่ ก็อาจจะถือโอกาสมารบกวน ซึ่งพวกตนอาจจะกลับมาไม่ทัน จึงได้จัดตั้งกองทหารไว้ ๔ กอง ประกอบด้วยคนธรรพ์ ยักษ์ นาค รักษาแต่ละทิศไว้ แล้วก็พากันไปประชุมที่อาฏานาฏิยนคร พร้อมทั้งผูกมนต์เป็นอาฏานาฏิยปริตรขึ้นมา จากนั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยบริวารจำนวนมาก แต่ปรากฏว่าบริวารของท้าวมหาราชเหล่านั้น ต่างก็มีปฏิกิริยาต่อพระพุทธองค์ต่าง ๆ กัน เพราะบ้างก็นับถือ บ้างก็ไม่นับถือ จนเป็นเหตุให้บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้าที่ไปบำเพ็ญธรรมตามที่ต่าง ๆ ต้องถูกผี ปีศาจ ยักษ์ที่ไม่เลื่อมใสเหล่านั้นรบกวนทำให้เจ็บไข้ หรือได้รับอันตรายต่าง ๆ นานา ท้าวเวสสุวัณจึงได้กราบทูลขอให้พระพุทธองค์รับอาฏานาฏิยปริตรไว้ประทานแก่สาวกของพระองค์ เพื่อป้องกันมิให้ยักษ์และภูตผีปีศาจรบกวน ซึ่งเนื้อความเป็นการสรรเสริญพระพุทธคุณของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ และขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นเวลานอน เดิน ยืน หรือนั่ง ขอให้พระพุทธเจ้าเหล่านั้นคุ้มครองรักษาให้พ้นภัย พ้นโรคและความเดือดร้อนต่าง ๆ มีความเชื่อว่าใครได้ภาวนาพระปริตรบทนี้เป็นประจำ ยักษ์ ผี ปีศาจ จะช่วยคุ้มครองให้มีแต่ความสุขความเจริญ

บทสวดมีดังนี้ คือ

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต สิขิสสะปิ นะมัตถุ สัพพะภูตานุกัมปิโน
ขอนอบน้อมพระวิปัสสีพุทธเจ้า ผู้ทรงพระจักษุ ทรงพระสิริ
ขอนอบน้อมแด่พระสิขีพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง


เวสสะภุสสะ นะมัตถุ นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ มาระเสนัปปะมัททิโน
ขอนอบน้อมพระเวสสภูพุทธเจ้า ผู้ชำระกิเลสได้แล้ว มีตบะ
ขอนอบน้อมพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้ทรงเอาชนะมารและกองทัพได้


โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ พราหมะณัสสะ วุสีมะโต กัสสะปัสสะ นะมัตถุ วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ
ขอนอบน้อมพระโกณาคมนพุทธเจ้า ผู้ลอยบาปอยู่แล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
ขอนอบน้อมพระกัสสปพุทธเจ้า ผู้หลุดพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง


อังคีระสัสสะ นะมัตถุ สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ สัพพะทุกขาปะนูทะนัง
ขอนอบน้อมพระศากยบุตรพุทธเจ้า ผู้ทรงพระฉัพพรรณรังสี
ผู้ทรงสิริ ผู้ทรงแสดงธรรมขจัดทุกข์ทั้งปวง


เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา
อนึ่ง พระอรหันต์เหล่าใดในโลก ดับกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งตามความเป็นจริง
พระอรหันต์เหล่านั้นปราศจากวาจามุ่งร้าย เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่สะทกสะท้าน


หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง วิชชาจะระณะสัมปันนัง มะหันตัง วีตะสาระทัง
วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ

ท่านเหล่านั้นย่อมนมัสการพระโคตรมะ ผู้ทรงเกื้อกูลเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ไม่สะทกสะท้าน


(บางตำราจะจบลงแค่นี้ ในขณะที่บางตำรามีเพิ่มเติมบทต่อไปนี้ด้วย)



เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา อะเนกะสะตะโกฏะโย สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา
พระสัมพุทธเจ้าเจ็ดพระองค์เหล่านั้น และพระสัมพุทธเจ้าหลายร้อยโกฏิเหล่าอื่น
ทุกพระองค์เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเปรียบ ทุกพระองค์ล้วนทรงฤทธิ์ยิ่งใหญ่


สัพเพ ทะสะพะลูเปตา เวสารัชเชหุปาคะตา สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระทศพลญาณและพระเวสารัชชญาณ
ทรงยืนยันความตรัสรู้อันประเสริฐแกล้วกล้าของพระองค์


สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา พรหมะจักกัง ปะวัตเตนติ โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
พระพุทธเจ้าเหล่านี้ ทรงปราศจากความครั่นคร้าม บันลือสีหนาทในท่ามกลางพุทธบริษัท
ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐในโลก ไม่มีผู้ใดจะคัดค้านได้


อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา
พระองค์ทรงเป็นผู้นำ ทรงคุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ๑๘ ประการ
ทรงประกอบด้วยพระพุทธลักษณะ ๓๒ ประการ และพระอนุลักษณะ ๘๐


พยามัปปะภายะ สุปปะภา สัพเพ เต มุนิกุญชะรา พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงพระฉัพพรรณรังสีโดยรอบหนึ่งว่า ทรงเป็นมุนีผู้ประเสริฐ
รู้แจ้งธรรมทั้งปวง สิ้นอาสวะ และเป็นผู้ชนะ


มะหัปปะภา มะหาเตชา มะหาปัญญา มะหัพพะลา มะหาการุณิกา ธีรา สัพเพสานัง สุขาวะหา
ทรงมีพระรัศมีสว่างไสว ทรงมีเดชมาก มีปัญญามาก มีกำลังมาก
มีความกรุณาใหญ่หลวง มั่นคง ประทานความสุขแก่ชนทั้งปวง


ทีปา นาถา ปะติฏฐา จะ ตาณา เลณา จะ ปาณินัง, คะตี พันธู มะหัสสาสา สะระณา จะ หิเตสิโน
พระองค์ทรงเป็นที่พัก ที่พึ่ง ที่พำนัก คุ้มครองหลบภัยของเหล่าสัตว์ ทรงเป็นที่ไป
เป็นญาติ เป็นผู้อุปถัมภ์ เป็นผู้ขจัดทุกข์ และกระทำประโยชน์


สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงเป็นที่พึ่งของชาวโลกและเทวดา ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระบาทยุคล
ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วยเศียรเกล้า ขอน้อมไหว้พระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษประเสริฐ


วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
ข้าพระองค์ขอน้อมไหว้พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นในเวลายืน เดิน นั่ง นอน ด้วยวาจา ด้วยใจเสมอ

สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ
ขอพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประทานพระนิพพาน จงคุ้มครองท่านให้มีความสุขเสมอ
เมื่อพระองค์คุ้มครองท่านแล้ว ขอให้ท่านปลอดจากภัยทั้งปวงเถิด


สัพพะโรคะวินิมุตโต สัพพะสันตาปะวัชชิโต สัพพะเวระมะติกกันโต นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ
ขอท่านจงปลอดจากโรคทั้งปวง ปราศจากความเดือดร้อนทุกอย่าง ไม่มีใคร ๆ ปองร้าย เป็นผู้สงบ

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ขอพระพุทธเจ้าเหล่านั้น จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ปราศจากโรค มีความสุข
ด้วยพลานุภาพแห่งความสัตย์ ศีล ขันติ และเมตตาธรรม


ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่าคนธรรพ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศบูรพา จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่ากุมภัณฑ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศทักษิณ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่านาคผู้มีฤทธิ์มากในทิศประจิม จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขามะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
เหล่ายักษ์ผู้มีฤทธิ์มากในทิศอุดร จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

ปุรัตถิเมนะ ธะตะรัฏโฐ ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง
ท้าวธตรฐเป็นผู้รักษาโลกทิศบูรพา ท้าววิรุฬหกรักษาโลกทิศทักษิณ
ท้าววิรูปักษ์รักษาโลกทิศประจิม ท้าวกุเวรรักษาโลกทิศอุดร


จัตตาโร เต มะหาราชา โลกะปาลา ยะสัสสิโน เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ
ขอมหาราชผู้รักษาโลกทั้งสี่พระองค์ ผู้มีบริวารมากดังกล่าว จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ อาโรคเยนะ สุเขนะ จะ
ขอเหล่าเทวดาและนาคผู้มีฤทธิ์มาก สถิตอยู่ในอากาศและบนพื้นดิน จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข


(เมื่อสวดถึงตอนนี้แล้ว บางตำราต่อด้วยคำสวดต่อไปนี้
ซึ่งเรามักจะได้ยินจากพระสงฆ์สวดเป็นการให้พรในเวลาที่เราถวายสิ่งของใด ๆ เสร็จแล้ว)



อิทธิมันโต จะ เย เทวา วะสันตา อิธะ สาสะเน เตปิ อัมเหนุรักขันตุ อะโรเคนะ สุเขนะ จะ
ขอเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก อาศัยอยู่ในพระศาสนานี้ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้เป็นผู้ไม่มีโรค มีความสุข

สัพพีติโย วิวัชชันตุ สัพพะโรโค วินัสสะตุ มา เต ภะวัตวันตะราโย สุขี ทีฆายุโก ภะวะ
ขอสิ่งร้ายทั้งปวงจงบำราศไป ขอโรคทั้งปวงจงพินาศไป ขอท่านอย่ามีอันตราย เป็นผู้มีความสุข

อะภิวาทะนะสีลิสนะ นิจจัง วุฑฒาปะจายิโน จัตตาโร ธัมมา วัฑฒันติ อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง
ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ย่อมเจริญแก่บุคคลผู้นบไหว้ และอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์


(บางตำราสวดต่อด้วยบทต่อไปนี้แทนบทข้างต้น)



นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณัง วะรัง เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง พุทธะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระพุทธรัตนะย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง ธัมมะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต
รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระธรรมรัตนะย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน


ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
รัตนะต่าง ๆ มากชนิด บรรดามีในโลก รัตนะนั้นจะเสมอด้วยพระสงฆ์รัตนะย่อมไม่มี
เพราะเหตุนั้น ขอความสวัสดีทั้งหลายจงมีแก่ท่าน


ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=prommayanee&month=03-09-2009&group=3&gblog=15

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ของดีนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน คำสอนหลวงปู่ดู่

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
วัดสะแก อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา  

                           
          คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว คือ สวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติภาวนาคือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของชั่วคราว มีแต่ปัญหามีแต่ทุกข์ แล้วก็เสื่อม พังสลายไปในที่สุด
ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด) ทั้งหลาย ถ้าท่านต้องการพ้นภัยจากการเกิดแก่เจ็บตาย ท่านควรมีคุณธรรม 6 ประการนี้ไว้เป็นประจำจิตประจำใจ ทุกท่านย่อมจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงความสุขใจอย่างยอดเยี่ยม
คุณ 6 ประการนั้นคือ

1. ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม
2. ประคับประคองจิตในยามที่ควรประคับประคอง
3. ทำจิตให้ร่าเริงในยามที่ควรร่าเริง
4. ทำจิตวางเฉยในยามที่ควรวางเฉย
5. มีจิตน้อมไปในอริยมรรค อริยผลอันประณีตสูงสุด
6. มีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิต

                 ผู้ปฏิบัติที่มีความสามารถฉลาดย่อมจะต้องศึกษาจิตใจและอารมณ์ของตนให้เข้าใจ และรู้จักวิธีกำหนดปล่อยวางหรือควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ได้ เปรียบเสมือนเวลาที่เราขับรถยนต์ จะต้องศึกษาให้เข้าถึงวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัย บางครั้งควรเร่ง บางคราวควรผ่อน บางทีก็ต้องหยุดเร่งในเวลาที่ควรเร่ง ผ่อนในเวลาที่ควรผ่อน หยุดในเวลาที่ควรหยุด ก็จะสามารถถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย
ข้อสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือ ต้องไม่ประมาท ต้องปฏิบัติให้เต็มที่ตั้งแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็นเสียแต่วันนี้ เวลาใกล้จะตายมันก็ไม่เป็นเหมือนกัน เหมือนคนที่เพิ่งคิดหัดว่ายน้ำ เวลาใกล้จะจมน้ำตาย นั่นแหละก็จมตายไปเปล่า ๆ ถ้าใน 1 วันนี้ไม่ปฏิบัติภาวนาวันนั้นขาดทุนเสียหายหลายล้านบาท
                  จงมองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่า คนสัตว์สิ่งของ เงิน ทอง ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ เป็นของโกหกของสมมุติ ภาพมายาทั้งนั้น ทุกอย่างไม่ใช่ของจริงเป็นของหลอกลวงที่คนไม่ฉลาดต่างพากันหลงใหลกับสิ่งของสมมุติของโกหก ไม่ว่าอารมณ์ดี อารมณ์ร้าย ก็ไม่ใช่ของเราจริงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากเหตุ(คือ ความไม่รู้ ความอยากได้)
                 ถ้าต้องการดับทุกข์ ต้องดับเหตุก่อน คือ ให้รู้ว่าทั้ง 3 โลก เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงเป็นโทษเป็นทุกข์เป็นปัญหา และสูญสลายตายกันในที่สุด ถ้าเรามีญาณก็จะรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดในชีวิตเราไม่มีการบังเอิญเลย
                ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมพิจารณาร่างกายคนสัตว์ในโลกว่าน่าเกลียดน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภาระต้องดูแลอย่างหนัก เน่าเหม็นแตกสลายตายไปกันหมด ผู้ที่มีศรัทธาแท้คือผู้ที่เชื่อและยอมรับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแทนที่จะเอาความโลภ ความโกรธ ความหลงมาเป็นที่พึ่ง
               ผู้ปฏิบัติตามพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คือ ให้ขยันภาวนา แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงจะน้อยลงและหมดไป
               ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต ผู้ฝึกจิตถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่างจะสงบไม่ได้ และ ไม่สภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว
                โดยเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างแตกสลายตายหมดสิ้นแล้ว จิตก็มีกำลังเปล่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริง ได้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรควรรักษา อะไรควรละทิ้งออกจากจิต ไม่ควรใส่ใจสนใจเรื่องของผู้อื่น
                ควรตั้งใจตรวจสำรวจดูจิตของเราเองว่ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง คิดว่าร่างกายนี้ยังเป็นของจิตหรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตกับกายไม่ใช่อันเดียวกัน เพียงแต่มาอาศัยกันชั่วคราวเท่านั้น
อารมณ์วางเฉยมี 3 อย่าง
1. วางเฉยแบบหยาบ คือ อารมณ์ปุถุชนที่เฉย ๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น
2. วางเฉยแบบกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนา มีความรู้ตัว มีความสงบของจิต วางอารมณ์จากความดี ความชั่ว สุข ๆ ทุกข์ ๆ ใด ๆ ในโลกีย์วิสัย เฉยบ่อยมากขึ้น
3. วางเฉยแบบละเอียด คือ อารมณ์ของพระอริยเจ้า พระอรหันต์ ซึ่งไม่มีอารมณ์สุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว ดีใจปนเสียใจ วิตกกังวลฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่มี ไม่คิดปรุงแต่งไปในอดีต ปัจจุบัน อนาคต มีความวางเฉยในร่างกายของท่านเอง จะเจ็บปวดทรมาน จิตท่านนิ่งเฉยอยู่ในจิตของท่านว่าจิตส่วนจิต กายเป็นเพียงของสมมุติของชั่วคราว ตายเมื่อไร ท่านก็พร้อมที่จะทิ้งรูปนามขันธ์ เสวยวิมุติสุขแดนอมตะทิพย์นิพพานติดตามองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ของดีนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน ของดีนั้นอยู่ที่จิตของท่านทุกท่าน ของไม่ดีอยู่ที่ร่างกาย
จิตมี 3 ขั้น ตรี โท เอก
ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย ยังวุ่นวายเป็นทุกข์กับเรื่องของโลก
ขั้นโท ก็มีศีลครบ มีเมตตา ทำบุญทำทาน
ขั้นเอกนี่ ดีมาก จิตก็มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ สัตว์ นรก เป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วก็ตายสลายผุพังไปกันหมดสิ้น ตัวอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับเอาไว้ให้คงที่ก็ไม่ได้ ตัวนี้แหละเป็นตัวเอก ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นร่างกายคนเรา ตายแน่ ๆ คนเราหนีตายไม่พ้น แม้เพียงวันเดียว

1. ตายน้อย ก็คือ นอนหลับทุกคืน หลับชั่วคราว คือ ตายทุกคืน ตื่นตอนเช้า
2. ตายใหญ่ ก็คือ นอนหลับตลอดกาล แต่จิตไปตื่นตรงที่มีกายใหม่ มีกายใหม่ที่อื่นเป็นกายผี กายสัตว์ กายเทวดา กายพรหม แล้วแต่ผลบุญหรือผลบาปที่ทำไว้ตอนเป็นคน

ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว

http://www.sangthipnipparn.com/luktampratanporn/tampratanporn%20luangpoo%20doo.html

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=22238.0;wap2

บุญจากการขุดบ่อน้ำและให้ทางเป็นสาธารณะประโยชน์


“ท่านไปขุดน้ำกินเสียบ้านเดียว ท่านจะได้อะไรหรือ ขุดบ่อน้ำสาธารณะกินได้ทุกบ้าน ใครมาก็กิน ใครมาก็ใช้ ท่านได้บุญมาก มีถนนส่วนบุคคล ท่านเดินได้เฉพาะบ้านเดียว ไม่สาธารณะแก่คนทั่วไป ท่านจะได้บุญน้อยมาก มีอานิสงส์น้อยมาก นี่เปรียบเทียบถวาย เรื่องจริงเป็นอย่างนั้น”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-pray.html

บทสวดมหาจักรพรรดิ พาหุงมหากา ที่ควรสวดทุกวัน


บทสวดมหาจักรพรรดิ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

(กราบ 3 ครั้ง)
(สวดตามกำลังวัน อาทิตย์ 6 จันทร์ 15 อังคาร 8 พุธ 17
พฤหัส 19 ศุกร์ 21 เสาร์ 10 )

นะโมพุทธายะ พระพุทธะ ไตรรัตนะญาณ
มณีนพรัตน์ สีสะหัสสะ สุธรรมา
พุทโธ ธัมโม สังโฆ ยะธาพุทโมนะ
พุทธะบูชา ธัมมะบูชา สังฆะบูชา
อัคคีทานัง วะรังคันธัง
สีวลี จะมหาเถรัง
อะหังวันทามิ ทูระโต
อะหังวันทามิ ธาตุโย
อะหังวันทามิ สัพพะโส
พุทธะ ธัมมะ สังฆะ ปูเชมิ
อานิสงค์การสวดบทพระบรมมหาจักรพรรดิ
โดยย่อกล่าวคือ

บท นี้เป็นการสวดไหว้พระพุทธเจ้าทั่วทั้งพระนิพพานตลอดจนถึงพระธรรมเจ้าและพระ โพธิสัตว์เจ้า พระอริยสงฆ์สาวกทั้งมวลไหว้พระพุทธเจ้าทั้ง5พระองค์รวมถึงน้อมนำกำลังของเทพ พรหมพระอริยะเจ้าทั้งหลาย
การสวดครั้งหนึงเป็นการดึงกำลังของพระเจ้า จักรพรรดิทุกๆพระองค์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมาร่วมถึงกำลังของพระมหา โพธิสัตว์เจ้ามารวมอารธนาเข้าที่กายและใจและรวมกำลังของพระโพธิญานโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน และอนาคต

การ สวดครั้งหนึงมีอานิสงค์แผ่ไปทั่วจักวาลสามแดนโลกธาตุสามารถแผ่บญไปทั่วทุก สรรพสัตว์ตลอดจนเทวดาประจำตัวเราญาติมิตรเพื่อนฝูงครอบครัวเจ้ากรรมนายเวร และหากนำบทสวดนี้ไปสวดในนรกหรือแผ่ไปไฟนรกจะดับชั่วขณะ

บทนี้เป็นการ สร้างกำแพงแก้วคุ้มกันตัวร่วมถึงการอารธนาบารมีครูบาอาจารย์พระพุทธพระธรรม พระสงฆ์อัญเชิญเข้าตัวเพื่อป้องกันภัยและสร้างมหาโชคมหาลาภ

อานิสงค์ แก่ผู้สวดมีทั่งมหาบุญมหาลาภเนื่องจากมีการกล่าวถึงพระสีวลีร่วมถึงบทนี้มี พลังงานอย่างยิ่งในการเจริญพระกรรมฐานหากนำไปสวดบริกรรมก่อนหรือระหว่างนั่ง ภาวนากรรมฐาน...จะทำให้การภาวนามีพุทธานุภาพมาคลุมและคุมการปฎิบัติของเรา คลุมกายและจิตเราเป็นวิมานทิพย์(ครอบวิมานให้ตัวเองหรือสวดอธิษฐานครอบคน อื่นก็ได้)

หากสวดบทนี้สามารถอฐิษฐานเรื่องราวใดๆมี่ติดข้องใจได้ให้ ผ่านพ้นไปอย่างทะลุปรุโปร่ง กล่าวโดยสรุปได้ว่าคาถาจักรพรรดินี้ จากการเรียบเรียงถ้อยคำโดยหลวงปู่ดู่ท่าน ก่อให้เกิด จักรพรรดิ กำลังจักรพรรดิขึ้นด้วยในบทสวด พระคาถาครอบจักรวาล

บทสวดมนต์นี่เป็นบทสวดที่ดีนะครับ ถ้าใครไม่สบายใจ หรือ เจอสิ่งต่างๆที่ไม่ดี ก็ให้นึกถึงหลวงปู่ดู่ แล้่วท่องบทสวดมนต์นี่นะครับ

นายธรรมะ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก เว็บบอร์ดพลังจิตด้วยครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.bp.or.th/webboard/index.php?topic=22238.0;wap2


บทสวดมนต์ พาหุงหากา

บทสวดมนต์
กราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
นมัสการ (นะโม)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
ไตรสรณคมน์ (พุทธัง ธัมมัง สังฆัง)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉาม
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
พระพุทธคุณ (อิติปิ โส)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
พระธรรมคุณ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก
ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติฯ *
(* อ่านว่า วิญญูฮีติ)
พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย* ปาหุเนยโย* ทักขิเณยโย* อัญชะลี กะระณีโย
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
(อ่านออกเสียง อาหุไนยโย ปาหุไนยโย ทักขิไณยโย โดยสระเอ กึ่งสระไอ)
พุทธชัยมงคลคาถา (พาหุงฯ)
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
                   นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
                  ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
                  เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
                  ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ

อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ

กัตตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง* วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เม ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา โย
วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
* พรัหมัง อ่านว่า พรัมมัง
มหาการุณิโก
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เม ชะยะมังคะลังฯ

ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร อะภิเสเก สัพพะ พุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัมหมะจาริสุ** ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธีเต ปะทักขิณา ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
** พรัหมะ อ่านว่า พรัมมะ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เมฯ
หลังจากสวดมนต์ตั้งแต่ต้นจนจบบทพาหุงมาหากาฯ แล้วก็ให้สวดเฉพาะบทพระพุทธคุณ หรืออิติปิโส ให้ได้จำนวนจบเท่ากับอายุของตนเอง แล้วสวดเพิ่มไปอีกหนึ่งจบ ตัวอย่างเช่น ถ้าอายุ ๓๕ ปี ต้องสวด ๓๖ จบ จากนั้นจึงค่อยแผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล
พุทธคุณเท่าอายุเกิน ๑ (อิติปิโสเท่าอายุ+๑)
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
บทแผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กัน และกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้ พยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

บทอุทิศส่วนกุศล (บทกรวดน้ำ)
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตา ปิตะโร
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจะริยานังโหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจะริยา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ เวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข
อิทัง สัพพะ สัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จ แก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุข

บทสวดมนต์ (แปล)
คำแปลกราบพระรัตนตรัย
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลส เพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน (กราบ)
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ดีแล้ว
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม (กราบ)
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปฏิบัติดีแล้ว
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์ (กราบ)
คำแปลนมัสการ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็น ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง (๓ จบ)
คำแปลไตรสรณคมน์
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก
แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถือเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก
คำแปลพระพุทธคุณ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (ความรู้และความประพฤติ)
เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งไปกว่า
เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เป็นผู้มีความเจริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ดังนี้ฯ
คำแปลพระธรรมคุณ
พระธรรมเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัตึพึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ดังนี้ฯ
คำแปลพระสังฆคุณ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรม เป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัว บุรุษได้ ๘ บุรุษ
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ฯ
คำแปลพุทธชัยมงคลคาถา
๑. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญามารผู้เนรมิตแขนมากตั้งพัน ถืออาวุธครบมือ ขี่คชสารชื่อครีเมขละ พร้อมด้วยเสนา มารโห่ร้องกึกก้อง
ด้วยธรรมวิธี คือ ทรงระลึกถึงพระบารมี ๑๐ ประการ ที่ทรงบำเพ็ญแล้ว มีทานบารมีเป็นต้น
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๒. พระจอมมุนีได้ทรงชนะอาฬวกยักษ์ ผู้มีจิตกระด้าง ดุร้ายเหี้ยมโหด มีฤทธิ์ยิ่งกว่าพญามาร ผู้เข้ามาต่อสู้ยิ่งนัก จนตลอดรุ่ง
ด้วยวิธีที่ทรงฝึกฝนเป็นอันดี คือ ขันติบารมี
(คือ ความอดทน อดกลั้น ซึ่งเป็น ๑ ในพระบารมี ๑๐ ประการ)
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๓. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพญาช้างตัวประเสริฐชื่อ นาฬาคิรี เป็นช้างเมามันยิ่งนัก ดุร้ายประดุจไฟป่า และร้ายแรงดังจักราวุธและสายฟ้า (ขององค์อินทร์) ด้วยวิธีรดลงด้วยน้ำ คือ พระเมตตา
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๔. พระจอมมุนีทรงบันดาลอิทธิฤทธิ์ทางใจอันยอดเยี่ยม ชนะโจรชื่อองคุลิมาล (ผู้มีพวงมาลัย คือ นิ้วมือมนุษย์) แสนร้ายกาจ
มีฝีมือ ถือดาบวิ่งไล่พระองค์ไปสิ้นทาง ๓ โยชน์
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๕. พระจอมมุนีได้ทรงชนะความกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา
ผู้ทำอาการประดุจว่ามีครรภ์ เพราะทำไม้สัณฐานกลม (ผูกติดไว้) ให้เป็นประดุจมีท้อง
ด้วยวิธีสมาธิอันงาม คือ ความสงบระงับพระหฤทัย
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๖. พระจอมมุนี ทรงรุ่งเรืองแล้วด้วยประทีป คือ ปัญญา ได้ชนะสัจจกนิครนถ์
(อ่านว่า สัจจะกะนิครนถ์, นิครนถ์ คือ นักบวชประเภทหนึ่งในสมัยพุทธกาล)
ผู้มีอัชฌาสัยในที่จะสละเสียซึ่งความสัตย์ มุ่งยกถ้อยคำของตนให้สูงล้ำดุจยกธง
เป็นผู้มืดมนยิ่งนัก
ด้วยเทศนาญาณวิธี คือ รู้อัชฌาสัยแล้ว ตรัสเทศนาให้มองเห็นความจริง
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๗. พระจอมมุนีทรงโปรดให้พระโมคคัลลานะเถระพุทธชิโนรส นิรมิตกายเป็นนาคราชไปทรมานพญานาคราช ชื่อ นันโทปนันทะ ผู้มีความหลงผิดมีฤทธิ์มาก
ด้วยวิธีให้ฤทธิ์ที่เหนือกว่าแก่พระเถระ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
๘. พระจอมมุนีได้ทรงชนะพรหมผู้มีนามว่าพกาพรหม ผู้มีฤทธิ์ สำคัญตนว่าเป็นผู้รุ่งเรืองด้วยคุณอันบริสุทธิ์ มีความเห็นผิดประดุจถูกงูรัดมือไว้อย่างแน่นแฟ้นแล้ว
ด้วยวิธีวางยาอันพิเศษ คือ เทศนาญาณ
ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น
นรชนใดมีปัญญา ไม่เกียจคร้าน สวดก็ดี ระลึกก็ดี ซึ่งพระพุทธชัยมงคล ๘ บทนี้ทุก ๆ วัน
นรชนนั้นจะพึงละเสียได้ ซึ่งอุปัทวันตรายทั้งหลายมีประการต่าง ๆ
เป็นอเนกและถึงซึ่งวิโมกข์ (คือ ความหลุดพ้น) อันเป็นบรมสุขแล
คำแปลมหาการุณิโก
ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายทั้งปวงให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพ
สัตว์ทั้งหลาย ได้บรรลุสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน
ขอท่านจงมีชัยชนะ ดุจพระจอมมุนีที่ทรงชนะมาร ที่โคนโพธิพฤกษ์ ถึงความเป็นผู้เลิศในสรรพพุทธาภิเษก ทรงปราโมทย์อยู่บนอปราชิตบัลลังก์อันสูง เป็นจอมมหาปฐพี ทรงเพิ่มพูนความยินดีแก่ เหล่าประยูรญาติศากยวงศ์ฉะนั้นเทอญ
เวลาที่ “สัตว์” (หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์และสรรพสัตว์) ประพฤติชอบ ชื่อว่า ฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี และขณะดี ครู่ดี บูชาดีแล้ว ในพรหมจารีบุคคลทั้งหลาย กายกรรม เป็นประทักษิณ วจีกรรม เป็นประทักษิณ มโนกรรม เป็นประทักษิณ ความปรารถนาของท่านเป็นประทักษิณ สัตว์ทั้งหลายทำกรรม อันเป็นประทักษิณแล้ว ย่อมได้ประโยชน์ทั้งหลาย อันเป็น ประทักษิณ*
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคลจงมีแก่ท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ
ขอสรรพมงคลจงมีแกท่าน ขอเหล่าเทวดาทั้งปวงจงรักษาท่าน
ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์ ขอความสวัสดีทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

หมายเหตุ ประทักษิณ หมายถึง การกระทำความดีด้วย ความเคารพ โดยใช้มือขวาหรือแขนด้านขวา หรือที่หลายท่าน เรียกว่า “ส่วนเบื้องขวา” ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่มีมาช้านานแล้ว ซึ่งพวกพราหมณ์ถือว่า การประทักษิณ คือ การเดินเวียนขวารอบสิ่งศักดิ์สิทธิ์และบุคคลที่ตนเคารพนั้น เป็นการให้เกียรติ และเป็นการแสดงความเคารพสูงสุด เป็นมงคลสูงสุด เพราะฉะนั้นบาลีที่แสดงไว้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ความปรารถนาและการที่กระทำกรรมทั้งหลาย เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวานั้น จึงหมายถึงการทำการพูดการคิดที่เป็นมงคล และผลที่ได้รับก็เป็นประทักษิณ อันเป็นส่วนเบื้องขวาหรือเวียนขวา ก็หมายถึงได้รับผลที่เป็นมงคลอันสูงสุดนั่นแลฯ

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.jarun.org/v6/th/dhamma-pray.html

คำสอนหลวงปู่ดู่ การอนุโมนาบุญ และการปฏิบัติ

โมทนาบุญ
ผู้ที่มาทำบุญที่วัดบางครั้งมาคนเดียว มาหลายคน หรือมากับครอบครัว บางท่านมีศรัทธามากทำบุญอย่างสม่ำเสมอ แต่เกิดอุปสรรคจากสามีหรือภรรยา หรือพ่อแม่ไม่เห็นดีด้วย บางคนถึงกับออกปากว่า
"พระมีเฉพาะที่วัดสะแกหรือไง เจ้าอาวาสยังหนุ่มใช่ไหม"
ร้อยสรรพันเรื่องที่หยิบยกขึ้นมา ผู้ที่ต้องการบุญจึงเกิดความไม่สบายใจ เพราะต้องการให้เขาเหล่านั้นได้รับกุศลไปด้วย จึงมาเรียนถามความเห็นของหลวงปู่ ซึ่งท่านตอบว่า
"คนที่เข้าใจก็เห็นด้วย คนที่ไม่เข้าใจก็ไม่เห็นด้วย เอาอย่างนี้ พอทำบุญหลายๆ ครั้งรวมเป็นครั้งเดียวไปบอกให้เขาโมทนาซะ ว่าฉันไปทำบุญมา ขอให้โมทนาด้วย"
ผู้ถามถามต่ออีกว่า ถ้าต้องการให้ผู้ที่ไม่สนใจมาทางเดียวกัน ควรจะทำอย่างไร หลวงปู่ตอบว่า
"พอเวลาทำบุญก็ให้บุญกับเขา เรียกกายทิพย์เขามารับบุญ เขาเรียกว่าให้บุญใน หรือให้ทางใน นานไปเขาก็เปลี่ยนไปเอง หรือเราจะให้กับคนที่เขาโกรธเรา อาฆาตพยาบาทตัวเราก็ได้"
หลวงปู่ยังได้โยงไปถึงการให้บุญกับผู้อื่นอีก
"บุญเป็นของดี เราให้ใครก็ได้ ไม่ว่าเจ้านาย ลูกน้อง หรือคนที่เราจะไปติดต่อขอความช่วยเหลือ ได้ทั้งนั้น
บุญคือความสบายใจ การสร้างบุญโดยการให้ด้วยจิตใจที่เมตตา คือเป็นคนกล่อมเกลาจิตใจไปในตัว และเป็นการปฏิบัติธรรมอีกอย่างหนึ่งด้วย"
ไม่ต้องลอง
บ่อยครั้งที่มีผู้ต้องการปฏิบัติไปกราบนมัสการและแจ้งความประสงค์ขอปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องที่หลวงปู่ยินดีมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งมีผู้มาขอปฏิบัติกับท่านโดยพูดว่า
"ผมอยากมาลองปฏิบัติดู เขาว่าทำแล้วดี"
หลวงปู่ท่านรีบตอบว่า
"ไม่ต้องลอง ทำเลย ขืนลองก็ไม่เจอของดีสักที ธรรมะไม่ใช่ของลอง เป็นของให้ทำจึงจะเห็นผล"
ผู้เขียน "หลวงปู่มีวิธีการหรือหลักการอย่างไรในการเผยแพร่กับหมู่คณะที่มาปฏิบัติ"
หลวงปู่ "เราไม่ใช่อาจารย์ เราแอบทำเพราะเราไม่สามารถประกาศได้มากกว่านี้ เพียงแต่ข้าตั้งจิตอธิษฐานว่าคนใดก็ตามที่เคยทำบุญร่วมกันมา ขอให้ได้มาพบกันแล้วมาปฏิบัติธรรมเพื่อให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่ได้ชาตินี้ ก็ให้ได้ชาติต่อๆ ไป บางคนเขามาแล้วก็เลยไปยังไม่ทันได้ชิม บางคนชิมแล้วยังไม่ทานก็ไป แสดงว่าเขาไม่ได้ทำบุญร่วมกับเรามาก็แค่นั้น"
ผู้เขียน "บางครั้งพระที่ดี คนในท้องถิ่นมักจะไม่ได้ของดีอย่างเช่น หลวงปู่ปาน"
หลวงปู่ "แล้วแต่บุญของเขา อย่างพระของข้า ข้าก็แจกๆ กันไป คนไกลเขาก็ได้กัน คนใกล้ไม่ค่อยได้"
ผู้เขียน "อย่างนี้เขาเรียกว่า ใกล้เกลือกินด่างใช่ไหมครับ"
หลวงปู่ "ใกล้เกลือตีนด่าง เพราะมันเหยียบเลย ข้าโดนมาโชกแล้ว แต่ข้าไม่สนใจ ดีชั่วอยู่ที่ตัวเรา ไม่ได้อยู่ที่คนอื่น เรื่องของบุญใครทำใครได้ ทำให้กันไม่ได้ เหมือนกับใครหิวข้าวก็ต้องกินเอง ใครกินใครอิ่ม บางคนต้องจ้างให้มาวัด แต่ก็มาไม่ถึงวัด เพราะแวะกินเหล้าข้างทาง บางทีให้ปฏิบัติแต่จะหวังรางวัลที่หนึ่ง หรือถูกหวย นั่นเละแล้ว ไม่ได้เรื่องแล้ว"
หลวงปู่ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการปฏิบัติที่แท้จริง ไม่ใช่ปฏิบัติเพียงหลอกๆ จึงจะเจอของจริงได้ เมื่อใดก็ตามที่เราเห็นความสำคัญของการปฏิบัติเหมือนกับการกินข้าว เหมือนกับลมหายใจ แสดงว่าเรามีที่พึ่งสำหรับตนเองแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบ http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_doo/lp-doo-05.htm และเจ้าของรูปครับ

 

พุทธวงศ์ อายุขัยของมนุษย์ ภัยธรรมชาติ หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ


*หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ*




*****   ภัยธรรมชาติ   *****



.....................คำปรารภ................

.........หนังสือเรื่อง "พุทธวงศ์ อายุขัยของมนุษย์ ภัยธรรมชาติ" เล่มนี้
ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงขึ้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาและพิจารณาเปรียบเทียบกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันที่
กำลังเกิดขึ้น ตามสถานที่ต่างๆทั่วโลก ภัยธรรมชาติประเภทต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น จะมีความรุนแรงมากขึ้น
ที่ยัง ไม่ทันเกิดก็จะเกิดในไม่ช้านี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย เป็นไปตามธรรมชาติในตัว ของมันเอง
ไม่มีใครมีอำนาจควบคุมหรือบังคับสั่งการอะไรได้

.........หากท่านผู้อ่านได้รับทราบเรื่องราวที่มีในหนังสือเล่มนี้ ถ้ามีข้อสงสัยประการใด สามารถ ติดต่อสอบถาม
กับข้าพเจ้าได้โดยตรง ข้าพเจ้ายินดีที่จะให้ความกระจ่างในทุกเรื่องที่ได้เรียบเรียง ลงในหนังสือเล่มนี้

.........ผู้มีปัญญาย่อมไม่ตั้งตนอยู่ในความประมาท สิ่งที่ผ่านมาก็ผ่านไปแล้ว ไม่สามารถแก้ไข อะไรได้
ขอให้ทุกท่านได้ใช้เวลาที่มีอยู่ สร้างบุญกุศลบารมีตัวเองเอาไว้ให้มาก พวกเรามีโอกาส ได้เกิดมา
ในยุคสมัยที่พระพุทธศาสนายังคงความบริบูรณ์อยู่ จงพากันตั้งใจหมั่นสร้างเสริมบุญบารมี ทาน ศีล
 และภาวนา ให้ถึงพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อเป็นเหตุเป็นปัจจัยนำพาท่านทั้งหลายข้ามพ้นวัฏฏะ อันเต็ม
ไปด้วยความระทมทุกข์ ไปสู่ฝั่งพระนิพพานดังที่ได้ปรารถนาไว้โดยเร็วพลันด้วยเทอญ


พระปัญญาพิศาลเถร
(พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ)


Rin:
พุทธวงศ์



.....ความเป็นอยู่ของโลก มีความเป็นมายาวนาน มนุษย์ที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้ก็มีความเป็นอยู่ที่ ยาวนานเช่นกัน โลกนี้เกิดขึ้นมาแต่เมื่อไรมนุษย์ก็มีอยู่ในโลกนี้มาแต่เมื่อนั้น มนุษย์สามัญชน ธรรมดาไม่มีใครรู้ได้ ผู้จะรู้ความเป็นอยู่ของโลกและหมู่มนุษย์ได้ มีเฉพาะพระพุทธเจ้าองค์เดียว เท่านั้น เพราะพระพุทธเจ้ามีญาณหยั่งรู้ในเรื่องของโลกและมวลหมู่มนุษย์ได้อย่างแจ่ม แจ้งถูกต้อง ชัดเจน ...

หลายๆท่านได้ศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์มาอย่าง ไร ก็ได้คำนวณคาดการณ์ไปว่า โลกได้เกิด ขึ้นแต่เมื่อนั้น หมู่มนุษย์ได้เกิดขึ้นในยุคนั้นยุคนี้ไป มีหนังสือออกเผยแพร่ให้คนทั้งหลายได้รู้กัน ทั่วโลก และมีคนทั้งหลายให้ความเชื่อถือว่าเป็นจริงอย่างนี้และมีเหตุผลต่างๆเอามา เปรียบเทียบ เป็นข้อคิดให้เชื่อตาม จึงเชื่อกันไปตามพวกฝรั่งที่เขียนเอาไว้ และยังมีความเข้าใจว่าในจักรวาล อื่นหรือดาวต่างๆอาจจะมีสัตว์หรือมนุษย์ต่างดาวพอที่จะไปสัมผัสได้ จึงพากันเชื่อเครื่องมือทาง วิทยาศาสตร์อันทันสมัย เพื่อออกไปสำรวจดูตามความเข้าใจของตัวเอง นานหลายปีก็ไม่มีมนุษย์ ต่างดาวตามที่เข้าใจแต่อย่างใด ผู้ไม่มีเหตุผลเพื่อการศึกษา ก็มีความเชื่อตามๆกันไป เพราะเชื่อตามการวิจัยวิเคราะห์ของพวกฝรั่งที่ได้คำนวณเอาไว้ ในบางเรื่องพอเชื่อได้ ในบางเรื่องเชื่อไม่ได้ ...ถึงข้าพเจ้าจะยกบุคคลขึ้นมาเป็นองค์ประกอบที่ชอบด้วยเหตุผล หลายๆคนก็จะไม่เชื่อถืออยู่นั่น เอง และมีความสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไรเพราะในยุคนี้มีน้อยคนที่จะรู้ประวัติของ พระพุทธเจ้าทั้ง หมดได้

ข้าพเจ้าเองก็ได้ศึกษาประวัติของพระ พุทธเจ้ามา ถึงจะไม่รู้ทั้งหมดในคำสอนของพระ พุทธเจ้า ก็พอจะนำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาอธิบายให้ท่านรู้อยู่บ้าง ขอให้ท่านได้รับรู้กันด้วย เหตุและผล เรื่องที่ข้าพเจ้าจะนำมาอธิบายให้ท่านรู้ในขณะนี้มีเหตุผลเชื่อถือได้เพียง ใด ให้เราทั้ง หลายใช้ปัญญาพิจารณาตรึกตรองดู ก็จะรู้ด้วยเหตุผลว่าโลกและมนุษย์มีความเกิดขึ้นจนถึงปัจจุบัน มีความยาวนานเท่าไร ให้จินตนาการดูก็จะรู้และมีความเข้าใจในโลกมนุษย์นี้เป็นอย่างดี มิใช่ว่าจะ เชื่อตามคนอื่นไปเสียทั้งหมด สิ่งใดควรเชื่อถือได้หรือเชื่อถือไม่ได้ ต้องใช้เหตุผลของตัวเอง เป็นหลักสำคัญ ไม่เช่นนั้นจะเป็นนิสัยเชื่ออะไรที่งมงายไร้เหตุผลตลอดไป ...ในโลกนี้มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้นที่มีญาณวิเศษรู้เห็น ว่าโลกทั้งสามนี้เกิดขึ้นแต่เมื่อไร พระสาวกทั้งหลายไม่มีญาณหยั่งรู้เหมือนพระพุทธเจ้าได้ ที่เรียกว่าโลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลกทั้งหมด รู้ความเป็นมาของโลกในอดีตถึงปัจจุบัน และรู้ความเป็นไปในเรื่องอนาคตของโลกนี้อย่างทั่วถึง ความรู้แจ้งโลกนี้ จะมีเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น บรรดาพระอริยสาวกทั้งหลายมี ปัญญาญาณในการละกิเลสเท่านั้นพระพุทธองค์จึงเป็นครูสอนเทวดา มาร พรหม และมนุษย์ทั้งหลาย ....

พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ในโลกนี้มีอยู่แสนโกฏิจักรวาล โลกที่พวกเราอาศัยอยู่ในขณะนี้ เป็น จักรวาลหนึ่งที่ตั้งอยู่ในท่ามกลางของแสนโกฏิจักรวาล และมีจักรวาลเดียวเท่านั้นที่มีสัตว์ประกอบ ด้วยธาตุสี่อาศัยอยู่ได้ มีการสืบพันธุ์ต่อกันได้ มีอาหารการกินที่สมบูรณ์ จะมีเฉพาะโลกมนุษย์ที่ อาศัยอยู่แห่งเดียวเท่านั้น ในจักรวาลอื่นไม่มีสัตว์ที่มีธาตุสี่อาศัยอยู่ได้เลย เพราะจักรวาลอื่นไม่มี พืชพันธุ์ธัญญาหารให้สัตว์โลกที่มีธาตุสี่อยู่กินและสืบพันธุ์ต่อกันเหมือน โลกมนุษย์แต่อย่างใด ใน จักรวาลอื่นเป็นเพียงจิตวิญญาณที่มีกรรมดีกรรมชั่วไปอาศัยอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เท่านั้น เมื่อถึงกาล เวลากรรมที่ทำไว้หมดไป ก็จะได้กลับมาเกิดใหม่ในโลกมนุษย์นี้อีก จึงเป็นวัฏจักรหมุนเวียนเกิด ตายในโลกนี้ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ....เรื่องของกรรมในศาสนาพุทธไม่เหมือนศาสนาอื่น ที่ทำกรรมชั่วเอาไว้แล้วทำพิธีล้างบาป ตาย แล้วได้ไปอยู่กับพระเจ้าตราบชั่วนิรันดร์ หลักของศาสนาพุทธไม่มีการล้างบาป ผู้ทำบาปต้องได้ รับผลของบาป กรรมดีกรรมชั่วเป็นตัวกำหนดให้เป็นไป เว้นเฉพาะผู้ที่สิ้นอาสวะกิเลสเท่านั้นที่ไม่ ได้มาเกิดในภพทั้งสามนี้อีกต่อไป ....

พระพุทธเจ้าที่อุบัติเกิดขึ้น บนโลกนี้ในอดีตที่ผ่านมามีเป็นจำนวนมาก ทุกพระองค์ล้วนแล้วได้ มาอุบัติเกิดขึ้นในโลกมนุษย์นี้ทั้งนั้นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน หรือพระศรีอาริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าองค์ต่อๆไป มีจำนวนมาก ทุกๆพระองค์ก็จะมาบำเพ็ญบารมีในโลกมนุษย์นี้ด้วยกัน เป็น ปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะ วิริยาธิกะ ให้สมบูรณ์ในโลกมนุษย์นี้ และได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าใน โลกนี้เช่นกัน ....ฉะนั้นจักรวาลที่โลกมนุษย์อาศัยอยู่ จึงเป็นศูนย์กลางของจักรวาลทั้งหลาย ผู้จะทำกรรมดี กรรมชั่ว ก็ต้องทำในจักรวาลนี้ทั้งนั้น เมื่อทำกรรมดี จิตวิญญาณก็ส่งผลให้ไปอยู่ในจักรวาลอื่นๆ ที่เรียกว่าเทวโลกหรือพรหมโลกในชั่วระยะหนึ่ง เมื่อบุญกุศลได้หมดไปก็ได้กลับมาเกิดในโลก มนุษย์นี้อีก หรือทำกรรมชั่วเอาไว้ จิตวิญญาณก็จะได้รับผลในอบายภูมิ คือ นรก เปรต สัตว์ดิรัจฉาน อสุรกาย เมื่อกรรมชั่วหมดไปก็จะไก้กลับมาเกิดในโลกมนุษย์นี้อีก จึงเป็นวัฏจักรที่จิตวิญญาณ ต้องหมุนเวียนไปมา ตามกรรมที่ทำไว้แล้ว เว้นแต่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอริยเจ้า ผู้สิ้นอาสวะกิเลสได้แล้วอย่างสมบูรณ์เท่านั้น จึงไม่มีการเกิดในโลกทั้งสามนี้อีกต่อไป นี้เป็นหลัก ของพระพุทธเจ้าที่พร้อมด้วยเหตุและผล ....

ดังที่พระพุทธเจ้าได้ตรัส ไว้ว่า ในโลกมนุษย์นี้ หากมีการประดับประดาให้สุดสวยงามงอนเหมือน ราชรถก็ย่อมทำได้ พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า ..."คนเขลาเท่านั้นข้องอยู่ คนฉลาดหาข้องอยู่ไม่"..   ....เมื่อเราได้รับรู้ในคำตรัสของพระพุทธเจ้าแล้วอย่างนี้ เรามีความคิดเห็นเป็นประการใด ให้เราใช้ปัญญา พิจารณาดูตัวเองบ้าง อาจสำนึกได้ว่าเราเป็นผู้ฉลาดหรือเป็นคนเขลากันแน่ ถ้ารู้ตัวเองว่าเป็นคนเขลา เราจะฝึกสติปัญญามาสอนใจให้มีความฉลาดรอบรู้ตามความเป็นจริงได้อย่างไร ให้ใจมีความฉลาด รอบรู้ในหลักสัจจธรรมเอาไว้บ้าง ถ้ารู้ตัวเองว่าเป็นคนเขลา เราจะหาวิธีฝึกใจให้มีความฉลาดได้ ....ถ้าเข้าใจว่าตัวเองเป็นผู้ฉลาด โอกาสที่จะเป็นคนเขลานั้นมีสูง หายากมากที่คนเราเกิดมาจะมีความฉลาด มาพร้อมกัน จะต้องมีความเขลาติดตัวมาด้วย แล้วฝึกความฉลาดให้เกิดขึ้นในภายหลัง หรือเหมือนที่คนเกิดมาจะมีความดีถูกต้องไปเสียทั้งหมด ย่อมเป็นไปไม่ได้ ทุกคนย่อมมีการทำผิด และพูดผิดมาก่อน แล้วนำมาเป็นบทเรียนเพื่อแก้ไขตัวเองให้มีการทำและการพูดที่ถูกในภายหลัง ....

พระพุทธเจ้าเอาสัจธรรมมาสอนในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย มิใช่ว่าพระองค์จะเอามาจากที่อื่น เพราะ สัจธรรมความจริงมีอยู่ใตวเราอยู่แล้ว แต่เราไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม จึงได้เกิดความหลงและเกิดความ เข้าใจผิดคิดว่าสมบัติทั้งหลายเป็นของของเรา จึงเอาสมบัติของโลกมาทับถมใจตัวเองให้เกิดความทุกข์ หรือเรียกว่าแสวงหาความสุขในเหตุที่เป็นทุกข์ฉะนั้น พระธรรมจึงเป็นของเก่ามีมาพร้อมกันกับมวล หมู่มนุษย์ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ผ่านมาก็เอาสัจธรรมความจริงที่มีอยู่ในตัวของ มนุษย์ทั้งหลาย นำมาสอนให้มนุษย์มีความรู้เห็นที่ถูกต้องในความจริง จึงเรียกว่า พระพุทธเจ้าได้ ค้นพบหลักสัจธรรมในหมู่มนุษย์ แล้วสอนให้ทุกคนดูสัจธรรมที่มีอยู่ในตัวเอง ว่าทุกอย่างมีความ เป็นจริงอย่างนี้ด้วยสติปัญญาเฉพาะตัว 
Rin:
อายุขัยของมนุษย์


....เมื่อพูดถึงเรื่องพระพุทธเจ้าที่ได้อุบัติเกิดขึ้นในโลกนี้หลาย
พระองค์ที่ผ่านมา หลายคนอาจมีความ สงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร ก่อนจะอธิบายประวัติของพระพุทธเจ้า
ให้ท่านได้รู้ จำเป็นต้องอธิบายใน ความเป็นอยู่ของโลกมนุษย์ที่เราอาศัยอยู่ให้เข้าใจ เพราะพระพุทธเจ้า
ที่ได้อุบัติเกิดขึ้นในโลกนี้ มนุษย์มีอายุขัยแต่ละยุคแต่ละสมัยไม่เท่ากัน
  บางยุคมนุษย์มีอายุขัยน้อย บางยุคมีอายุขัยมากไม่เท่ากัน พระพุทธเจ้าก็ต้อง
มีอายุขัยที่เป็นไปใน หมู่มนุษย์ตามยุคนั้นๆ อายุขัยของหมู่มนุษย์ไม่เท่ากัน เพราะเป็นกฎเกณฑ์ของ
ธรรมชาติต้องเป็น อย่างนี้ มนุษย์ในยุคปัจจุบันนี้อาจไม่รู้หรือไม่เชื่อว่าเป็นไปได้ถึงอย่างไรขอให้ท่าน
ได้พิจารณา ด้วยปัญญาที่มีเหตุผล อย่าเพิ่งปฏิเสธว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นไปแล้วในอดีตที่ผ่านมา ถ้าผู้ได้ ศึกษา
หนังสือพุทธวงศ์ จะรู้ในเรื่องของพระพุทธเจ้าแต่ละยุคได้ดีและมีความเข้าใจในอายุขัยของ หมู่มนุษย์ในยุคนั้นๆ

....อายุขัยของมนุษย์แต่ละยุคไม่เท่ากัน ในบางยุคมนุษย์มีอายุขัยขาขึ้น ในบางยุคมนุษย์มีอายุขัย ขาลง
 มนุษย์มีอายุขัยขาขึ้นมีอายุขัยขาลงเป็นอย่างไรท่านจะได้รู้ในหนังสือเล่มนี้ พระพุทธเจ้าที่มา
อุบัติเกิดขึ้นในโลกก็จะอธิบายเอาไว้พอเป็นตัวอย่าง คำว่า มนุษย์มีอายุขัยขาขึ้นและขาลงมีเพดาน กฎเกณฑ์
เอาไว้ดังนี้

....มนุษย์มีอายุขัยขาขึ้น หมายถึง ยุคมนุษย์ที่มีอายุขัยยาวนานที่สุด ๑ ล้านปี เป็นอายุขัย
อายุขัยของมนุษย์ขาลงต่ำสุดมี ๑๐ ปีเป็นอายุขัย... อายุขัยขาขึ้นและขาลงจะเป็น
กฎธรรมชาติในตัวมันเอง มนุษย์ทั้งหลายจะมีอายุขัยเป็นไปตามกฎเกณฑ์ ของธรรมชาตินี้ด้วยกัน
เรียกว่ากฎเกณฑ์ของอายุขัย ไม่มีสิ่งใดๆเปลี่ยนแปลงได้เลย มนุษย์และสัตว์ จะเป็นไปตามธรรมชาติ
 เป็นวัฏจักรหมุนเวียนวนไปมาอยู่อย่างนี้ เมื่อมนุษย์มีอายุขัยขาขึ้น รูปร่าง สูงใหญ่ไปตามอายุขัย
ที่มากขึ้น เมื่อมนุษย์มีอายุขัยขาลง รูปร่างก็เตี้ยและเล็กลงตามอายุขัยในยุคนั้นๆ

....การคำนวณอายุขัยของมนุษย์ขาขึ้นและขาลงมีดังนี้ สมมติว่ามนุษย์มีอายุขัย ๑๐ ปีตาย อีก ๑๐๐ ปี
อายุขัยเพิ่มขึ้น ๑ ปี เป็น ๑๑ ปีเป็นอายุขัย อีก ๑๐๐ ปี อายุขัยเพิ่มขึ้น ๑ ปี มนุษย์จะมีอายุขัย ๑๒ ปีตาย
 ๑๐๐ ปีอายุขัยเพิ่ม ๑ ปี เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ มนุษย์จะมีอายุขัย ๒๐ ปีตาย ๑๐๐ ปีตาย
 ๑ พันปีตาย ๑ หมื่นปีตาย ๑ แสนปีตาย ๑ ล้านปีตาย นี้เป็นเพดานสูงสุดในอายุขัยของมนุษย์ในยุคนั้นๆ

....จากนั้นก็จะเกิดอาเพท มีความประมาทในชืวิต อายุขัยก็จะถอยกลับลงมา ๑๐๐ ปี อายุขัยของ มนุษย์จะ
ลดลง ๑ ปี ๑๐๐ ปีอายุขัยลดลง ๑ ปี ลดลงเรื่อยๆจนอายุขัย ๑ แสนปี ๑ หมื่นปี ๑ พันปี ๑๐๐ ปี
และลงสู่อายุขัย ๑๐ ปี ซึ่งจะมีอายุขัยเพิ่มขึ้นและลดลงอยู่อย่างนี้ เรียกว่า วัฏจักรอายุขัย
 ของหมู่มนุษย์ทั้งหลาย

....ในหลักธรรมชาตินี้มีพระพุทธเจ้าเท่านั้นได้รู้ด้วยญาณของพระองค์เอง จึงเป็นโลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
อย่างเปิดเผยด้วยญาณรู้ของพระองค์ นี่ก็เป็นหลักสัจธรรมที่เป็นจริง เราทั้งหลายควรศึกษาให้รู้เอาไว้
หรือเอามาเป็นอุบายสอนใจตัวเองว่า วัฏจักรของชีวิตมีความเป็นอยู่อย่างนี้ ไม่มีสิ่งใด
ถาวรเที่ยงแท้แน่นอนได้ เพราะทุกอย่างตกอยู่ในอนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ด้วยกันทั้งนั้น

....มีเหตุผลประกอบอีกเรื่องเกี่ยวกับอายุขัยของมนุษย์ที่มีขาขึ้นขาลง ในหลักของพระพุทธศาสนา
จะอธิบายเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีตที่ผ่านมา ให้เราได้ศึกษาเอาไว้เพื่อประกอบการวินิจฉัย
ในอายุขัย ของหมู่มนุษย์ทั้งหลายที่ผ่านมา ให้รู้ว่าอายุขัยของมนุษย์ในยุคนั้นเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าที่อุบัติ
 เกิดขึ้นในโลกนี้มีจำนวนมาก พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ในโลกมนุษย์นี้เท่านั้น แต่ละองค์มาตรัสรู้เป็น
เวลาห่างกันมาก ในภัทรกัปหนึ่งๆมีเวลายาวนาน ถึงจะมีภัทรกัปเท่ากันในบางภัทรกัปพระพุทธเจ้า
 มาตรัสรู้ ๑ องค์ เมื่อโปรดสัตว์แล้วก็นิพพาน ต่อจากนั้นก็จะเป็นสุญกัป เป็นกัปที่ว่างจากพุทธศาสนา
 เป็นเวลาอันยาวนาน ในบางภัทรกัปมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ๓ องค์ ความว่างเป็นสุญกัปก็น้อยลง

Rin:
....ขอยกตัวอย่างในภัทรกัปปัจจุบันนี้มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ร่วมสมัยมี ๕ พระองค์ด้วยกัน แต่ละพระองค์
ได้มาอุบัติเกิดขึ้นในโลกนี้มีอายุขัยไม่เท่ากัน

....พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ พระกกุสันโธ พระองค์ได้มาอุบัติเกิดขึ้นในโลก ช่วงนั้นมนุษย์
มีอายุขัย ๔ หมื่นปี เมื่อพระองค์ทำพุทธกิจเสร็จแล้วก็เข้าสู่พระนิพพาน จากนั้นมาเป็นสุญกัป เป็น
กัปที่ว่างจากพระพุทธศาสนา อายุขัยของมนุษย์ในยุคนั้นมี ๔ หมื่นปี ๑๐๐ ปีอายุขัยของมนุษย์ดลดลง
๑ ปี ลดลงเรื่อยๆจนถึงมนุษย์ในยุคต่อมา มีอายุขัย ๓ หมื่นปี ในยุคนี้มี พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒
พระโกนาคมะโน ได้มาอุบัติเกิดขึ้นในโลก เมื่อพระองค์ทำพุทธกิจเสร็จแล้วก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน

....จากนั้นมาก็เป็นสุญกัป เป็นกัปที่ว่างจากพระพุทธศาสนา อายุขัยของมนุษย์ลดลง ๑๐๐ ปี
อายุขัยของมนุษย์ลดลง ๑ ปี ลดลงเรื่อยๆ ในยุคต่อมามนุษย์มีอายุขัย ๒ หมื่นปี ในยุคนั้นมี
พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ พระกัสโป ได้มาอุบัติเกิดขึ้นในโลก เมื่อพระองค์ทำพุทธกิจเสร็จแล้ว
ก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน อายุขัยของมนุษย์ก็ลดลงเรื่อยๆ ๑๐๐ ปีลดลง ๑ ปี จนถึงอายุขัยของ
มนุษย์ในยุคนั้น ๑๐๐ ปีเป็นอายุขัย ในยุคนี้ มี พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ พระสมณโคดม (องค์ปัจจุบัน)
ได้มาอุบัติเกิดขึ้นในโลก เมื่อพระองค์ทำพุทธกิจเสร็จแล้วก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน

....พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้วางศาสนาต่อเอาไว้อีก ๕ พันปี ขณะนี้พระพุทธศาสนามาถึง ๒๕๕๐ ปี
อีก ๒๔๕๐ ปี พระพุทธศาสนาจะสูญไปจากโลกนี้ จากนั้นจะเป็นสุญกัปเป็นกัปที่ว่างจากพระพุทธศาสนา
ยาวนาน คำว่า "ว่าง" คือไม่มีใครรู้ในพุทธวจนะ ไม่รู้ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นเอง
ถึงพระพุทธศาสนาจะหมดไปจากโลกนี้แล้วก็ตาม แต่สัจธรรมคือความจริงยังมีอยู่ในโลกนี้ แต่ไม่มีใครรู้
เหมือนยุคสมัยก่อนที่พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ ในยุคนั้นมีสัจธรรมอยู่ประจำโลก แต่ก็ไม่มีใครรู้
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว จึงนำเอาสัจธรรมคือความจริงนั้นๆมาประกาศให้คนได้รู้ในภายหลัง
เป็นอันว่าในภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าได้มาตรัสรู้โปรดสัตว์แล้ว ๔ พระองค์ (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕
คือ พระศรีอาริยเมตไตรย์ ยังไม่มาอุบัติในช่วงนี้)

....กฎเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าจะได้มาอุบัติเกิดขึ้นในโลกมนุษย์นี้ จะมีอยู่ในช่วงอายุขัยของมนุษย์ขาลง
เท่านั้น และอายุขัยของมนุษย์ไม่เกิน ๑ แสนปี และมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี

....จากนี้ไป อายุขัยของมนุษย์จะลดลงเรื่อยๆ ๑๐๐ ปี ลดลง ๑ ปี เมื่อมนุษย์มีอายุขัย ๕๐ ปี
พระพุทธศาสนาก็จะสิ้นสุดลง นับจากนี้ไปอีก ๖ พันกว่าปี มนุษย์จะมีอายุขัย ๑๐ ปีตาย ในยุคนั้น
หนุ่มสาวจะแต่งงานกันเมื่ออายุ ๓ ปี ตั้งครรภ์ ๓ เดือน นับจากวันนี้ไปถึงวันนั้นยาวนาน มนุษย์ทั้งหลาย
ทั่วโลกจะมีอายุขัยในช่วงเดียวกันทั้งหมด นี้เป็นหลักพุทธศาสตร์ ถ้าหากชาวพุทธได้ศึกษาในพระ
พุทธศาสนาดีแล้วจะรู้เรื่องนี้ดี ที่พวกฝรั่งจะทำให้อายุขัยของมนุษย์ยืนยาวออกไปนั้น เป็นความคิด
ความเห็นของท่านเหล่านั้น เมื่อหลักพุทธศาสตร์กับหลักวิทยาศาสตร์ไม่ตรงกันอย่างนี้ เราจะเชื่อ
ฝ่ายไหน ให้เราวินิจฉัยใช้สติปัญญาคิดพิจารณาในเหตุผลและตัดสินใจเชื่อด้วยตัวเองก็แล้วกัน

....เมื่อถึงยุคมนุษย์มีอายุขัย ๑๐ ปีตาย จะเกิดกลียุค เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมยุคใหม่ เป็นสังคมมนุษย์
ที่มีอายุขัยขาขึ้น ก่อนจะเกิดสังคมมนุษย์ในยุคใหม่จะเป็นไปตามธรรมชาติของมนุษย์ในยุคนั้นๆ
ทุกคนไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป จึงฆ่ากันด้วยอาวุธต่างๆ เห็นกันอยู่ที่ไหนจะฆ่ากันในทันที ไม่มีใคร
ยอมใคร ผัวเมียและทุกๆคนจะมีความเห็นว่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป

....ก่อนที่จะเกิดกลียุคประมาณ ๑๐ ปี จะมีเทพอีกกลุ่มหนึ่ง ที่จะมาสืบทอดสังคมในยุคนั้น จะพากัน
ลงมาเกิดในสังคมที่มีอายุขัย ๑๐ ปีนี้มากมาย แล้วจึงได้เกิดกลียุคขึ้นกลุ่มเทพที่เกิดมาก็พากันหลบหนี
ไปอยู่ที่ปลอดภัย ปล่อยให้พ่อแม่ญาติทั้งหลายฆ่ากันตายหมดแล้ว จะมีฝนตกลงมาชะล้างซากศพ
คราบเลือดกลิ่นคาวที่ตกค้างในผืนแผ่นดินไหลลงสู่มหาสมุทรสุดสาครจนหมดสิ้น จากนั้นจะมีลม
พัดพาเอาแก่นคู่แก่นจันทร์อันเป็นทิพย์ ที่หอมอบอวลลงมาจากสวรรค์โปรยลงมาเป็นบรรยากาศที่
บริสุทธิ์ พร้อมด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์ในสมัยครั้งนั้น

....จากนั้น หนุ่มสาวทั้งหลายที่ไปหลบภัยกลียุคในป่าเขา ก็พากันออกมาสู่สถานที่เดิมเป็นหมู่ใหญ่
และมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มล้วนแล้วแต่เป็นผู้มีคุณธรรมด้วยกัน จึงจัดตั้งหัวหน้าเป็นผู้นำทำพิธีจัดคู่
หนุ่มสาวเหล่านั้นให้เป็นผัวเมียกันตามประเพณีในยุคนั้น แล้วพากันรักษาศีลกรรมบท ๑๐ อย่างสมบูรณ์
เคร่งครัด (ศีลกรรมบท ๑๐ แบ่งเป็น ๓ หมวด ๑. กายกรรม ๓ , ๒. วจีกรรม ๔ , ๓. มโนกรรม ๓)

....ลูกหลานที่เกิดมาก็พากันรักษาศีลกรรมบท ๑๐ สืบทอดต่อกันมายาวนานถึง ๑๐๐ ปี จากนั้น
อายุขัยได้เพิ่มขึ้น ๑ ปี เป็น ๑๑ ปีตาย ๑๐๐ ปีอายุขัยเพิ่มขึ้น ๑ ปีเป็น ๑๒ ปีตาย อายุขัยเพิ่มขึ้น
๑ ปีต่อ ๑๐๐ ปี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มนุษย์มีอายุขัยเพิ่มขึ้น ๒๐ ปีตาย ๕๐ ปีตาย ๑๐๐ ปีตาย ๑ พันปีตาย
๑ หมื่นปีตาย ๑ แสนปีตาย ๑ ล้านปีตาย เมื่อมนุษย์มีอายุขาขึ้นนี้จะไม่มีพระพุทธเจ้า
มาอุบัติเกิดขึ้นในโลกนี้เลย ให้เราคิดคำนวณดูเองว่า นับแต่มนุษย์มีอายุขัย ๑๐ ปีตาย
๑๐๐ ปี เพิ่มขึ้น ๑ ปี จนมนุษย์มีอายุขัย ๑ ล้านปี ให้เราคิดคำนวณดูว่ามีความยาวนานกี่ปี ในช่วงนี้
จะเป็นสุญกัป เป็นกัปที่ว่างจากพระพุทธศาสนายาวนานทีเดียว สังคมมนุษย์ก็เพิ่มขึ้นและอยู่ร่วมกัน
อย่างมีสุขในยุคนั้นๆ

....เมื่อถึงยุคที่มนุษย์มีอายุขัย ๑ ล้านปี จะเกิดอาเพศเกิดขึ้น มนุษย์ทั้งหลายจะเกิดความเบื่อหน่าย
ในชีวิตอันเป็นอยู่ที่ยาวนาน มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกัน ชีวิตจึงได้เกิดความแปรผันลดลง ๑๐๐ ปี
อายุขัยลดลง ๑ ปี ลดลงเรื่อยๆ เป็น ๙ แสนปีตาย ๘ แสนปีตาย ๑ แสนปีตาย ในช่วงที่มนุษย์มีอายุขัย
๑ แสนปี จะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลกมนุษย์นี้ได้ ถ้าอายุขัยของมนุษย์
เกิน ๑ แสนปีขึ้นไป จะไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้นในโลกนี้แต่อย่างใด ถือว่ามนุษย์ในยุคนั้น
ยังมีความเพลิดเพลินในความเป็นอยู่ของชีวิต มีความสุขสบายในลาภ ยศ สรรเสริญ และมีความสุข
ในกามคุณ ไม่มีความทุกข์ใดๆ ด้วยเหตุดังนี้ จึงไม่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเกิดขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บ http://www.udon108.com/board/index.php?topic=20403.0;wap2 ครับ

คำสอน เรื่องวิญญาณ หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ


วิญญาณ
          วิญญาณ หมายถึงการรับรู้ การรับรู้ของวิญญาณนี้จะมีอยู่เป็นธรรมชาติ ในตัวมันเอง ถ้าไม่มีสิ่งใดมาให้รับรู้วิญญาณก็จะมีอยู่ไม่ได้หายไปไหน ถึงจะ นอนหลับไปวิญญาณก็มีอยู่แต่รับรู้อะไรไม่ได้ ถ้าตื่นนอนขึ้นมาวิญญาณการรับรู้ ก็จะไต้สัมผัสต่ออายตนะภายใน เรียกว่าวิญญาณการรับรู้ทางตา วิญญาณการรับ รู้ทางหู วิญญาณการรับรู้ทางจมูก วิญญาณการรับรู้ทางลิ้น วิญญาณการรับรู้ ทางกาย และวิญญาณการรับรู้ทางใจ เมื่อวิญญาณการรับรู้ในอายตนะภายในมี ความสมบูรณ์แล้ว จึงได้สัมผัสในอายตนะภายนอกได้ ตาสัมผัสรูปก็มีวิญญาณ รับรู้ในรูป หูสัมผัสเสียงก็มีวิญญาณรับรู้ในเสียง จมูกสัมผัสกลิ่นมีวิญญาณรับรู้ ในกลิ่น ลิ้นสัมผัสรสมีวิญญาณรับรู้ในรสต่าง ๆ กายสัมผัสในสิ่งใดวิญญาณก็จะรับรู้ในสิ่งนั้น ใจมีอารมณ์อะไรวิญญาณก็จะรับรู้ในอารมณ์ประเภทนั้น เรียกว่า วิญญาณสัมผัสสัชชาเวทนา จึงเกิดเป็นมโนวิญญาณ การรับรู้อารมณ์ภายในใจ รับรู้ในสิ่งใดก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดเป็นอารมณ์ในสิ่งที่สัมผัสนั้น เช่นตา สัมผัสรูปก็จะเกิดอารมณ์แห่งความชอบใจและไม่ชอบใจ หูสัมผัสเสียงก็จะเกิด เป็นอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จมูกสัมผัสกลิ่นก็จะเกิดอารมณ์ที่ชอบใจและ ไม่ชอบใจ ลิ้นสัมผัสรสของอาหารก็จะเกิดความชอบใจและไม่ชอบใจ กาย สัมผัสในสิ่งที่อ่อนแข็งก็จะเกิดอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ จึงเรียกว่า อารมณ์ในกามคุณห้า
         อารมณ์เหล่านี้จึงไปรวมอยู่ที่ใจแห่งเดียว จึงเรียกว่า เวทนา ก็คืออารมณ์เกิดขึ้นจากกามคุณห้านั้นเอง วิญญาณการรับรู้นี้จะมีในขันธ์ห้าต่อไป เช่นรับรู้ในอารมณ์ที่เกิดจากรูปรับ รู้ในอารมณ์ที่เกิดจากเวทนา รับรู้ในอารมณ์ที่เกิดจากสัญญาความจำ รับรู้ใน อารมณ์ที่เกิดจากสังขารการปรุงแต่ง และรับรู้อารมณ์ภายในใจ ฉะนั้น วิญญาณ จึงมีหน้าที่เพียงการรับรู้เท่านั้น การรับรู้อย่างนี้ยังไม่เป็นกิเลสตัณหาแต่อย่างใด เมื่อได้รับรู้แล้วเกิดความรู้สึกว่าชอบใจ หรือไม่ชอบใจหรือเฉย ๆ จึงเกิดเป็นกิเลส ตัณหาขึ้นมาที่ใจ เกิดเป็นความรักความใคร่ความกำหนัดยินดี ฉะนั้นผู้ปฏิบัติ ธรรมต้องรู้จักวิญญาณการรับรู้ว่าเป็นในลักษณะใด ให้เข้าใจในลักษณะความรู้สึก ที่ต่างกันในการรับรู้ของวิญญาณ และให้เข้าใจในอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกนั้น ๆ ถ้าแยกออกมาเป็นสัดส่วนได้อย่างนี้จะเข้าใจในคำว่าวิญญาณนี้ได้เป็นอย่างดี จะทำความเข้าใจในการปฏิบัติได้ถูกต้อง ไม่เกิดความสับสนเพราะรู้จักความหมายได้ดีแล้ว
         คำว่า รู้ในคำเดียวนี้มีความหมายได้หลายอย่าง เช่น วิญญาณการรับรู้ ธาตุรู้ ความรู้สึก ญาณรู้ ญาณทัศนะ ญาณที่รู้เห็น มรรคญาณ ญาณหยั่งรู้ใน องค์มรรค อุเบกขาญาณ ญาณหยั่งรู้ในการวางเฉย ปัญญาญาณ ญาณรู้รอบ ด้วยปัญญา วิปัสสนาญาณ ญาณที่รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมตามความเป็นจริงวิสุทธิญาณ ญาณหยั่งรู้ในความบริสุทธิ์ ในความหมายในคำว่า ญาณ นี้มีมาก จะหาอ่านตามตำราได้ ตำราในบางหมวดนักปราชญ์เจ้าทั้งหลายได้ขยายความเอาไว้เพียงย่นย่อ จึง ทำให้นักปราชญ์ยุคอนุฎีกาจารย์ ตีความที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้แบ่งเป็น สายโน้นสายนี้เกิดขึ้น เฉพาะวิญญาณ
         การรับรู้กับคำว่ารู้ในธาตุรู้ หรือคำว่า พุท โธ หมายถึงผู้รู้ เพียงสามรู้เท่านี้ ผู้ปฏิบัติจะทำความเข้าใจให้ถูกต้องได้หรือไม  รู้แต่ละอย่างมีความแตกต่างกันอย่างไร ญาณในขั้นโลกีย์เป็นอย่างไร ญาณใน ขั้นโลกุตระเป็นอย่างไร การปฏิบัติในขันธ์ห้าต้องมีญาณรู้ทั้งสามนี้ เกี่ยวโยงถึง กันทั้งหมด ถ้าสติปัญญามีความฉลาดรอบรู้ การพิจารณาขันธ์ห้าจะต้อง พิจารณาให้เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด เช่นพิจารณารูปขันธ์ให้เป็นไปตามไตรลักษณ์ อย่างไร ก็ให้เชื่อมโยงต่อกันกับเวทนาขันธ์ เชื่อมโยงต่อสัญญาขันธ์ เชื่อมโยง ต่อสังขารขันธ์ เชื่อมโยงต่อวิญญาณขันธ์ ถ้าตั้งหลักในการพิจารณาในขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งมีความชำนาญดีแล้ว การพิจารณาในขันธ์อื่น ๆ ก็จะเป็นของง่าย ใน การปฏิบัติจะพิจารณาในขันธ์ใดก็จะมีความเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนมากขึ้น ถ้า พิจารณา เวทนา ก็ต้องรู้ในความหมายว่า เวทนา หมายถึงอะไรให้ผลเป็นอย่าง ไร อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องรู้ เห็นด้วยสติปัญญาที่ถูกต้อง แล้วพิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันในสังขารขันธ์ พิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันใน สัญญาขันธ์ และพิจารณาเวทนาเชื่อมโยงต่อกันในวิญญาณขันธ์ เพราะขันธ์ทั้ง ห้าจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยเชื่อมโยงต่อกันได้เป็นอย่างดี การพิจารณาสัญญาความจำให้เป็นไปในไตรลักษณ์แล้วอย่างไร ก็ให้ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันใน เวทนาขันธ์ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันในสังขารขันธ์ พิจารณาสัญญาเชื่อมโยงต่อกันในวิญญาณขันธ์ การพิจารณาสังขารการปรุงแต่งให้เป็นไปในไตร ลักษณ์แล้ว ให้พิจารณาสังขารเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณาสังขารเชื่อม โยงต่อกันในเวทนาขันธ์ พิจารณาสังขารเชื่อมโยงต่อกันในสัญญาขันธ์ พิจารณา สังขารเชื่อมโยงต่อกันในวิญญาณขันธ์ การพิจารณาในวิญญาณการรับรู้ให้เป็นไป ในไตรลักษณ์แล้ว ก็ให้พิจารณาวิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในรูปขันธ์ พิจารณา วิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในเวทนาขันธ์ พิจารณาวิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในสัญญา ขันธ์ พิจารณาวิญญาณเชื่อมโยงต่อกันในสังขารขันธ์ การพิจารณาขันธ์ห้าให้ เชื่อมโยงต่อกันนี้ ให้ใช้สติปัญญาเฉพาะตัว ใช้ความสามารถด้วยตัวเอง จะ พิจารณาได้น้อยมากอย่างไร จะพิจารณาได้หยาบละเอียดอย่างไร ก็ให้เป็นไปใน ปัญญาเฉพาะตัว ถ้าจะอ่านจำเอาตามตำรามาพิจารณาก็ย่อมทำได้ แต่จะเป็น ปัญญาในสัญญาจำเอาข้อความประโยคของผู้อื่นมาเลียนแบบ
        ถ้าเป็นในลักษณะนี้ การพัฒนาปัญญาของตัวเองก็จะหมดสภาพลงทันที มีแต่ปัญญาคิดพิจารณาไป ตามตำราเท่านั้น จะแก้ไขปัญหาของใจไม่ได้เลย การใช้ปัญญาพิจารณาในขันธ์ห้านี้ต้องฝึกพิจารณาอยู่บ่อย ๆ อย่าเอาตำ รามาเป็นตัวตัดสินว่า รู้แล้วเข้าใจแล้ว ถ้าเป็นในลักษณะนี้จะไม่มีความรู้แจ้งเห็น จริงในขันธ์ห้าแต่อย่างใด จะพิจารณาถูกต้องตามหลักความเป็นจริงอยู่ก็ตาม ก็ จะเป็นความจริงไปตามตำราเท่านั้น จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางใจแต่อย่างใด การพิจารณาถึงจะใช้ประโยคข้อความไม่เหมือนกับตำราก็ไม่เป็นไร แต่ความ หมายให้เหมือนกันกับตำราที่นักปราชญ์ได้อธิบายเอาไว้ ในครั้งแรกก็ให้ใช้ ปัญญา ที่หยาบนี้ไปก่อน เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ปัญญาก็จะค่อยมีความละเอียด ขึ้น มีความภูมิใจในปัญญาของตัวเอง เหมือนการนับเงินของคนอื่น จะผ่านมือ เราไปวันหนึ่งหลายร้อยล้านอยู่ก็ตามใจก็เฉย ๆ ถ้าได้นับเงินที่เราหาได้ด้วยตัวเอง ถึงเงินจะไม่มากนัก ในความรู้สึกจะเกิดความภูมิใจดีใจว่าเงินนี้เป็นของของเราอย่างแท้จริง ความหวงแหนการดูแลรักษา การจับจ่ายซื้อของ ก็จะได้รับผล ประโยชน์จากเงินเราด้วยความภูมิใจ นี้ฉันใด การใช้ปัญญาพิจารณาธรรมไป ตามตำราใจก็จะเฉย ๆ ไม่เกิดความแปลกใจตื่นเต้นในธรรมแต่อย่างใด ถ้ารู้เห็น ธรรมด้วยปัญญาของเราเอง ในความรู้สึกจะทำให้เกิดความภูมิใจเป็นอย่างมาก ถึงจะมีความรู้จากตำราก็ให้นำมาประดับปัญญาได้ ถ้าเอาปัญญาไปประดับความรู้ เมื่อไร การปฏิบัติจะก้าวหน้าต่อไปไม่ได้เลย ฉะนั้น การพิจารณาขันธ์ห้าไปตามตำรา หรือพิจารณาหมวดธรรมอื่น ๆ ก็ตาม ถึงจะพิจารณาได้ แต่ใจก็จะเฉยเป็นธรรมดาไป
            ถ้าได้รู้เห็นความเป็นจริง ด้วยปัญญาเฉพาะตัว จึงเรียกว่าผู้นั้นพึ่งตัวเองได้ ไม่ได้ไปหยิบยืมเอาความรู้จาก ผู้อื่นมาเป็นของเรา เหมือนรับประทานอาหารสำเร็จรูปจากผู้อื่นทำไว้แล้ว ถ้าผู้ อื่นไม่ทำให้รับประทานเราก็ต้องอด วิ่งหาอาหารจากผู้อื่นมารับประทานต่อไป นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติในยุคนี้มีความต้องการธรรมะสำเร็จรูป อยากรู้ในสัจธรรม ความจริงอย่างไรก็ไปค้นหาดูในตำรา หรือถามครูอาจารย์องค์นั้นองค์นี้ไป ให้ ครูอาจารย์ตัดสินให้ว่าธรรมะหมวดนั้นผิดธรรมะหมวดนั้นถูก ทั้งที่ธรรมะของ จริงอยู่ในตัวมีอยู่แล้ว แต่ไม่ยอมพิจารณาด้วยปัญญาของตัวเอง ให้เกิดความรู้ แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้จะไม่เกิดความมั่นใจในตัว เองได้เลย ถ้าถามครูอาจารย์ที่ดีมีธรรมะที่ถูกต้องก็มีความโชคดีไป ถ้าถามครู อาจารย์ที่เป็นมิจฉาปฏิบัติเราก็จะได้ข้อมูลในธรรมะที่ผิด เมื่อนำมาปฏิบัติก็จะ เกิดเป็นปัญหา เหมือนเรากำลังหลงทาง แต่ไปถามผู้หลงทางเหมือนกันกับเรา ทั้งเขาและเราก็จะพากันหลงทางต่อไป นี้ฉันใด ผู้ปฏิบัติที่อาศัยผู้อื่นมากไปก็ เป็นในลักษณะฉันนั้น จะเหมือนกับบอดจูงบอดไปไม่รอด เพราะตาบอดจูงกัน ก็จะวกวนไปมาในที่แห่งเดียวหาทางออกไม่ได้เลย ในขณะพูดก็บอกว่าจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อเข้ากระแสแห่งมรรคผลนิพพาน เมื่อปฏิบัติเอาจริงเมื่อไรจะภาวนาเป็นไปตามแบบฉบับของพวกดาบสฤๅษีกันทั้ง นั้น สิ่งใดที่ได้สร้างขึ้นมาจากความสามารถของเรา จะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งนั้น จะมีความสำคัญมีคุณค่าแก่ตัวเราเป็นอย่างมาก เหมือนบุตรที่เกิดขึ้นจากความ พยายามของเรา และเกิดขึ้นจากก้อนเลือดของตัวเราเอง และบุตรที่รับจากผู้อื่น มาเป็นบุตรบุญธรรม ในความรู้สึกส่วนลึก ๆ ของใจจะมีความรักบุตรที่เกิดจาก สายเลือดเราเอง เพราะได้หล่อหลอมสร้างเขามาด้วยความสามารถของเรานี้
          ฉันใด การรู้เห็นสัจธรรมความเป็นจริงด้วยสติปัญญาเฉพาะตัว จึงมีความหมายลึก ซึ้งฝังใจไว้แนบแน่นจะไม่มีการหลงลืมในการรู้เห็นในสัจธรรมนั้นเลย จะมีความ ภูมิใจและมั่นใจในตัวเองอยู่ตลอดเวลา การพิจารณาให้รู้ตามหลักความเป็นจริง ในหลักปริยัตินั้นย่อมพิจารณาได้ เมื่อใจยังไม่ยอมรับในความเป็นจริงตามปัญญา การพิจารณานั้นก็ยังไม่ได้ผลอยู่นั้นเอง ข้อสำคัญคือทำใจให้รู้เห็นตามปัญญา เมื่อใจได้รู้เห็นความจริงตามปัญญาแล้ว ในเมื่อนั้นใจจะเกิดความแยบคาย ถ้าเกิด ความแยบคายเมื่อไรใจก็จะเกิดความหายสงสัยในทันที และคลายจากความยึดมั่น ถือมั่น ที่ผ่านมาใจมีความหลงผิดเข้าใจผิดในสิ่งใด ใจก็จะทอดธุระไม่อาลัยในสิ่ง นั้นอีกต่อไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติต้องฝึกสติปัญญาที่มีอยู่ให้รู้เห็นตามหลักความเป็น จริงอยู่เสมอ มิใช่ว่ารู้ตามตำราแล้วก็หยุดอยู่เพียงเท่านั้น ถ้าหยุดอยู่นาน ๆ ใจจะ ด้านในธรรม จึงยากที่จะแก้ไขให้ใจมีความรู้จริงได้

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บ http://www.baanjomyut.com/pratripidok/toon/15.html

คำสอนหลวงปู่ดู่ ชีวิตจะมีค่าก็ตอนไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนาเท่านั้น

 
 
"ที่แกทำ ๆ ไปน่ะ มันสูญเปล่า ชีวิตจะมีค่าก็ตอนไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนาเท่านั้น"
“โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม”
เรื่องโลก มีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง... ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง

         บุญ อย่างหนึ่งที่หลวงปู่กล่าวรับรองว่าบุญนั้นถึงพ่อแม่ทันที ก็คือบุญจากการอุปสมบทของผู้ที่เป็นลูก ท่านว่าแม้พ่อแม่ตายไปแล้วจะเกิดในนรก อานิสงส์ผลบุญจากพระลูกชายที่ตั้งใจบวชให้บุพการี ก็จะส่งผลเป็นผ้าจีวรไปดึงพ่อแม่ให้พ้นจากนรกได้    

ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนรสแกงส้ม

ศีล เปรียบได้กับรสเปรี้ยว ความเปรี้ยวทำหน้าที่กัดกร่อนความสกปรกออก ทำนองเดียวกัน ศีลจะช่วยขัดเกลาความหยาบออกจากทางกาย วาจา ใจ
สมาธิ เปรียบได้กับรสเค็ม เพราะความเค็มช่วยรักษาอาหารต่างๆ ไม่ให้เน่าเสีย สมาธิก็เหมือนกัน สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดีได้
ปัญญา เปรียบได้กับรสเผ็ด เพราะปัญญามีลักษณะคิด อ่าน ตริตรอง โลดแล่นไป เพื่อขจัดอวิชชาความหลง
 
 
อานิสงส์การภาวนา

หลวงพ่อท่านเคยพูดเสมอว่า
"อุปัชฌาย์ ข้า (หลวงพ่อกลั่น) สอนว่า ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีด ชั่วประเดี๋ยวเดียวเท่าช้างกระดิกหูงูแลบลิ้น ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ"  พวกเรามักจะได้ยินท่านคอยให้กำลังใจอยู่บ่อยๆ ว่า  "หมั่นทำเข้าไว้ หมั่นทำเข้าไว้ ต่อไปจะได้เป็นที่พึ่งในภายหน้า"  เสมือน หนึ่งเป็นการเตือนให้เราเร่งความเพียรให้มาก การให้ทานรักษาศีลร้อยครั้งพันครั้งก็ไม่เท่ากับนั่งภาวนาหนเดียว นั่งภาวนาร้อยครั้งพันครั้ง กุศลที่ได้ไม่เท่ากุศลจิตที่สงบเป็นสมาธิเกิดปัญญาเพียงครั้งเดียว

คำสอนหลวงพ่อฤาษี เรื่อง วิปัสสนาญาณ





เริ่มเจริญวิปัสสนา
            การเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่างแบบคิดว่า พอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น การปฏิบัติแบบคิดว่าพอเป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความเชื่อถือจริง และไม่ใช่นักปฏิบัติจริง ปฏิบัติตามเขาพอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนาคนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระ พุทธศาสนา เสื่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิกแล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไป โฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏเป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้น นักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่ง ทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง
ก่อนพิจารณาวิปัสสนา
            ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อนเข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้วค่อยๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้น จะเกิดเป็นอารมณ์ ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌาน ต่อไปเป็น ลำดับ ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกันทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการ ทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้
ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ
            นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้
  1. ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อ สงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน
  2. ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่น ละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล
  3. เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือ สิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำก็ก็ปฐมฌาน
  4. ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ
  5. วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล
  6. ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน
  7. สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
  8. อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรง อธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรง บรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว สำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน
  9. เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง
  10. อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจ รับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตก ว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง
            บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ ไม่ให้ บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ


วิปัสสนาญาณสามนัย
            วิปัสสนาญาณที่พิจารณากันมานั้น ท่านสอนไว้เป็นสามนัย คือ

  1. พิจารณาตารมแบบวิปัสสนาญาณ ๙ ตามนัยวิสุทธิมรรค ที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ รจนาไว้
  2. พิจารณาตามนัยอริยสัจ ๔
  3. พิจารณาขันธ์ ๕ ตามในพระไตรปิฎก ที่มีมาในขันธวรรค
            ทั้งสามนัยนี้ ความจริงก็มีอรรถ คือความหมายเป็นอันเดียวกัน โดยท่านให้เห็นว่าขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเหมือนกัน ท่านแยกไว้เพื่อเหมาะแก่อารมณ์ของแต่ละท่าน เพราะบางท่านชอบค่อยทำไปตามลำดับ ตามนัยวิปัสสนาญาณ ๙ เพราะเป็นการค่อยปลด ค่อย เปลื้องตามลำดับทีละน้อย ไม่หนักอกหนักใจ บางท่านก็ชอบพิจารณาแบบรวม ๆ ใน ขันธ์ ๕ เพราะเป็นการสะดวกเหมาะแก่อารมณ์ บางท่านที่ชอบพิจารณาตามแบบอริยสัจนี้ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบเอง และนำมาสอนปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ท่านเหล่านั้นได้มรรคผล เป็นปฐม ก็เพราะได้ฟังอริยสัจ แต่ทว่าทั้งสามนี้ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือให้เห็น อนัตตาในขันธ์ ๕ เหมือนกัน ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคและในขันธวรรค ในพระไตรปิฎก ว่าผู้ใดเห็นขันธ์ ๕ ผู้นั้นก็เห็นอริยสัจ ผู้ใดเห็นอริยสัจก็ชื่อว่าเห็นขันธ์ ๕
เอาสังโยชน์ ๑๐ เป็นเครื่องวัดอารมณ์
            นักปฏิบัติเพื่อมรรคผล ที่ท่านปฏิบัติกันมาและได้รับผลเป็นมรรคผลนั้น ท่านคอยเอาสังโยชน์เข้าวัดอารมณ์เป็นปกติ เทียบเคียงจิตกับสังโยชน์ว่า เราตัดอะไรได้เพียงใด แล้วจะรู้ผลปฏิบัติตามอารมณ์ที่ละนั้นเอง ไม่ใช่คิดเอาเองว่า เราเป็นพระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัตตามแบบคิดแบบเข้าใจเอาเอง
สังโยชน์ ๑๐
            สังโยชน์ แปลว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมอยู่ในวัฏฏะมี ๑๐ อย่างคือ
  1. สักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ เป็นเรา เป็นของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเรา
  2. วิจิกิจฉา สงสัยในผลการปฏิบัติว่า จะไม่ได้ผลจริงตามที่ฟังมา
  3. สีลัพพตปรามาส ถือศีลไม่จริงไม่จัง สักแต่ถือตาม ๆ เขาไปอย่างนั้นเอง สามข้อ นี้ ถ้าตัดได้เด็ดขาด ท่านว่าได้บรรลุเป็นพระโสดา กับพระสกิทาคามี
  4. กามราคะ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และอาการ ถูกต้องสัมผัส
  5. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งใจ ทำให้ไม่พอใจ อันนี้เป็นโทสะแบบเบาๆ ข้อ (๑) ถึง (๕) นี้ ถ้าละได้เด็ดขาด ท่านว่าบรรลุเป็นอนาคามี
  6. รูปราคะ พอใจในรูปธรรม คือความพอใจในวัตถุ หรือ รูปฌาน
  7. อรูปราคะ พอใจในอรูป คือเรื่องราวที่กล่าวถึง หรือ ในอรูปฌาน
  8. อุทธัจจะ อารมณ์ฟุ้งซ่าน คิดนอกลู่นอกทาง
  9. มานะ ความถือตนโดยความรู้สึกว่า เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา เราเสมอเขา
  10. อวิชชา ความโง่ คือหลงพอใจในกามคุณ ๕ และกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ ที่ ท่านเรียกว่า อุปาทาน เป็นคุณธรรมฝ่ายทราม ที่ท่านเรียกว่า อวิชชา
            สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อนี้ ถ้าท่านพิจารณาวิปัสสนาญาณแล้ว จิตค่อย ๆ ปลดอารมณ์ที่ยึดถือได้ครบ ๑๐ อย่าง โดยไม่กำเริบอีกแล้ว ท่านว่าท่านผู้นั้นบรรลุอรหัตผลเครื่องวัด อารมณ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสจำกัดไว้อย่างนี้ ขอนักปฏิบัติจงศึกษาไว้ แล้วพิจารณาไปตามแบบ ท่านสอนเอาอารมณ์มาเปรียบกับสังโยชน์ ๑๐ ทางที่ดีควรคิดเอาชนะกิเลสคราวละข้อ เอาชนะ ให้เด็ดขาด แล้วค่อยเลื่อนเข้าไปทีละข้อ ข้อต้น ๆ ถ้าเอาชนะไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งเลื่อนเข้าไปหา ข้ออื่น ทำอย่างนี้ได้ผลเร็ว เพราะข้อต้นหมอบแล้ว ข้อต่อไปไม่ยากเลย จะชนะหรือไม่ชนะ ก็ข้อต้นนี้แหละ เพราะเป็นของใหม่และมีกำลังครบถ้วนที่จะต่อต้านเรา ถ้าด่านหน้าแตก ด่านต่อไปง่ายเกินคิด ขอให้ข้อคิดไว้เพียงเท่านี้ ต่อไปจะนำเอาวิปัสสนาญาณสามนัยมากล่าว ไว้พอเป็นแนวปฏิบัติพิจารณา


วิปัสสนาญาณ ๙
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความเกิดและความดับ
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นความดับ
๓. ภยตูปัฎฐานญาณ พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ พิจารณาเห็นโทษของสังขาร
๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ พิจารณาสังขารเห็นเป็นของน่าเบื่อหน่าย
๖. มุญจิตุกามยตาญาณ พิจารณาเพื่อใคร่จะให้พ้นจากสังขารไปเสีย
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ พิจารณาหาทางที่จะให้พ้นจากสังขาร
๘. สังขารุเปกขาญาณ พิจารณาเห็นว่า ควรวางเฉยในสังขาร
๙. สัจจานุโลมิกญาณ พิจารณาอนุโลมในญาณทั้ง ๘ นั้น เพื่อกำหนดรู้ในอริยสัจ
            ญาณทั้ง ๙ นี้ ญาณที่มีกิจทำเฉพาะอยู่ตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึง ญาณที่ ๘ เท่านั้น ส่วนญาณ ที่ ๙ นั้น เป็นชื่อของญาณบอกให้รู้ว่า เมื่อฝึกพิจารณามาครบ ๘ ญาณแล้ว ต่อไปให้พิจารณาญาณทั้ง ๘ นั้น โดยอนุโลมและปฏิโลม คือพิจารณาตามลำดับไปตั้งแต่ญาณที่ ๑ ถึงญาณที่ ๘ แล้วพิจารณาตั้งแต่ญาณที่ ๘ ย้อนมาหาญาณที่ ๑ จนกว่าจะเกิดอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ทุก ๆ ญาณและจนจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ คือจิตมีอารมณ์ยอมรับนับถือกฎธรรมดา เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเนื่องด้วยตนหรือคนอื่นเป็นของธรรมดาไปหมด สิ่งกระทบเคยทุกข์เดือดร้อนก็ ไม่มีความทุกข์ ความเร่าร้อนไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งที่เป็นเหตุของความรัก ความโลภ ความโกรธ ความผูกพัน ยอมรับนับถือกฎธรรมดาว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ อาการอย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาแท้ ท่านว่าครอบงำความเกิด ความดับ ความตายได้เป็นต้น คำว่าครอบงำหมายถึงความไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว ใครจะตายหรือเราจะตายไม่หนักใจ เพราะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องตาย ใครทำให้โกรธในระยะแรกอาจหวั่นไหวนิดหนึ่ง แล้วก็รู้สึกว่านี่มันเป็นของธรรมดาโกรธทำไม แล้วอารมณ์โกรธก็หายไปนอกจากระงับ ความหวั่นไหวที่เคยเกิดเคยหวั่นไหวได้แล้ว จิตยังมีความรักในพระนิพพานยิ่งกว่าสิ่งใด สามารถจะสละวัตถุภายนอกทุกอย่างเพื่อพระนิพพานได้ทุกขณะมีความนึกคิดถึงพระ นิพพานเป็นปกติ คล้ายกับชายหนุ่มหญิงสาวเพิ่งแรกรักกัน จะนั่ง นอน ยืน เดินทำกิจการงานอยู่ก็ตามจิตก็ยังอดที่จะคิดถึงคนรักอยู่ด้วยไม่ได้ บางรายเผลอถึงกับเรียกชื่อคนรัก ขึ้นมาเฉย ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้คิดว่าจะเรียกทั้งนี้เพราะจิตมีความผูกพันมาก คนรักมีอารมณ์ ผูกพันฉันใด ท่านที่มีอารมณ์เข้าสู่โคตรภูญาณก็มีความใฝ่ฝันถึงพระนิพพานเช่นเดียวกัน หลังจากเข้าสู่โคตรภูญาณเต็มขั้นแล้ว จิตก็ตัดสังโยชน์ ๓ เด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน คือตัดได้เด็ดขาดไม่กำเริบอีก ท่านเรียกว่าได้อริยมรรคต้นคือเป็นพระโสดาบัน ต่อไปนี้ จะได้ อธิบายในวิปัสสนาญาณ ๙ เป็นลำดับไปเป็นข้อ ๆ
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
            ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาความเกิดและความดับของสังขาร คำว่า สังขาร หมายถึง สิ่งที่เป็นร่างทั้งหมด ทั้งที่มีวิญาณและวัตถุ ท่านให้พยายามพิจารณาใคร่ครวญเสมอ ๆ ว่า สังขารนี้มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้ว ต่อไปก็แตกสลายทำลายไปหมด ไม่มีสังขารประเภทใดเหลืออยู่เลย พยายามหาเหตุผลในคำสอนนี้ให้เห็นชัด ดูตัวอย่างคน ที่เกิดแล้วตาย ของที่มีขึ้นแล้วแตกทำลาย ดูแล้วคิดทบทวนมาหาตน และคนที่รักและไม่รัก ของที่มีชีวิตและไม่มีคิดว่านี่ไม่ช้าก็ต้องตายทำลายอย่างนี้ และพร้อมเสมอที่จะไม่หวั่นไหว ในเมื่อสิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างนั้น พิจารณาทบทวนอย่างนี้จนอารมณ์เห็นเป็นปกติ ได้อะไรมา เห็นอะไรก็ตาม แม้แต่เห็นเด็กเกิดใหม่ อารมณ์ใจก็คิดว่านี่ไม่ช้ามันก็พัง ไม่ช้ามันก็ทำลาย แม้แต่ร่างกายเรา ไม่ช้ามันก็สิ้นลมปราณ อะไรที่ไหนที่เราคิดว่ามันจะยั่งยืนถาวรตลอดกาล ไม่มีรักษาอารมณ์ให้เป็นอย่างนี้ จนอารมณ์ไม่กำเริบแล้วจึงค่อยย้ายไปพิจารณาญาณ ที่สอง จงอย่าลืมว่า ก่อนพิจารณาทุกครั้งต้องเข้าฌานก่อน แล้วถอยจากฌานมาหยุดอยู่เพียงอุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณ จึงจะเห็นเหตุเห็นผลง่าย ถ้าท่านไม่อาศัยฌานแล้ว วิปัสสนาญาณก็มีผลเป็นวิปัสสนึกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรดีไปกว่า นั่งนึกนอนนึก แล้วในที่สุดก็เลิกนึก และหาทางโฆษณาว่าฉันทำมาแล้วหลายปีไม่เห็นได้ อะไรเลย จงจำระเบียบไว้ให้ดี และปฏิบัติตามระเบียบให้เคร่งครัด วิปัสสนาไม่ใช่ต้ม ข้าวต้ม จะได้สุกง่าย ๆ ตามใจนึก
๒. ภังคานุปัสสนาญาณ
            ญาณนี้ท่านสอนให้พิจารณาถึงความดับ ญาณต้นท่านให้เห็นความเกิด และความดับสิ้นเมื่อปลายมือ แต่ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นความดับที่ดับเป็นปกติ ทุกวัน ทุกเวลา คือพิจารณาให้เห็นสรรพสิ่งทั้งหมดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า คน สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา บ้านเรือนโรง ของใช้ทุกอย่าง ให้ค้นหาความดับที่ค่อย ๆ ดับตาม ความเป็นจริง ที่สิ่งเหล่านั้นค่อย ๆ เก่าลง คนค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากความเป็นเด็ก และ ค่อยๆ ละความเป็นหนุ่มสาวถึงความเป็นคนแก่ ของใช้ที่ไม่มีชีวิตเปลี่ยนสภาพจาก เป็นของใหม่ค่อยๆ เก่าลง ต้นไม้เปลี่ยนจากเป็นต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งใบที่ไสว กลายเป็นต้นไม้ที่ค่อยๆ ร่วงโรย ความสลายตัวที่ค่อยเก่าลง เป็น อาการของความสลายตัว ทีละน้อยค่อยๆ คืบคลานเข้าไปหาความสลายใหญ่คือความดับสิ้นในที่สุด ค่อยพิจารณา ให้เห็นชัดเจนแจ่มใส จนอารมณ์จิตเป็นเอกัคคตารมณ์ คือมีความชินจิตว่าไม่มีอะไร มันทรงตัว ไม่มีอะไรยั่งยืน มันค่อยๆ ทำลายตัวเองอย่างนี้ทั้งสิ้น แม้แต่อารมณ์ใจก็ เช่นเดียวกัน อารมณ์ที่พอใจและอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็มีสภาพไม่คงที่มีสภาพค่อย ๆ สลายตัวลงไปทุกขณะเป็นธรรมดา
            รวมความว่า ความเกิดขึ้นนี้เป็นสภาพที่จำต้องเดินไปหาความดับในที่สุด แต่กว่าจะถึงที่สุดก็ค่อย ๆ เคลื่อนดับ ดับทีละเล็กละน้อยทุกเวลาทุกขณะ มิได้หยุดยั้งความดับ เลยแม้แต่เสี้ยวของวินาที ปกติเป็นอย่างนี้จิตหายความหวั่นไหว เพราะเข้าใจและคิดอยู่ รู้อยู่อย่างนั้นเป็นปกติ
๓. ภยตูปัฏฐานญาณ
            ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว ท่านหมายถึงให้กลัวเพราะสังขารมีสภาพพังทลายเป็นปกติอยู่เป็นธรรมดาอย่างนี้ จะเอาเป็นที่พักที่พึ่งมิได้เลย สังขาร เมื่อมีสภาพต้องเสื่อมไปเพราะวันเวลาล่วงไปก็ดี เสื่อมเพราะเป็นรังของโรค มีโรคภัยนานา ชนิดที่คอยเบียดเบียน เสียดแทงจนหาความปกติสุขมิได้ โรคอื่นยังไม่มี โรคหิวก็รบกวน ตลอดวัน กินเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ กินแล้วกินอีก กินในบ้านก็แล้ว กินนอกบ้านก็แล้ว อาหาร ราคาถูกก็แล้ว ราคาแพงก็แล้ว มันก็ไม่หายหิว ถึงเวลามันก็เสียดแทงหิวโหยเป็นปกติของ มันฉะนั้น โรคที่สำคัญที่สุดพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า โรคนั้น คือโรคหิวดังพระบาลี ว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา แปลว่า ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง โรคภัยต่างๆ มีขึ้นได้ก็ เพราะอาศัยสังขาร ความหิวจะมีได้ก็เพราะอาศัยสังขาร ความแก่ ความทุกข์อันเกิดจาก ภยันตรายจะมีได้ ก็เพราะอาศัยสังขาร เพราะมีสังขารจึงมีทุกข์ ในที่สุดก็ถึงความแตกดับ ก็เพราะสังขารเป็นมูลเหตุ สังขารจึงเป็นสิ่งน่ากลัวมาก ควร จะหาทางหลีกเร้นสังขารต่อไป
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ
            ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้เห็นโทษของสังขาร ความเจริญญาณนี้น่าจะจัดรวมกับ ญาณที่ ๓ เพราะอาการที่ทำลายนั้น เป็นอาการของสิ่งที่เป็นโทษอยู่แล้ว ฉะนั้น ข้อนี้จึง ไม่ต้องอธิบายโปรดถือคำอธิบายของญาณที่ ๓ เป็นเครื่องพิจารณา  


๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ
            ญาณนี้ท่านให้พิจารณาให้มีความเบื่อหน่ายจากสังขาร เพราะสังขารเกิดแล้ว ดับในที่สุดนี้ประการหนึ่ง สังขารมีความดับเป็นปกติทุกวันเวลา หรือจะว่า ทุกลมหายใจเข้า ออกก็ไม่ผิด นี้ประการหนึ่ง สังขารเป็นภัย เพราะมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นปกติ และ ทำลายในที่สุดประการหนึ่ง สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์และโทษประการหนึ่ง ฉะนั้นสังขาร นี้เป็นสภาพที่น่าเบื่อหน่าย ไม่เป็นของน่ารัก น่าปรารถนาเลย ญาณนี้ควรเอาอสุภสัญญา ความเห็นว่าไม่สวยไม่งามมาร่วมพิจารณาด้วย เอามรณานุสสติธาตุ ๔ มาร่วมพิจารณาด้วย จะเห็นเหตุเห็นผลชัดเจน เกิดความเบื่อหน่ายได้โดยฉับพลัน เพราะกรรมฐานที่กล่าวแล้ว นั้นเราพิจารณาในรูปสมถะอยู่แล้ว และเห็นเหตุผลอยู่แล้ว เอามาร่วมด้วยจะได้ผลรวดเร็ว และชัดเจนแจ่มใสมาก เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารอย่างชนิดที่ไม่มีวันที่จะเห็นว่าน่ารัก ได้เลย
๖. มุญจิตุกัมมยตาญาณ
            ญาณนี้ท่านให้พิจารณาเพื่อใคร่ให้พ้นจากสังขาร ทั้งนี้เพราะอาศัยที่เห็นแล้ว จากญาณต้น ๆ ว่า เกิดแล้วก็ดับ มีความดับเป็นปกติ เป็นเรือนร่างที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เพราะโรคภัยไข้เจ็บจนเกิดความเบื่อหน่าย เพราะหาความเที่ยง ความแน่นอนไม่ได้ ท่าน ให้พยายามหาทางพ้นต่อไปด้วยการพยายามหาเหตุที่สังขารจะพึงเกิดขึ้น เพราะถ้าไม่มี สังขารแล้ว ความทุกข์ความเบื่อหน่ายทั้งหลายเหล่านี้จะมีไม่ได้เลย การที่หาทางเบื่อหน่าย ท่านให้แสวงหาเหตุของความเกิดดังต่อไปนี้
  1. ชรา ความแก่ มรณะ ความตาย เป็นต้น มีขึ้นได้เพราะชาติ คือ ความเกิด
  2. ชาติ ความเกิดมีได้เพราะ ภพ คือความเป็นอยู่
  3. ภพ คือภาวะความเป็นอยู่ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อุปาทาน ความยึดมั่น
  4. อุปาทาน ความยึดมั่นมีขึ้นได้ เพราะอาศัย ตัณหา คือความทะยานอยาก คือ อยากมี อยากเป็น อยากปฏิเสธ
  5. ตัณหา มีได้ เพราะอาศัย เวทนา คือ อารมณ์ที่รู้สึกสุข ทุกข์ และเฉยๆ
  6. เวทนา มีขึ้นได้ เพราะอาศัย ผัสสะ คือ การกระทบกระทั่ง
  7. ผัสสะ มีขึ้นได้ เพราะอาศัย อายตนะ ๖ คือ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกสูดกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เรียกว่า ธัมมารมณ์ คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ
  8. อายตนะ ๖ มีขึ้นได้เพราะอาศัย นามและรูป คือ ขันธ์ ๕ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา คือ ร่างกายเรียกว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นนาม ท่านรวมเรียกทั้งรูปทั้ง นามว่า นามรูป
  9. นามรูป มีขึ้นได้เพราะอาศัย วิญญาณปฏิสนธิ คือ เข้ามาเกิด วิญญาณ ในที่นี้ท่านหมายเอาจิต ไม่ได้หมายเอาวิญญาณในขันธ์ ๕
  10. วิญญาณ มีขึ้นได้เพราะ มีสังขาร
  11. สังขาร มีได้เพราะอาศัย อวิชชา คือ ความโง่เขลาหลงงมงาย มีความรัก ความพอใจในโลกวิสัยเป็นเหตุ
            รวมความแล้ว ความทุกข์ทรมานที่ปรากฏขึ้น จนต้องหาทางพ้นนี้ อาศัยอวิชชา ความโง่เป็นสมุฏฐาน ฉะนั้น การที่จะหลีกเร้นจากสังขารได้ก็ต้องตัดอวิชชาความโง่ออก ด้วยการพิจารณาสังขารให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้แน่นอนจึงจะพ้นสังขาร นี้ได้
๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
            พิจารณาหาทางที่จะให้สังขารพ้น ญาณนี้ไม่เห็นทางอธิบายชัด เพราะมีอาการ ซ้อน ๆ กันอยู่ ควรเอา ปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละเป็นเครื่องพิจารณา
๘. สังขารุเปกขาญาณ
            ท่านสอนให้วางเฉย ในเมื่อสังขารภายในคือ ร่างกายของตนเองและสังขารภายนอก คือร่างกายของคน และ สัตว์ ตลอดจนของใช้ที่ไม่มีและมีวิญญาณ ที่ต้องได้รับเคราะห์กรรม มีทุกข์ มีอันตราย โดยตัดใจปลงได้ว่า ธรรมดาต้องเป็นอย่างนี้ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ มีจิต สบายเป็นปกติ ไม่มีความหวั่นไหว เสียใจ น้อยใจเกิดขึ้น
๙. สัจจานุโลมิกญาณ
            พิจารณาญาณทั้งหมดย้อนไปย้อนมาให้เห็นอริยสัจ คือเห็นว่า สังขารที่เป็นแดน ของความทุกข์ เพราะอาศัยตัณหา จึงมีทุกข์หนักอย่างนี้ พิจารณาเห็นว่า สังขารมีทุกข์ประจำ เป็นปกติ ไม่เคยว่างเว้นจากความทุกข์เลย อย่างนี้เรียกว่า เห็นทุกขสัจจะเป็นอริยสัจที่ ๑
            พิจารณาเห็นว่า ทุกข์ทั้งหมดที่ได้รับเป็นประจำไม่ว่างเว้นนี้ เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัย ตัณหา ความทะยานอยาก ๓ ประการ คือ อยากมีในสิ่งที่ไม่เคยมี อยากเป็นในสิ่งที่ ไม่เคยเป็น อยากปฏิเสธ ในเมื่อความสลายตัวเกิดขึ้น ไม่อยากให้สลายตัว เจ้าความอยาก ทั้ง ๓ นี้แหละเป็นผู้สร้างความทุกข์ขึ้นมา ทุกข์นี้จะสิ้นไปได้ ก็เพราะเข้าถึงจุดของความดับ คือนิโรธเสียได้
            จุดดับนั้นท่านวางมาตรฐานไว้ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ท่านเรียกว่า มรรค ๘ ย่อมรรค ๘ ลงเหลือ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้ เพราะอาศัยศีลบริบูรณ์ สมาธิ เป็นฌาน ปัญญารู้เท่าทันสภาวะความเป็นจริง หมดความเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และดับอารมณ์พอใจไม่พอใจ เสียได้ ตัดอารมณ์ใจในโลกวิสัยได้ ตัดความกำหนัดยินดีเสีย ได้ด้วยปัญญาวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าเห็นในอริยสัจ ๔ ทำอย่างนี้ คิดอย่างนี้ให้คล่อง จนจิต ครอบงำความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมาในชีวิตเสียได้ ชื่อว่าท่านได้ วิปัสสนาญาณ ๙ และอริยสัจ ๔ แต่อย่าเพ่อพอ หรือคิดว่าดีแล้ว ต้องฝึกฝนพิจารณาเรื่อยไป จนตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้แล้ว นั่นแหละชื่อว่าเอาตัวรอดได้แล้ว


ขอขอบคุณข้อมูลจาก เว็บ http://www.larnbuddhism.com/grammathan/ และขอ สาธุ อนุโมทนา ด้วยครับ